Publication:
ผลของโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อปริมาณไรฝุ่น ความรู้ และพฤติกรรมของผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

dc.contributor.authorณฐมน สีธิแก้วen_US
dc.contributor.authorNathamon Seethikaewen_US
dc.contributor.authorอาภาวรรณ หนูคงen_US
dc.contributor.authorApawan Nookongen_US
dc.contributor.authorสมสิริ รุ่งอมรรัตน์en_US
dc.contributor.authorSomsiri Rungamornraten_US
dc.contributor.authorณัฐ มาลัยนวลen_US
dc.contributor.authorNut Malainualen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2018-09-07T06:57:34Z
dc.date.available2018-09-07T06:57:34Z
dc.date.created2561-09-07
dc.date.issued2560
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และปริมาณไรฝุ่นก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองของเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 21 คน และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 11 คน โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb (1984) โปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมและ ปริมาณไรฝุ่นที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติจริงและติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัย: ผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และปริมาณไรฝุ่นภายในบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลังได้รับโปรแกรมตํ่ากว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมส่งเสริมให้ผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ พยาบาลสามารถประยุกต์โปรแกรมนำไปใช้ในการลดปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีen_US
dc.description.abstractPurpose: To compare amount of house dust mites, knowledge, and behavior of parents and day care staff before and after implementing an environmental management program. Design: A one group pretest-posttest design. Methods: The sample consisted of 2 groups, 21 parents of children at risk for allergic rhinitis and 11 daycare staff. This study employed Kolb’s experiential learning theory (1984). The environmental management program, based on Kolb’s experiential learning theory, consisted of learning through assessment of home and the daycare center environment, reflection with the sample group, development of the guideline for environmental management, implementation, and evaluation. Data were analyzed with descriptive statistics and Wilcoxon signed-rank test. Main findings: After implementing the program, parents had higher scores for knowledge and behavior in environmental management with a statistical significance (p < .05). Day care staff’s knowledge was not significantly different (p > .05). Day care staff had higher scores for behavior in environmental management with a statistical significance (p > .05), finally leading to statistical significance in reducing amount of house dust mites at home and the day care centre. (p < .05). Conclusion and recommendations: the environmental management program enhance parents and day care staff ’s learning through their experience, develop the guideline, and manage the environment appropriate for children at risk for allergic rhinitis. Nurses should apply this program to reduce allergy in the environment to promote child health and quality of life.en_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการดูแลเด็กวัย 2-5 ปี: พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ได้รับทุนสนับสนุนจากสําานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มี.ค 2560), 36-47en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25258
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้en_US
dc.subjectโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectปริมาณไรฝุ่นen_US
dc.subjectพฤติกรรมen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อปริมาณไรฝุ่น ความรู้ และพฤติกรรมของผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Environmental Management Program on Amount of House Dust Mites, Knowledge and Behavior of Parents and Staff in Day Careen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/90174

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-apawan-2560.pdf
Size:
208.54 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections