SS-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/31

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 23
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    พฤติกรรมการออกกำลังกายและความต้องการของลูกค้าที่มารับบริการของ ศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
    (2564) มานิตย์ บุบผาสุข; ยุวดี วงค์ใหญ่; Manit Bubphasook; Yuwadee Wongyai; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. สานักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกาลังกาย
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการออกกำลังกายของลูกค้าของศูนย์ออกกำลังกายก่อนและหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (2) ความต้องการของลูกค้าในการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ประกอบด้วยมาตรการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านการติดตามและคัดกรองความเสี่ยงมาตรการด้านการป้องกันตนเองและมาตรการด้านการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (3) ความร่วมมือของลูกค้าต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ (4) ความคิดเห็นของลูกค้าต่อการให้บริการของศูนย์ออกกาลังกายตามฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ประชากรที่ศึกษาคือลูกค้าที่มารับบริการของศูนย์ออกกาลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2563 จานวน 81 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ อัตราส่วนร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายของลูกค้าที่มารับบริการของศูนย์ออกกำลังกายก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่แตกต่างกัน ในด้านความต้องการของลูกค้าในการให้บริการศูนย์ออกกำลังกายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(𝑥̅ = 3.86) เมื่อจาแนกตามรายด้านพบว่ามีความต้องการด้านมาตรการติดตามและคัดกรองความเสี่ยงมากที่สุด(𝑥̅ = 3.98) ในส่วนของความร่วมมือของลูกค้าต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.21) และความคิดเห็นของลูกค้าต่อการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.00)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง จังหวัดสุพรรณบุรี
    (2562) ภัคจุฑานันท์ สมมุ่ง; ศศิธร สกุลกิม; เนตรดาว จิตโสภากุล; จุฑารัตน์ พิมสาร; อรวรรณ เจริญผล; Pakjutanan Sommung; Sasithorn Sakulkim; Netdao Jitsophakul; Chutharat Phimsan; Orawan Jareonpol; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา; มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
    การออกกำลังกายมีความสำคัญสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มที่ส่วนใหญ่ มีสมรรถภาพทางกายต่ำ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-79 ปี จำนวน 54 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้าน ที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ระยะเวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ โดยมีการจัดกิจกรรมการทดลองทั้งหมด 4 ครั้ง กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกพฤติกรรมการออกกำลังกายและแบบบันทึกผลสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, Chi-Square test, Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการออก กำลังกาย พฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองและมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ดังนั้น โปรแกรมประยุกต์นี้จึงสามารถนำไปใช้กับผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพชุมชนได้
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
    (2562) นิภาวรรณ วงษ์ใหญ่; Niphawan Wongyai; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. งานวิจัยและวิชาการ
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือเพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย สถานประกอบการด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มากำหนดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีทั้งหมด 74 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานภาครัฐ 20 หน่วยงาน และหน่วยงานภาคเอกชน 54 หน่วยงาน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด (4.36) รองลงมาคือ ด้านทำเลที่ตั้งอยู่ในระดับมากที่สุด (4.27) ด้านราคาอยู่ในระดับมาก (4.08) และด้านส่งเสริมการขายอยู่ในระดับมาก (3.99) ตามลำดับ (2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรูปแบบสถานประกอบการที่ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่ช่วงอายุมีความคิดเห็นแตกต่างกันที่ด้านส่งเสริมการขาย (3) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ คือ ควรมีการกำหนดรูปแบบและระยะเวลาจัดที่ชัดเจน วิทยากรที่บรรยายควรมีความเชี่ยวชาญชำนาญ สถานที่จัดควรมีช่องทางการเดินทางที่หลากหลาย สะอาด และปลอดภัย ควรมีการประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงและควรมีการส่งเสริมการขายเป็นส่วนลดกรณีสมัครล่วงหน้าและมีการสมัครจำนวนมากในหน่วยงานเดียวกัน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ความพึงพอใจและความสำคัญในการใช้บริการสนามกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2559) ธัญลักษณ์ หงษ์โต; ยุวดี วงค์ใหญ่; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. งานวิจัยและบริการวิชาการ
    ความพึงพอใจและความสำคัญในการใช้บริการสนามกีฬาเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงอุปสรรค ปัญหา และ แนวทางการแก้ไขในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับความพึง พอใจในการใช้บริการสนามกีฬา ของนิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดลและเปรียบเทียบความพึง พอใจและความสำคัญของสนามกีฬาและศูนย์ออกกำลังกายจำแนกตามกลุ่มผู้มาใช้บริการแบบสอบถาม ใช้สำหรับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกผู้มาใช้บริการสนามกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป ความพึงพอใจและความสำคัญในการใช้บริการ และคำถามปลายเปิดด้านการจัดการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้าน สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก1.ความพึงพอใจและความสำคัญในการใช้บริการสนามกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยด้านความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3.51) ด้านความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.03) 2.เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจโดยจำแนกตามกลุ่มพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.53) และเปรียบเทียบ ความสำคัญในการใช้บริการโดยจำแนกตามกลุ่มพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.02) จากการวิจัยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรมและระยะยาว ครอบคลุมทั้งหน่วยงาน ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการโดยนำสิ่งที่มีอยู่มาดัดแปลงปรับปรุงและแก้ไข ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการและองค์กร
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ประสิทธิผลผลการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Moodle สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา (กรณีศึกษาวิชา วกกฬ 217 การนำเสนอสารสนเทศทางการกีฬา ปีการศึกษา 2556)
    (2557) สุรชาติ อาจทรัพย์; ศิรประภา ขันคา; อภิภู สิทธิภูมิมงคล; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. งานวิจัยและบริการวิชาการ; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Moodle(e-lerning) ในวิชาการนำเสนอสารสนเทศทางการศึกษากับการเรียนการสอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 จานวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 39 คน ด้วยความสมัครใจ กลุ่มทดลองจะได้รับการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเลคทรอนิกส์ผ่านระบบ Internet เป็นเวลาไม่ต่ากว่า 9 ครั้ง สามารถเข้าเรียนได้แบบไม่จากัด ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับการเรียนการสอน ตามปกติ จานวน 9 ครั้ง ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 75.6 มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี ร้อยละ96.2 ส่วนใหญ่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึง Internet ได้ ผลคะแนนเฉลี่ยจำแนกตามองค์ประกอบพบว่าการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมด้านองค์ประกอบวางภาพ ด้านการใช้ตัวอักษร และเทคนิคการใช้โปรแกรมฯ ดีกว่าการเรียนการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนในระดับมาก อย่างไรก็ตามควรปรับปรุงเรื่องความเข้าใจในบทเรียนที่มีต่อบทเรียนผ่านโปรแกรม Moodle การให้บริการด้านวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ดังนั้นวิธีการเรียนการสอนผ่าน สื่ออิเลคทรอนิกส์จึงเป็นทางเลือกสำหรับนักศึกษาได้ทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากการเรียนการสอนตามปกติ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ท่าทางของร่างกายขณะออกกำลังกายต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของชีพจรและอัตราการใช้พลังงานในหญิงมีครรภ์ชาวไทย
    (2557-07) อมรพันธ์ อัจจิมาพร; กรกฤษณ์ ชัยเจนกิจ; รุ่งชัย ชวนไชยะกูล; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของท่านั่งและท่ายกขาสูง 45 องศา ในระยะฟื้นตัวจากการออกกำลังกายอย่างหนักแบบเป็นช่วงที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิต, ระบบระบายอากาศ และ ระบบเผาผลาญพลังงาน
    (2011) หฤทัย เพ็ชรวิเศษ; เมตตา ปิ่นทอง; รุ่งชัย ชวนไชยะกูล; Haruthai Petviset; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของท่านั่งและท่ายกขาสูง 45 องศา ภายหลังการออกกำลังกายอย่างหนักแบบเป็นช่วง ที่มีผลต่ออัตราการเต้นหัวใจ, ความดันเลือดแดง, การระบายอากาศ, อัตราการใช้ออกซิเจน และระดับความไม่สุขสบายในการหายใจ ในผู้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เพศชาย อายุระหว่าง 19-22 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพศชาย จานวน 11 คน โดยผู้ที่เข้าร่วมทดลองจะทำการวิ่งบนลู่วิ่งที่มีความหนักเป็นช่วงๆเป็นเวลา 45 นาทีต่อมาในระยะพักผู้เข้าร่วมการทดลองจะทำการนั่ง หรือนอนหงายยกขาสูง 45 องศาเป็นเวลา 15 นาทีโดยเว้นระยะห่างระหว่างการทดลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทันทีภายหลังจากการวิ่ง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะเข้าสู่ระยะของการฟื้นตัวโดยการนั่ง หรือ นอนยกขาสูง 45 องศา เป็นเวลา 15 นาทีโดยการสุ่ม และผู้เข้าร่วมการทดลองจะมาทาการทดลองอีกครั้งอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถัดไป แบบสอบถามความเหนื่อยในการออกกำลังกายจะถูกบันทึกในช่วงระยะออกกำลังกายและความเหนื่อยในการหายใจจะบันทึกทุก 1 นาทีในระยะฟื้นตัว ผลการวิจัย ในระยะพักและระยะออกกำลังกายไม่พบความแตกต่างของอัตราการเต้นหัวใจ, ความดันเลือดแดง, การระบายอากาศ, ปริมาตรของการหายใจเข้าปกติ, อัตราการหายใจ, อัตราการใช้ออกซิเจน และระดับความไม่สุขสบายในการหายใจในการทดลองทั้ง 2 ครั้ง ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (p < 0.05) และ ค่าดันพัลซฺเพรสเซอร์ (p < 0.05) จะมีค่ามากในท่านอนยกขาสูง 45 องศา อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการเต้นของหัวใจจะมีค่าต่าในท่านอนยกขาสูงเมื่อเทียบกับท่านั่ง ในท่านั่งจะมีค่าการใช้ออกซิเจนที่ต่ากว่าท่านอนยกขาสูง (p < 0.05) แต่ค่าสัดส่วนการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนออกซิเจนในท่านั่งจะมีค่าสูงกว่าในท่านอนยกขาสูง (p < 0.05) ค่าการระบายอากาศ, ความเหนื่อยในการหายใจ , ความดันไดแอสโตลิก , ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย , ค่าเรทเพรสเซอร์โปรดักส์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในระหว่างท่านั่งกับท่านอน (p > 0.05) ในระยะฟื้นตัวท่า นอนยกขาสูงมีการใช้ออกซิเจน, อัตราการหายใจ ที่มากกว่าในท่านั่ง แต่มีปริมาตรอากาศของการหายใจเข้าปกติ น้อยกว่าในท่านั่ง (p < 0.05) จากข้อมูลที่ได้สามารถสรุปได้ว่าท่านอนยกขาสูง 45 องศาจะสามารถลดการทำงานอย่างหนักของระบบไหลเวียนโลหิตภายหลังการออกกำลังอย่างหนักอาจเนื่องมาจากมีการกระตุ้นของบาร์โรรีเซบเตอร์ในท่านอนยกขาสูง
