Publication: ระบบการบริการกิจกรรมบำบัดมหิดลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Issued Date
2551-01
Resource Type
Language
tha
ISSN
0858-9437
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
Bibliographic Citation
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (2551), 136-145
Suggested Citation
อนุชาติ เขื่อนนิล, ศุภลักษณ์ เข็มทอง ระบบการบริการกิจกรรมบำบัดมหิดลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (2551), 136-145. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10346
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ระบบการบริการกิจกรรมบำบัดมหิดลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Alternative Title(s)
Occupational Therapy – Mahidol Clinic System in stroke patients
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
อุบัติการโรคหลอดเลือดสมองในประชากรไทยสูงขึ้นทุกวัย ดังนันทิศทางการบริการกิจกรรมบำบัด จึงควรสอดคล้องกับการพัฒนา หรือคงสภาพทักษะของการทำกิจกรมมการดำเนินชัวิตของผู้ป่วย และควรทำการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของระบบการบริการกิจกรรมบำบัด เพื่อพร้อมที่จะรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น. Occupational Therapy Mahidol Clinic System (OT-MCS®) จึงเป็นระบบการให้บริการเริ่มต้นตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2550 ณ คลินิกกิจกรรมบำบัดมหิดล โดยเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการทางกิจกรรมบำบัด ก่อนและหลังใช้ระบบนาน 30 วัน ในส่วนที่ 2 ทำการสำวจความคิดเห็นของนักกิจกรรมบำบัดและวิเคราะห์จัดกลุ่มข้อมูลด้วย Hierarchical Cluster Analysis. ในส่วนที่ 3 แบ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการคงสภาพความสามารถในการทำกิจกรรม (เปรียบเทียบการฝึกกิจกรรมการรักษาที่ซ้ำกันด้วยสถิติเชิงพรรณนา) และกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรม (เปรียบเทียบระดับการจัดกิจกรรมบำบัดของผู้ป่วยก่อนและหลัง 30 วันของการใช้ O-MCS®. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนครั้งของการมารับบริการเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนนักกิจกรรมบำบัดที่ให้บริการเท่าเดิม. นักกิจกรรมบำบัดมีความพึงพอใจและความสำคัญในการทำกิจกรรมบำบัด 40 รายการที่แตกต่างกันออกไป. นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องการคงสภาพความสามารถในการทำกิจกรรมมีความพึงพอใจ และความสำคัญในการทำกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องการพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมอย่างมีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องตามกรอบแนวคิดสากลของกิจกรรมบำบัด. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีความหมาย มีกระบวนวิเคราะห์และสังเคราะห์กิจกรรมที่เหมาะสม เกิดการเรียนรู้ถึงความสำคัญของการทำกิจกรรม และเกิดความพึงพอใจต่อการเลือกทำกิจกรรมที่อาจนำไปปฎิบัติได้จริง ในสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยเอง