GJ-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/122
Browse
Recent Submissions
Item Open Access การจัดการความรู้เพื่อฝ่าวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning(2023-07-19) มาศโมฬี จิตวิริยธรรม; ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์; วนิดา ธนากรกุล; พรรณพัชร กองชัยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติในการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรสายสนับสนุนของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ที่ปฏิบัติงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส โคโรน่า 2019 จำนวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยการคืนข้อมูลย้อนกลับไปยังหน่วยงาน ผลการวิจัย รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning เป็นการจัดการความรู้ในองค์กรโดยใช้โมเดลเซกิ (SECI Model) ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) มี 6 ขั้นตอน 1) สื่อสาร 2) เป้าหมาย 3) แลกเปลี่ยน 4) เติมเต็มข้อมูล 5) จัดเก็บ 6) การนำไปใช้ และ 5 องค์ประกอบที่ช่วยสนับสนุน คือ 1) คน 2) เทคโนโลยี 3) สภาพแวดล้อม 4) ปัจจัยสนับสนุน 5) เรื่องที่จะเรียนรู้ การจะทำให้เกิดเกลียวความรู้ (Knowledge Spiral) อย่างต่อเนื่องต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์อันดีจากการทำงานร่วมกัน และความเชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรที่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน จึงเป็นการบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวในการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของการนำองค์ความรู้กับวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติPublication Open Access ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อการบริการของห้องสมุดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก(2564) ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. งานการศึกษา วิจัย และวิชาการการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบริการที่ได้รับจริง (Perceived level of service) ระดับบริการอย่างต่ำที่ยอมรับได้ (Minimum acceptable service level) ระดับบริการที่คาดหวัง (Desired level of service) ในด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ (Affect of Service) ด้านความรู้สึกว่าห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้า (Library as Place) ด้านความรู้สึกว่าใช้สารสนเทศได้ (Information Control) 2) เพื่อศึกษาช่องว่างบริการที่เพียงพอได้ (Adequacy Gap) และช่องว่างบริการระดับสูง (Superiority Gap) ของผู้ใช้ห้องสมุดในด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ ด้านความรู้สึกว่าห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้า ด้านความรู้สึกว่าใช้สารสนเทศได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกที่ปฏิบัติงานภายในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามตามแนวการประเมินของ LibQUAL+TM ใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ ด้านห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้า ด้านการควบคุมสารสนเทศของผู้ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อระดับบริการทั้ง 3 ด้าน พบว่า ระดับบริการที่ได้รับจริง และระดับบริการที่คาดหวัง อยู่ในระดับมาก ระดับบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ อยู่ในระดับปานกลาง โดยรายการที่มีความคาดหวังสุงสุดของผู้ใช้บริการ คือ บุคลากรของห้องสมุดมีความรู้ความสามารถในการให้บริการ ในเรื่องช่องว่างบริการที่เพียงพอ และช่องว่างบริการระดับสูง พบว่า ช่องว่างบริการที่เพียงพอ ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับคุณภาพบริการยอมรับได้ และช่องว่างบริการระดับสูง ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับคุณภาพบริการต้องปรับปรุงPublication Open Access ผลของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง(2558) สุนันทา ตั้งปนิธานดี; ชนมน เจนจิรวัฒน์; ปัญจศา ลี้ศิริสรรพ์; มินทร์ลดา เพิ่มทรัพย์ทวีผล; Sununta Tangpanithandee; Chanamon Jenjirawat; Panjasa Leesirisan; Minlada Prermsubtawephon; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แนวพุทธต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียว วัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยวัดก่อนการทดลอง 1 ครั้งระหว่างการทดลอง 4 ครั้ง และหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 ครั้ง วัดแต่ละครั้งห่างกัน 3-4 สัปดาห์ยึดหลักการพิทักษ์สิทธิ์และ ยินยอมเข้าร่วมงานวิจัยก่อนดำเนินการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือแม่และน้าผู้ปฏิบัติบทบาทมารดา ทดแทนในการเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้งหมู่บ้านเด็กมูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย จำนวน 11 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการโดยให้แม่และน้าเข้าร่วมการให้ คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 5 ครั้ง เป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แนวพุทธเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติ Wilcoxon Signed-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ย คะแนนความวิตกกังวลหลังสิ้นสุดการให้คำปรึกษาต่ำกว่าก่อนการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษาครั้งที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 ต่ำกว่าก่อนให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้นการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แนวพุทธควรได้รับการพิจารณาในการนำมาใช้เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ปฏิบัติบทบาทมารดา ทดแทนในการเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้ไม่มีกลุ่มควบคุม และจำนวนตัวอย่างน้อยจึงอาจมีข้อจำกัดในการอ้างอิงผลการวิจัยในกลุ่มอื่นPublication Open Access การสื่อสารที่ส่งผลต่อการรับรู้การรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษาศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก(2560) จิรนันท์ สุวรรณวงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. สำนักงานผู้อำนวยการการศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการสื่อสาร ภายในองค์กรของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ 3) เพื่อศึกษาปัจจัย ด้านการสื่อสาร ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้มาตรฐานโรงพยาบาลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จำนวน 262 ราย เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-Test สถิติ F-test และวิธีการ วิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการสื่อสารภายในองค์กรของศูนย์การ แพทย์กาญจนาภิเษก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการรับรู้ มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราช สมบัติครบ 60 ปีของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับปานกลาง 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ประกอบด้วย ปัจจัยด้าน การสื่อสาร ได้แก่ องค์ประกอบการสื่อสาร และบรรยากาศในการสื่อสาร โดยตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยทางสถิติที่ .01 และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา ประเภทบุคลากร และหน่วยงานที่สังกัด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Publication Open Access การสังเคราะห์ความรู้จากบทคัดย่องานวิจัย R2R (Service Plan) สาขา 5 สาขาหลัก (สูติ-ศัลย์-MED-เด็ก-ออร์โธ)(2559) มาศโมฬี จิตวิริยธรรม; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. งานการศึกษา วิจัยและวิชาการPublication Open Access ความต้องการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล(2556) มาศโมฬี จิตวิริยธรรม; Masmolee Jitwiriyatham; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. งานการศึกษา วิจัย และวิชาการการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความต้องการสารสนเทศของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล และนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรการสืบค้นสารสนเทศที่เหมาะแก่บุคลากรต่อไป เป็นการ วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบภาคตัดขวาง (Cross- Sectional Survey) ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น (Openionnaire) เป็นเครื่องมือในการทำวิจัย ประชากรในการศึกษาคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสังกัด ศูนย์การแพทย์กาญจนา ภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 405 คน โดยมีผู้ส่งแบบสอบถามคืนมา คิดเป็น 84.93% ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีความต้องการและการใช้สารสนเทศจากห้องสมุดศูนย์การแพทย์ในระดับมาก ( = 3.61 และ 3.06 ตามลำดับ) ประเภทของสารสนเทศที่มีความต้องการใช้มากที่สุดคือ สารสนเทศจากสื่ออิเลคทรอนิกส์ อันได้แก่ อินทราเน็ต ( = 4.09) โดยฐานข้อมูลวิจัยจะมีระดับการใช้สูงสุด ( = 2.63) ซึ่งในปัจจุบัน ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ ที่บุคลากรสามารถใช้ในการแสวงหาได้จริง จะเป็นจากหนังสือมากที่สุด รองลงมาคืออินทราเน็ต ปัญหาที่พบในการสืบค้น คือ บุคลากรมีข้อจำกัดด้านการใช้สารสนเทศภาษาต่างประเทศ และมีข้อจำกัดด้านเวลาในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สารสนเทศของบุคลากรในหน่วยงานอีกด้วย งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า สารสนเทศในองค์กรมีเพียงพอ และตรงตามความต้องการของผู้รับสารสนเทศ ส่วนใหญ่ แต่มีปัญหาในช่องทางการรับข้อมูลสารสนเทศ เนื่องจากบุคลากรยังไม่สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้เท่าที่ตนเอง ต้องการ เพราะมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันน้อย การใช้เครื่องมือในการสืบค้นสารสนเทศที่จัดเตรียมไว้ให้ ก็ยังใช้ไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ทำให้บุคลากรไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ หากจะให้บุคลากร สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้ ต้องมีกิจกรรมที่ทำให้มีการสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น และจัดหลักสูตรพัฒนาทักษะ ภาษาต่างประเทศไปพร้อมๆ กับวิธีการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลทางวิชาการต่างๆPublication Open Access รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ผ่านนิทรรศการ(2561) วนิดา ธนากรกุล; ศลิษา ธาระสวัสดิ์; ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์; กัญญาภัค เงินอินต๊ะ; วรยา ร้ายศรี; Wanida Thanakornkul; Salisa Tarasawat; Thanames Chaojindarach; Kanyaphak Ng-erninta; Woraya