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Validation of the Omni Scale of perceived exertion for cycle Ergometer exercise in young female: Thai Version
    (2555) นราวุฒิ นาคคนึง; เมตตา ปิ่นทอง; Dabayebeh, Ibrahim; รุ่งชัย ชวนไชยะกูล; Robertson, Robert; Narawut Nakkanung; Metta Pinthong; Rungchai Chuanchaiyakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    Purpose The purpose of this study was to validate of a Thai translated version of OMNI cycle ergometer exercise scale of perceived exertion among young healthy females (N = 17) (18-25 yrs). Methods Heart rate (HR, b/min), oxygen consumption (VO2, L/min), minute ventilation (VE, L/min), respiratory rate (RR, b/min) and ratings of perceived exertion (OMNI cycle Scale; RPE) for the overall body (RPE-O), legs (RPE-L), and chest (RPE-C) were determined at the end of each of 3-min exercise stages in continuously administered exercise tests. Power output (PO) of cycling intensity started at 25 Watt (w) with 25 w incremented in every stage. Subjects performed the exercise test up to 100 w. Results Exercise responses range was for HR: 99.9-153.9 b/min; VO2: 14.20-26.58 ml/kg/min; VE: 15.1-41.7 L/min; RR: 22.3-33.2 b/min and OMNI RPE RPE-O, RPE-L, and RPE-C: 0.8-7.1. Linear regression analyses showed that RPE-O, RPE-L and RPE-C distributed as a positive linear function for all criterion measures (HR, VO2, VE, and RR) (p < 0.01). Correlation between RPE and HR (r: 0.74-0.79, p < 0.01), RPE and VO2 (r: 0.79- 0.80, p < 0.01), RPE and VE (r: 0.82-0.83, p < 0.01), and RPE and RR (r: 0.47-0.49, p < 0.01) were statistically significant. Two-way ANOVA with repeated measures showed that RPE increased at each exercise stage and RPE-L were higher (p < 0.01) than RPE-O and RPE-C. One-way ANOVA with repeated measures showed that HR, VO2, VE, and RR significantly increased with the progression of workload (p < 0.001). Conclusion The Thai translated version of the OMNI Scale of perceived exertion for cycle ergometer exercise concurrent validity is established for young adult female.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Psychophysiological changes of cigarette smokers to stimuli of aerobic and anaerobic exercises
    (2012-07) Thyon Chentanez; Yaowalak Anothayanont; Panya Kimuk; Tossaporn Yimlamai; Mahidol University. College of Sports Science and Technology; Mahidol University. Faculty of Science
    This study was aimed to determine the chronic effects of smoking on some psychophysiological performances in healthy male volunteers with 20-45 years of age and working at the Police General Hospital. The volunteers were divided without randomization into 2 groups of 10 smokers and 10 nonsmokers. Then, the left arm and left leg of both groups were stimulated by hot water (42), cold water (12), aerobic exercise and anaerobic exercise to legs. Psycho-neurological performances changes before and after the above stimulations were measured. The results were 1) ‘Psycho-neurological performance’ before Astand exercise and Wingate exercise showed was no significant difference between both groups in terms of visual reaction time (VRT), response time and tapping speed. However, after exercise, warned auditory reaction time of the right big toe, warned tactile reaction time of the right lateral malleolus stimulation and the level of the right index finger response and warned tactile reaction time at 7th cervical spine level of the right index finger response were significantly higher in smokers than nonsmokers; 2) ‘Physical performance’ in nonsmokers in relation to oxygen consumption and agility was significantly higher than in smokers. In conclusion, smoking was associated with reduction in physical performance, psycho-neurological performance and vasomotor responses. This may explain smoking related atherosclerotic changes of blood vessels in the brain and organs and the severity may depend on duration and amount of smoking.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษาอัตราการเกิดการบาดเจ็บของนักกีฬาฟันดาบสากลไทยในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ณ จังหวัดตรัง
    (2554) มนต์ชัย โชติดาว; วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์; โอภาส สินเพิ่มสุขสกุล; Monchai Chottidao; Weerawat Limroongreungrat; Opas Sinphurmsuksakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการเกิดของการบาดเจ็บต่างๆ ในนักกีฬาฟันดาบสากลที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ณ จังหวัดตรัง ซึ่งจากจำนวนนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟันดาบสากล จานวน 97 ราย ผู้วิจัยสามารถเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้ จานวน 63 ราย คิดเป็น 64.94 %ประกอบด้วย นักกีฬาชาย 41 ราย (65.1%) อายุเฉลี่ย 22.77±3.39 ปี และนักกีฬาหญิง 22 ราย (34.9%) อายุเฉลี่ย 20.45±3.36 ปี ผลการศึกษาพบว่า ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนจนถึงระหว่างการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ตรังเกมส์ มีนักกีฬาดาบสากลมีอาการบาดเจ็บ จานวน 39 ราย (61.9%) โดยการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ จะเกิดในระหว่างการฝึกซ้อม จานวน 31 ราย (79.48%) เกิดในระหว่างการแข่งขัน จานวน 8 ราย (20.52%) ตำแหน่งของการบาดเจ็บที่พบมากที่สุดของนักกีฬาดาบสากล คือ ข้อเท้า จานวน 18 ราย (46.15%) รองลงมาคือ ข้อเข่า จานวน 11 ราย (28.02%) ข้อมือ จานวน 6 ราย (15.38%) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า จานวน 4 ราย (10.25) สาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นนั้นพบว่า เกิดจากตัวนักกีฬาเอง หรือไม่ได้เกิดจากการปะทะ จำนวน 15 ราย (38.46%) รองลงมา คือ เกิดจากการปะทะกับคู่ต่อสู้ จำนวน 9 ราย (23.08%) และพบว่า ปัจจัยภายในตัวนักกีฬาเอง ซึ่งเกี่ยวข้องในเรื่องของ การอบอุ่นร่างกายที่ไม่เหมาะสม การขาดเทคนิคในการเล่น อัตราการล้าที่เกิดขึ้นจากการฝึกซ้อมและการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งภาวะ การฝึกมากเกินไป ซึ่งมีส่วนทาให้เกิดการบาดเจ็บได้
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของการฝึกกิจกรรมค่ายยุวชนรักกีฬาที่มีผลต่อสมรรถภาพกลไกในเด็ก
    (2011-12) รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์; อารมย์ ตรีราช; มนต์ชัย โชติดาว; Ratapan Kanjanarungsan; Arom Treeraj; Monchai Chottidao; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา; Mahidol University. College of Sports Science and Technology
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสมบูรณ์และสมรรถภาพกลไกของยุวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายยุวชนรักกีฬา ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุระหว่าง 7-12 ปี จานวน 155 คน ประกอบด้วย เพศชาย 83 คน และเพศหญิง 72 คน และทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาของค่ายยุวชนรักกีฬา เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบสมรรถภาพกลไก ก่อนและหลังเข้าค่ายการฝึกกีฬา ด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพกลไกจำนวน 5 รายการ คือ ยืนกระโดดไกล ลุกนั่ง 30 วินาที ดันพื้น วิ่งกลับตัว และวิ่ง 5 นาที ผลการศึกษาพบว่า เด็กเพศชายมีค่าการดันพื้นก่อนและหลังการฝึกกีฬา เพียงค่าเดียวที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P< 0.05) ส่วนในเด็กเพศหญิง พบว่า ค่าการลุก-นั่ง (30 วินาที) การดันพื้น และการวิ่ง 5 นาที ก่อนและหลังการฝึกกีฬา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P< 0.05) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ ในเรื่องของสมรรถภาพกลไกก่อนและหลังการฝึกกีฬา พบว่า ค่าการดันพื้นก่อนและหลังการฝึกกีฬา ภายในกลุ่มอายุ 7, 8, 10 และ 11 ปี มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P< 0.05) และในส่วนของจำนวนครั้งในการลุกนั่ง (30 วินาที) ก่อนและหลังการฝึกกีฬา ภายในกลุ่มเด็กอายุ 10 ปีและ 12 ปี มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P< 0.05)จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า กิจกรรมการฝึกกีฬาอันได้แก่ กีฬาว่ายน้า เทนนิส แบดมินตัน ฟุตบอล และยิมนาสติก ก่อให้เกิดการพัฒนาสมรรถภาพกลไกในเด็ก ทาให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น และนอกจากจะเป็นการพัฒนาสมรรถภาพกลไกแล้ว กิจกรรมการฝึกกีฬาภาคฤดูร้อนยังช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางด้านจิตใจ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อยุวชนในช่วงปิดภาคเรียนอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การเปรียบเทียบสมรรถภาพการกระโดดระหว่างนักกีฬาทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและยุวชน
    (2557-12) วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์; ถาวร กมุทศรี; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ต้องใช้การกระโดดเป็นอย่างมาก เช่น ในจังหวะของการตบลูกหรือสกัดกั้นลูก ดังนั้น การทดสอบสมรรถภาพการกระโดด (Jump performance) จึงเป็นสิ่งสาคัญ การศึกษาสมรรถภาพการกระโดดในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่จะรายงานในเรื่องความสูงของการกระโดด แต่ข้อมูลด้านอัตราการพัฒนาแรง (Rate of force development: RFD) โดยเฉพาะในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงยุวชน ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาสมรรถภาพในการกระโดด (Jump performance) ของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย (ทีมชาติ) และยุวชนทีมชาติไทย (ยุวชน) นอกจากนี้ ยังเปรียบเทียบระหว่างขาทั้งสองข้าง นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยจานวน 11 คน และยุวชนทีมชาติไทยจานวน 10 คน ได้ทาการทดสอบการกระโดด 2 ท่า คือ squat jump (SJ) และ countermovement jump (CMJ) นักกีฬาจะยืนบนแผ่นวัดแรง ที่เก็บข้อมูลด้วยความถี่ 1000 เฮิรตซ์ จากการทดสอบสถิติด้วย Man Whitney U พบว่ากลุ่มทีมชาติมีเพียงกำลังขาขวาที่มากกว่ากลุ่มยุวชนทีมชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองท่ากระโดด และจากการทดสอบด้วยสถิติ Wilcoxan sign rank test ไม่พบความแตกต่างระหว่างขาทั้งสองข้างของนักกีฬาแต่ละกลุ่มอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างทางสถิติ แต่กลุ่มทีมชาติมีแนวโน้มว่าค่าสมรรถภาพการกระโดดมากกว่ากลุ่มยุวชนทีมชาติ เนื่องจากอัตราการเกิดแรงมีค่าใกล้เคียงกันทั้งสองกลุ่ม แต่กำลังของกลุ่มนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติมีค่ามากกว่า ดังนั้น กลุ่มนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงยุวชน ควรเน้นพัฒนาการสร้างความเร็วเพื่อเพิ่มกำลังในการกระโดด
