Publication: ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
Issued Date
2556
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 31, ฉบับที่ 2 ( เม.ย. - มิ.ย. 2556), 60-70
Suggested Citation
อมราวดี บุราณรมย์, Amarawadi Buranrom, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, Wanida Sanasuttipun ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 31, ฉบับที่ 2 ( เม.ย. - มิ.ย. 2556), 60-70. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11054
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
Alternative Title(s)
Needs and Met Needs of Parents of Children Transferred from Pediatric Intensive Care Units
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง ที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 แห่ง และได้ย้ายมายังหอผู้ป่วยสามัญไม่เกิน 24 ชั่วโมง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัย: ผู้ปกครองมีความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(t = 6.885, p = .000) ค่าเฉลี่ยคะแนนความต้องการสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยประเด็นที่ผู้ปกครองมีความต้องการและได้รับการตอบสนองความต้องการมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ ข้อมูลข่าวสารความมั่นใจในความปลอดภัยของบุตร และการดูแลด้านจิตใจ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้การดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองให้ครอบคลุม โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ความมั่นใจในความปลอดภัยของบุตร และการดูแลด้านจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อกับผู้ปกครองทันทีเมื่อบุตรมีอาการเปลี่ยนแปลง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการรักษา การคาดการณ์ผลการรักษา การให้ความมั่นใจว่าบุตรจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดก่อนย้าย และการพูดปลอบโยนและให้กําลังใจ เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม ครอบคลุม และสอดคล้องตามความต้องการในช่วงระยะก่อนที่บุตรจะย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
Purpose: This study aimed to compare needs and met needs of parents of children transferred from a pediatric intensive care unit. Design: Comparative descriptive study. Methods: The subjects comprised parents of children who were transferred from two pediatric intensive care units to general patient units within twenty-four hours. Data were collected using a questionnaire asking parents’ needs and met needs at pre-transfer phase. Descriptive statistics and paired t-test were used for the analysis. Main findings: The means of parents’ needs and met needs were statistically different (t = 6.885, p = .000). Parents’ needs were greater than their met needs. The ten greatest needs of parents were information, assurance of patient safety, and mental support, which were consistent with their met needs. Conclusion and recommendations: Nurses should provide appropriate care for these parents to response their needs of information, assurance of patient safety, and mental support. Particularly, nurses should contact parents immediately when a patient’s condition changes. In addition, information related to treatment and prognosis, assurance of the best care for a patient and encouragement should be provided to parents before children are transferred from the Pediatric Intensive Care Unit.
Purpose: This study aimed to compare needs and met needs of parents of children transferred from a pediatric intensive care unit. Design: Comparative descriptive study. Methods: The subjects comprised parents of children who were transferred from two pediatric intensive care units to general patient units within twenty-four hours. Data were collected using a questionnaire asking parents’ needs and met needs at pre-transfer phase. Descriptive statistics and paired t-test were used for the analysis. Main findings: The means of parents’ needs and met needs were statistically different (t = 6.885, p = .000). Parents’ needs were greater than their met needs. The ten greatest needs of parents were information, assurance of patient safety, and mental support, which were consistent with their met needs. Conclusion and recommendations: Nurses should provide appropriate care for these parents to response their needs of information, assurance of patient safety, and mental support. Particularly, nurses should contact parents immediately when a patient’s condition changes. In addition, information related to treatment and prognosis, assurance of the best care for a patient and encouragement should be provided to parents before children are transferred from the Pediatric Intensive Care Unit.