Publication: รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ผ่านนิทรรศการ
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 ( ม.ค.– มิ.ย. 2561), 18-29
Suggested Citation
วนิดา ธนากรกุล, ศลิษา ธาระสวัสดิ์, ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์, กัญญาภัค เงินอินต๊ะ, วรยา ร้ายศรี, Wanida Thanakornkul, Salisa Tarasawat, Thanames Chaojindarach, Kanyaphak Ng-erninta, Woraya Raisri รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ผ่านนิทรรศการ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 ( ม.ค.– มิ.ย. 2561), 18-29. doi:http://doi.org/10.14456/jmu.2018.3 สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/40563
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ผ่านนิทรรศการ
Alternative Title(s)
A Model of Critical Knowledge Transfer within and outside Golden Jubilee Medical Center through Exhibitions
Other Contributor(s)
Abstract
การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) เป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดการความรู้ ซึ่งมีการใช้เครื่องมือ
ที่หลากหลาย แต่ที่นิยมคือผ่านการจัดนิทรรศการด้วยโปสเตอร์ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถเผยแพร่ความรู้ในขอบข่ายที่กว้างขวางและต้นทุนต่า การถ่ายทอดจัดอยู่ในรูปแบบเข้ารหัส (Codified) เป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicitknowledge) เป็นหลัก แต่กุญแจสำคัญขององค์กรในการสกัดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนคือ การถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึก (Tacit knowledge) เพื่อให้นำความรู้กลับไปใช้ใหม่และเกิดนวัตกรรมจึงน่าสนใจว่า การถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการในรูปแบบใด และมีปัจจัยร่วมอื่นๆ อะไรที่จะเอื้อต่อการถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีประสิทธิภาพในด้านทัศนคติ พฤติกรรม และวิเคราะห์ต้นทุน
วิธีการ: วิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามด้านทัศนคติ และความตั้งใจในการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนำมาวิเคราะห์แยกกลุ่มให้เป็นแบบแผน (Knowledge taxonomy) และวิเคราะห์ต้นทุนของการจัดงานผ่านการสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าชมนิทรรศการภายในของงานการศึกษา วิจัยและวิชาการ ในงานสัปดาห์คุณภาพ (Quality Week) ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และผู้เข้าชมนิทรรศการภายนอก หัวข้อการจัดการความรู้ KM 4.0 ในงาน “KM Day ยศ.ทร.2017” จัดโดย กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เพื่อนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Research) และศึกษาข้อมูลทุติยภูมิให้เห็นความแตกต่างของการจัดงานสองนิทรรศการ
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 70 และ 20 คนในนิทรรศการภายในและภายนอกตามลำดับ สรุปได้ว่าความรู้ที่ตรงประเด็นกับความรู้สาคัญยิ่งยวดที่นำเสนอในกลุ่มภายในจะดีกว่ากลุ่มภายนอกเล็กน้อย แต่ทั้งสองมีความตรงประเด็นประมาณร้อยละ 50 และผลการวิเคราะห์ค่าต้นทุนการนำเสนอโปสเตอร์ในนิทรรศการประมาณ 7,421.32 บาทต่อครั้ง
อภิปราย: การวิจัยสรุปว่า มีความแตกต่างของการถ่ายทอดในงานนิทรรศการทั้งสอง แม้จะเป็นความรู้สำคัญยิ่งยวดทั้งคู่ กล่าวคือหัวข้อ KM 4.0 เป็นการจัดการความรู้ที่มีผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรและส่งมอบความรู้ที่มีคุณค่าสู่ผู้รับบริการสุดท้ายได้ ส่วนหัวข้อค่านิยม GJMC โดยเน้น M คือ Mastery จะทำให้บุคลากรรับรู้ค่านิยมองค์กรสามารถเข้าใจจุดประสงค์ขององค์กรหรือ Purpose ได้ เป็นคำตอบของการทำงานแต่ละวันว่าทำเพื่ออะไร การนำเสนอหัวข้อทั้งสองเรื่องเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึกและชัดแจ้ง (Tacit and Explicit Knowledge) แต่หัวข้อ KM 4.0 เป็นความรู้ระดับองค์กร หรือ Organizational knowledge ส่วนหัวข้อค่านิยม GJMC เป็นความรู้ระดับบุคคล หรือ Individual knowledge ที่สามารถพัฒนาขึ้นเป็น Group และ Organizational knowledge ได้ในเวลาต่อมา
สรุป: รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวด (Critical Knowledge) ควรคำนึงถึงภาพรวมนอกเหนือจากเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการความรู้แล้ว ยังต้องเชื่อมโยงกับโครงสร้างความรู้ (Knowledge foundation) อันได้แก่ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและระบบการถ่ายทอดความรู้ จึงควรทำควบคู่กับการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งด้าน Cognitive, affective และ Behavior รูปแบบที่นำเสนอในงานวิจัยชิ้นนี้มีต้นทุนต่ำและสามารถเป็น
รูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้
Background: Knowledge transfer is one process in operations of knowledge management, accomplished through various tools among which poster exhibition is very commonly used by virtue of its wide dissemination and low cost. However, the content is codified so that explicit knowledge is mostly transferred. Tacit knowledge is key to sustain any organization in terms of reuse and competitive innovation. What model of this simple poster exhibition is effective and what other factors could enhance knowledge transfer? Objectives: To study a model of knowledge transfer through exhibitions both inside and outside the organization that affects attitude and behavior, including cost analysis. Methods: A retrospective study of questionnaires on attitude and commitment of knowledge reuse of audiences in Quality week at Golden Jubilee Medical Center and KM Day at Naval Education Department, for descriptive result presentation and comparison between the two. Answers and comments were classified and categorized under concepts of knowledge epistemology, ontology and taxonomy. Results: Seventy and 20 people answered the questionnaires for inside and outside exhibitions respectively, revealing a slightly relevance in knowledge intended for transfer in the former. However the relevance accounted approximately for only 50 percent. Cost per each exhibition was around 7,421.32 Baht. Discussion: The knowledge about KM 4.0 and organizational core values, GJMC- mastery emphasized, was critical: it impacts end-customers and organizational strategy. The knowledge transfers in both places differed in knowledge relevance and knowledge ontology either individual or group, which could spiral up to organizational, with low cost. Critical knowledge, how to organize and knowledge foundation like culture, environment and system were discussed. Conclusion: The proposed model based on knowledge management theories was sound and reasonable, emphasizing further profound planning in the future knowledge transfer
Background: Knowledge transfer is one process in operations of knowledge management, accomplished through various tools among which poster exhibition is very commonly used by virtue of its wide dissemination and low cost. However, the content is codified so that explicit knowledge is mostly transferred. Tacit knowledge is key to sustain any organization in terms of reuse and competitive innovation. What model of this simple poster exhibition is effective and what other factors could enhance knowledge transfer? Objectives: To study a model of knowledge transfer through exhibitions both inside and outside the organization that affects attitude and behavior, including cost analysis. Methods: A retrospective study of questionnaires on attitude and commitment of knowledge reuse of audiences in Quality week at Golden Jubilee Medical Center and KM Day at Naval Education Department, for descriptive result presentation and comparison between the two. Answers and comments were classified and categorized under concepts of knowledge epistemology, ontology and taxonomy. Results: Seventy and 20 people answered the questionnaires for inside and outside exhibitions respectively, revealing a slightly relevance in knowledge intended for transfer in the former. However the relevance accounted approximately for only 50 percent. Cost per each exhibition was around 7,421.32 Baht. Discussion: The knowledge about KM 4.0 and organizational core values, GJMC- mastery emphasized, was critical: it impacts end-customers and organizational strategy. The knowledge transfers in both places differed in knowledge relevance and knowledge ontology either individual or group, which could spiral up to organizational, with low cost. Critical knowledge, how to organize and knowledge foundation like culture, environment and system were discussed. Conclusion: The proposed model based on knowledge management theories was sound and reasonable, emphasizing further profound planning in the future knowledge transfer