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    The Effects of interval training on anaerobic capacity of soccer players
    (2012-07) Tavorn Kamutsri; Arom Treeraj; Mahidol University. College of Sports Science and Technology
    Background : In professional soccers, high intensity interval training was used to improve players’ anaerobic capacity. Anaerobic capacity improvement has been shown enhance soccer performance. It also has been shown that, improvement in anaerobic capacity can be induced by specific interval training. However, it is not cleared whether or not specific soccer position performance can be improved by anaerobic endurance training. Objective: The main aim of this investigation was to study the effects of high intensity interval training on anaerobic capacity of soccer players. Methods: The sample group composed of 30 male soccer players with a mean age of 24.33 (±3.78) years. They were divided into 3 groups; Group 1 (defenders), Group 2 (midfielders), and Group 3 (strikers) with 10 players in each group. All groups were trained twice a week for eight weeks by using the same specific interval training programs followed by normal soccer training programs in pre-season period. The specific interval training programs were consisted of maximum speed endurance running for 150 m x 6 rounds and 200 m x 5 rounds, at 90-95% of individual maximum speed in each distance, with a 5 and 6 minutes walk in between intervals. Results: The results were found that mean anaerobic capacity of group1, group2 and group 3 were 6.74(±0.57), 8.11(±1.57) and 7.32(±0.59) watts/kg respectively. There were significant differences between group1 and group 2 at statistical level p ≤ 0.05. Pre and post of 50 m speed , maximum oxygen consumption, anaerobic power and anaerobic capacity were significantly different at p ≤ 0.05. Conclusion: It was concluded that specific intensity interval training was effective for improving anaerobic capacity of soccer players, especially in midfielders.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยและโยคะต่อสมรรถภาพทางกาย
    (2010-12) วารี วิดจายา; ปัทชา กระแสร์เสียง; ศจีรา คุปพิทยานันท์; ณัฐวุฒิ ธานี; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อต้องการเปรียบเทียบผลของการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยและโยคะต่อสมรรถภาพทางกาย อาสาสมัครจานวน 26 คนจะถูกแบ่งออกป็น 3กลุ่มคือ กลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย ( จำนวน8 คน) กลุ่มฝึกโยคะ (จำนวน 9คน ) กลุ่มควบคุม (จำนวน9คน)ตามลำดับ กลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย และ กลุ่มฝึกโยคะจะทำการฝึกด้วยความหนัก 60%ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด 60 นาที ต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตัวแปรที่ใช้วัดคือน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลัง ความอ่อนตัว ความจุของปอดและค่าเฮมาโตคริทจะถูกวัดและแสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการฝึก 8สัปดาห์ ผลของการวิจัยพบว่าน้ำหนักตัวของกลุ่มฝึกไหว้ครูำมวยไทย กลุ่มฝึกโยคะและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกมีค่าเท่ากับ 57.37 + 13.24 กิโลกรัม, 55.26 + 10.15 กิโลกรัมและ 47.72 + 7.29 กิโลกรัม ตามลาดับ หลังจากการฝึก จะมีค่าเท่ากับ 56.29 + 12.09 กิโลกรัม, 53.87 + 9.39 กิโลกรัม และ48.00 + 7.58 กิโลกรัมตามลำดับ น้ำหนักตัวของกลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย และกลุ่มฝึกโยคะจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ทั้ง 2 กลุ่มในขณะที่กลุ่มควบคุมมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนีมวลกายของกลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย และกลุ่มฝึกโยคะแต่ในกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ของกลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย กลุ่มฝึกโยคะและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกมีค่าเท่ากับ 38.50 + 7.24 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัม, 35.68 + 6.12 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมและ 38.62 + 3.60 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมตามลาดับ หลังจากการฝึก จะมีค่าเท่ากับ 41.68 + 4.36 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัม, 40.08 + 5.10 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมและ39.60 + 7.23 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมตามลำดับค่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของกลุ่มที่ฝึกทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่าการไหว้ครูรำมวยไทยสามารถส่งผลให้สมรรถภาพทางกายเพิ่มมากขึ้นได้เหมือนกับการฝึกโยคะดังนั้นการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยจึงสามารถใช้เป็นทางเลือกของการออกกำลังกายอีกวิธีหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน: กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม
    (2553) พรรณิภา ทีรฆฐิติ; กิตติพงศ์ พูลชอบ; เมตตา ปิ่นทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะ โภชนาการเกิน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายกับระดับภาวะ โภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน รวม 451 คน จังหวัด นครปฐม ใช้ค่าดัชนีมวลกายปรับตามอายุและเพศ (Body Mass Index-Age: BMI-Age) จำแนกระดับภาวะ โภชนาการเกินเป็นกลุ่มที่มีภาวะนํ้าหนักเกินและกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน ตามค่าอ้างอิงCDC (Centers for Disease Control) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มเลือกนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินตาม สัดส่วนแบบชั้นภูมิ (Proportional Stratified Sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีค่าเฉลี่ยนํ้าหนักตัว ส่วนสูง และดัชนีมวลกายสูง กว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เด็กที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีความถี่ของการบริโภคอาหารมื้อ เช้าตํ่ากว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกินแ ต่พฤติกรรมการบริโภคของทอด ของมัน และขนมขบเคี้ยว บรรจุห่อของเด็กทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันนอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานอาหารมื้อเย็นและมื้อดึกเป็นมื้อหนักมีความสัมพันธ์กับระดับภาวะโภชนาการเกิน โดยเด็กที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีพฤติกรรมการ รับประทาน อาหารมื้อเย็นและมื้อดึกเป็นมื้อหนักมากกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน( ร้อยละ 56.8 ต่อ ร้อยละ 43.3) สองในสามของสื่อโฆษณาที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กทั้งสองกลุ่มคือสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ เกี่ยวกับการออกกำลังกายพบว่าเด็กกลุ่มที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีคะแนนพฤติกรรมการออกกำลังกายตํ่ากว่ากลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายเป็นประจำกับระดับภาวะโภชนาการเกิน โดยเด็กที่มีภาวะนํ้าหนักเกินและเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย3 ครั้ง/สัปดาห์ และแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า2 0 นาทีเป็นประจำ ร้อยละ 4.7 ต่อ ร้อยละ 21.6 และ ร้อยละ 9.8 ต่อ ร้อยละ 29.1 ตามลำดับ เดก็ ที่มีภาวะนํ้าหนักเกินออกกำลังกายเป็นประจำน้อยกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกินอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และส่วนใหญ่มีสัดส่วนการออกกำลังกายเป็นประจำที่ตํ่ากว่าแนวทางปฏิบัติมาตรฐาน สิ่งสำคัญคือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวนั้นพบได้สูงในกลุ่มเด็กที่มีระดับภาวะโภชนาการเกินที่รุนแรงมากขึ้น
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพ ด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล
    (2010-07) วรศิษฏ์ ศรีบุรินทร์; ราตรี เรืองไทย; ไถ้ออน ชินธเนศ; Thyon Chentanez; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลทีม มหาวิทยาลัยมหิดล เพศชาย มีอายุระหว่าง 19-22 ปี จำนวน 30 คน ทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอโรบิค คือ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอนแอโรบิค คือ ความแข็งแรงเชิงมุมของกลุ่มกล้ามเนื้องอเข่าและเหยียดเข่า ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และ กำลังของกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังให้โปรแกรมการฝึก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกแบบต่อเนื่อง กลุ่มที่ 2 ทำการฝึกแบบเกมสนามเล็ก และ กลุ่มที่ 3 ทำการฝึกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้ง 3 กลุ่มฝึกร่วมกับโปรแกรมฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติ ทำการฝึก 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็น ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ ้า( ANOVA) และทำการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม match paired t-test ก่อนการฝึกและหลังการฝึก โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0 .05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความ แข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่พบว่า ความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และอัตราส่วนความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อ (งอเข่า/เหยียดเข่า) ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็กมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้พบว่าผลของการฝึก 8 สัปดาห์มีผลทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากก่อนการฝึก ส่วนระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อภายหลังการทดลอง8 สัปดาห์ ของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0 .05 จากก่อนการฝึกจากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจง มีผลต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิค การศึกษาวิจัยครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไป ประยุกต์ใชใ้ นการฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอลต่อไป
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การเปรียบเทียบเชิงไคเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะชูตลูกโทษระหว่างนักกีฬาวีลแชร์ บาสเกตบอลกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยและนักกีฬาที่มีประสบการณ์
    (2011-07) ปรัญชญา แจ่มกระจ่าง; วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์; เมตตา ปิ่นทอง; วรรธนะ ชลายนเดชะ; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การชูตลูกโทษเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของวีลแชร์บาสเกตบอล เนื่องจากเป็นโอกาสที่จะทำแต้มในการแข่งขัน ถึงแม้ว่าการศึกษาที่ผ่านมามีความสนใจศึกษาในส่วนของไคเนมาติกส์ของรยางค์บนขณะทำการชูตลูกโทษ การศึกษาในเรื่องคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์บนขณะชูตลูกโทษยังมีอยู่จำกัดและการศึกษาร่วมกันทั้งไคเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อรยางค์บนทำให้เข้าใจรูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อและกลไกการชูตลูกโทษได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของการชูตลูกโทษได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ ศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของกล้ามเนื้อรยางค์บนและความแตกต่างของไคเนมาติกส์ของนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลขณะชูตลูกโทษลงห่วง ระหว่างกลุ่มที่เริ่มหัดเล่นหรือมีประสบการณ์น้อย (NOV) และกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์ อาสาสมัครเข้าร่วมในงานวิจัยนี้เป็นนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลจำนวน 11 คน ระดับความพิการอยู่ในช่วง 3.0-4.5 แต้ม แบ่งนักกีฬาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์น้อย จำนวน 3 คน (อายุเฉลี่ย 27.7 ± 4.16 ปี , น้ำหนัก 53.7 ± 4.51 กก., ส่วนสูง 136.0 ± 1.00 ซม.) และกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์ จำนวน 8 คน (อายุเฉลี่ย 31.3 ± 5.92 ปี, น้ำหนัก 61.5 ± 5.53 กก., ส่วนสูง 142.6 ± 5.53 ซม.) นักกีฬาแต่ละคนชูตลูกโทษ 10 ครั้ง เลือกลูกที่ลง 2 ลูกมาวิเคราะห์ บันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อรยางค์บน ได้แก่ กล้ามเนื้อ anterior deltoid (AD), biceps (BB), triceps (TB), brachioradialis (BRD), wrist flexor (WF) และ wrist extensor (WE) โดยใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อแบบ surface ที่ความถี่ 1000 เฮิร์ต ติดอิเลคโทรด 6 ตำแหน่งและมาร์คเกอร์จำนวน 7 มาร์คเกอร์บนแขนข้างที่ทำการชูต ทำการบันทึกค่าทางไคเนมาติกส์โดยใช้กล้องวีดิโอ 3 ตัว ที่ความถี่ 60 เฮิร์ต ผลการทดลองพบว่า anterior deltoid และ triceps เป็นกล้ามเนื้อหลักสองมัดที่ใช้ทำการชูตลูกโทษใน execution phase ของทั้งสองกลุ่ม ใช้ Mann-Whitney U test ทดสอบพบว่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ wrist extensor ช่วง execution phase ของกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์มีค่ามากกว่ากลุ่มนักกีฬากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย (NOV) อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.03) กลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์มีจุดปล่อยบอลสูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.02) แม้ว่ามุมของข้อต่อรยางค์บนและความเร็วเชิงมุมจะไม่มีความแตกต่างกันแต่ก็พบว่านักกีฬากลุ่มที่มีประสบการณ์มีความเร็วเชิงมุมของการงอข้อมือเร็วกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย สรุปว่าการเคลื่อนที่ของมุมข้อมือเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้การชูตลูกโทษประสบความสำเร็จ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกาลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วง ต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น
    (2011-07) ฉัตรลดา ภาวงศ์; จตุพร ติคัมรัมย์; กิตติพงศ์ พูลชอบ; ไถ้ออน ชินธเนศ; เมตตา ปิ่นทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกำลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น โดยเปรียบเทียบระหว่างท่านั่ง และท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา ในกลุ่มอาสาสมัครชายที่มีสุขภาพดี อายุ 20.2 ± 0.8 ปี จำนวน11 คน ภายหลังการออกกำลังกายบนลู่วิ่งตามโปรแกรมที่ระดับความหนัก-เบาเป็นช่วงๆ (นาน 45 นาที) จากนั้นพักฟื้นระหว่างท่านั่งหรือท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา เป็นเวลา 15 นาที หลังจากการพักฟื้นภายหลังออกกำลังกายทำการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยการปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูงสุด หนักเบาเป็นช่วงๆ จำนวน 6 รอบ อาสาสมัครกลุ่มเดิมได้รับการวัดซ้ำห่างกันอย่างน้อย 1อาทิตย์ บันทึกค่าอุณหภูมิแกนทางทวารหนักและอัตราการเต้นของหัวใจทุก 1 นาที ตลอดช่วงการออกกำลังกายและการพัก อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องในวันที่ทำการทดสอบแต่ละครั้งไม่แตกต่างกัน (ท่านั่ง: 25.09 ± 0.12 องศาเซลเซียส, 49.05 ± 1.83 เปอร์เซ็นต์ และท่านอนหงายยกขาสูง 45 องศา: 24.98 ± 0.14 องศาเซลเซียส, 47.24 ± 1.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการออกกำลังกายบนลู่วิ่ง ค่าของอุณหภูมิแกนไม่แตกต่างกัน (ท่านั่ง: 38.73 ± 0.16 องศาเซลเซียส และท่านอน 38.72 ± 0.13องศาเซลเซียส) แต่การพักฟื้นด้วยท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา ส่งผลให้อุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง ในนาทีที่ 15 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 2) อัตราการเต้นของหัวใจทันทีที่หยุดการออกกำลังกายไม่แตกต่างกันระหว่างท่านั่ง (177 ± 2.7 ครั้ง/นาที) และท่านอหงายยกขาสูง (179 ± 2.8 ครั้ง/นาที) 3). ภายหลังจากการพักฟื้น 15 นาที พบว่าการพักฟื้นในท่านอนหงายยกขาสูงส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง (88 ± 3.2 ครั้ง/นาที) มากกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง (98 ± 3.53 ครั้ง/นาที) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 4) ท่าทางในการพักฟื้นไม่มีผลต่อค่ากำลังสูงสุดเฉลี่ย สรุปว่าการพักฟื้นด้วยท่านอนหงายยกขาสูง 45 องศา มีผลช่วยในการลดอุณหภูมิแกนของร่างกายและลดการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดในขณะพักฟื้นได้ดีกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง แต่ท่าทางในการพักฟื้นไม่มีผลต่อสมรรถนะทางกาย ผลของท่าทางในระยะพักฟื้นทีมีต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจอาจเป็นผลมาจากการระดับกระตุ้นบาโรรีเซบเตอร์ที่แตกต่างกัน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพการบริการของศูนย์การออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล
    (2013-07) กิตติพงศ์ พูลชอบ; พรรณิภา ทีรฆฐิติ; Kittipong Poonchop; Pannipa Teerakathiti; Mahidol University. College of Sports Science and Technology
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อจำแนกองค์ประกอบของการรับรู้คุณภาพการบริการของศูนย์การออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยรัฐบาลจากมุมมองของสมาชิก และเพื่อพัฒนาแบบวัดการรับรู้คุณภาพการบริการให้มีความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงและความสามารถในการนำไปใช้งาน งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิจัยแบบภาคตัดขวางศึกษาในศูนย์การออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม โดยสุ่มสมาชิกของศูนย์ออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งอย่างง่ายมาจำนวน 285 รายการศึกษาครั้งนี้นำการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจหมุนแกนด้วยวิธีวาริแม๊กซ์ในการสกัดปัจจัย และใช้การทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีครอนบาค ความเที่ยงตรงกับเกณฑ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย อัตราการตอบกลับเท่ากับร้อยละ 98.59 หรือเท่ากับ 281 ราย การวิเคราะห์ปัจจัยของการรับรู้คุณภาพการบริการ พบว่าสกัดปัจจัยได้ 7 ปัจจัยซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรรวม ได้เท่ากับร้อยละ 76.93 ปัจจัยใหม่ที่สกัด ได้คือ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การให้ความเชื่อมั่นแก่สมาชิก การรู้จักและเข้าใจสมาชิก การตอบสนองต่อสมาชิก คุณภาพโปรแกรมการออกกำลังกายและผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการเข้ารับบริการ ค่าความเชื่อมั่น (ครอนบาค แอลฟ่า) มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 0 .86 ถึง 0.93 และยังพบว่าเครื่องมือวัดการรับรู้คุณภาพการบริการมีความเที่ยงตรงกับเกณฑ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ปัจจัยที่สมาชิกศูนย์การออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยชี้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การให้ความเชื่อมั่นแก่สมาชิกและ คุณภาพโปรแกรมการออกกำลังกาย ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแบบสอบวัดคุณภาพการบริการมีความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง สามารถนำไปใช้งานจริงสำหรับประเมินคุณภาพการบริการ จากข้อเท็จจริงของการวิจัยครั้งนี้ ผู้จัดการศูนย์การออกกำลังกายสามารถใช้เครื่องมือนี้สาหรับระบุถึงสถานะของระดับคุณภาพ ระบุจุดที่บริการที่ยังเป็นจุดอ่อนและต้องการการปรับปรุงคุณภาพการบริการ เพื่อดึงดูดสมาชิกใหม่ และเพิ่มความภักดีแก่สมาชิกเก่า ดังนั้นเครื่องมือนี้จะช่วยให้ศูนย์ออกกำลังกายมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าเดิมในสถานการณ์ปัจจุบัน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Kinematics analysis of barbell of national Thai youth Weightlifters
    (2013-07) Sirirat Hirunrat; Pawadon Raktawee; ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์; ภวดล รักทวี; Mahidol University. College of Sports Science and Technology
    The majority of the research to date on weightlifting has focused on two senior female 2004 and 2008 Olympic gold medal weightlifters. The performances of 6 women weightlifters were Thai Youth National Team and performing in the final selected for the representative of Thailand national weightlifter in the Youth Olympic Games 2010 competition in Singapore. The kinematics data of the barbell were recorded and analyzed using Peak Motion Analysis. 2-D Motion Analysis system from the snatch lift including barbell resultant trajectory, vertical and horizontal displacement, peak height, velocity, and acceleration. The performance of the athletes competing in 69-kg class and 48-kg class and the average age 15.8 years old the snatch attempts only once performance with the maximum lifting. The results showed that the average of barbell peak height were 1.29±0.1m, vertical barbell displacement 0.144±0.03m, horizontal barbell displacement 0.180±0.28 m, maximum vertical barbell velocity 2.84±0.26 m/s at 31±4 time % snatch, and maximum vertical barbell acceleration 23.59±4.34m/s2 at 29±6 time % snatch, respectively. The results of this study suggest that the appearance of the second pull in maximum vertical velocity and acceleration with time % snatch of weightlifters could be used as a criterion of lifting skill and a measure of performance.