Raisri; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. งานการศึกษา วิจัย และวิชาการการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) เป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดการความรู้ ซึ่งมีการใช้เครื่องมือ ที่หลากหลาย แต่ที่นิยมคือผ่านการจัดนิทรรศการด้วยโปสเตอร์ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถเผยแพร่ความรู้ในขอบข่ายที่กว้างขวางและต้นทุนต่า การถ่ายทอดจัดอยู่ในรูปแบบเข้ารหัส (Codified) เป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicitknowledge) เป็นหลัก แต่กุญแจสำคัญขององค์กรในการสกัดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนคือ การถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึก (Tacit knowledge) เพื่อให้นำความรู้กลับไปใช้ใหม่และเกิดนวัตกรรมจึงน่าสนใจว่า การถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการในรูปแบบใด และมีปัจจัยร่วมอื่นๆ อะไรที่จะเอื้อต่อการถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีประสิทธิภาพในด้านทัศนคติ พฤติกรรม และวิเคราะห์ต้นทุน วิธีการ: วิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามด้านทัศนคติ และความตั้งใจในการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนำมาวิเคราะห์แยกกลุ่มให้เป็นแบบแผน (Knowledge taxonomy) และวิเคราะห์ต้นทุนของการจัดงานผ่านการสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าชมนิทรรศการภายในของงานการศึกษา วิจัยและวิชาการ ในงานสัปดาห์คุณภาพ (Quality Week) ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และผู้เข้าชมนิทรรศการภายนอก หัวข้อการจัดการความรู้ KM 4.0 ในงาน “KM Day ยศ.ทร.2017” จัดโดย กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เพื่อนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Research) และศึกษาข้อมูลทุติยภูมิให้เห็นความแตกต่างของการจัดงานสองนิทรรศการ ผลการศึกษา: จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 70 และ 20 คนในนิทรรศการภายในและภายนอกตามลำดับ สรุปได้ว่าความรู้ที่ตรงประเด็นกับความรู้สาคัญยิ่งยวดที่นำเสนอในกลุ่มภายในจะดีกว่ากลุ่มภายนอกเล็กน้อย แต่ทั้งสองมีความตรงประเด็นประมาณร้อยละ 50 และผลการวิเคราะห์ค่าต้นทุนการนำเสนอโปสเตอร์ในนิทรรศการประมาณ 7,421.32 บาทต่อครั้ง อภิปราย: การวิจัยสรุปว่า มีความแตกต่างของการถ่ายทอดในงานนิทรรศการทั้งสอง แม้จะเป็นความรู้สำคัญยิ่งยวดทั้งคู่ กล่าวคือหัวข้อ KM 4.0 เป็นการจัดการความรู้ที่มีผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรและส่งมอบความรู้ที่มีคุณค่าสู่ผู้รับบริการสุดท้ายได้ ส่วนหัวข้อค่านิยม GJMC โดยเน้น M คือ Mastery จะทำให้บุคลากรรับรู้ค่านิยมองค์กรสามารถเข้าใจจุดประสงค์ขององค์กรหรือ Purpose ได้ เป็นคำตอบของการทำงานแต่ละวันว่าทำเพื่ออะไร การนำเสนอหัวข้อทั้งสองเรื่องเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึกและชัดแจ้ง (Tacit and Explicit Knowledge) แต่หัวข้อ KM 4.0 เป็นความรู้ระดับองค์กร หรือ Organizational knowledge ส่วนหัวข้อค่านิยม GJMC เป็นความรู้ระดับบุคคล หรือ Individual knowledge ที่สามารถพัฒนาขึ้นเป็น Group และ Organizational knowledge ได้ในเวลาต่อมา สรุป: รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวด (Critical Knowledge) ควรคำนึงถึงภาพรวมนอกเหนือจากเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการความรู้แล้ว ยังต้องเชื่อมโยงกับโครงสร้างความรู้ (Knowledge foundation) อันได้แก่ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและระบบการถ่ายทอดความรู้ จึงควรทำควบคู่กับการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งด้าน Cognitive, affective และ Behavior รูปแบบที่นำเสนอในงานวิจัยชิ้นนี้มีต้นทุนต่ำและสามารถเป็น รูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้Publication Open Access การศึกษาความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องวัดอุณหภูมิทางหูและหน้าผากในผู้ป่วยนอกมีไข้และอาสาสมัครไม่มีไข้(2559) สุนันทา ตั้งปนิธานดี; Sununta Tangpanithandee; วิมลรัตน์ ทองเชื้อ; Wimonrat Thongchuer; อรดี จริตควร; Oradee Charitkuan; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความถูกต้องและแม่นยำของปรอทวัดไข้ทางหูและหน้าผาก เปรียบเทียบกับทางปากในผู้ป่วยนอกมีไข้และอาสาสมัครไม่มีไข้ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเปรียบเทียบ วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนอกมีไข้ 120 คน และอาสาสมัครไม่มีไข้ 120 คน ที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก กลุ่มตัวอย่างแต่ละราย ได้รับการวัดอุณหภูมิร่างงกายดว้ ยปรอททางหู หน้าผาก และปาก ตามลำดับ คำนวณความถูกต้อง (ความแตกต่างของอุณหภูมิร่างกายจากการวัด 2 วิธี) และแม่นยำ (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าความแตกต่าง) ของอุณหภูมิทางหูและหน้าผากเปรียบเทียบกับทางปาก ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง โดยใช้สถิติ Bland-Altman ก่อนวิเคราะห์ผลทางสถิติผู้วิจัย ได้กำหนดค่าความถูกต้อง และแม่นยำจากการวัด 2 วิธี ไม่เกิน ± .3; ± .5 ตามเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะไว้ ผลการวิจัย: ผู้ป่วยนอกมีไข้ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิที่วัดทางหูและหน้าผากเปรียบเทียบกับทางปากมีค่า - .09 ± .32 และ .09 ± .36 องศาเซลเซียสตามลำดับ สำหรับอาสาสมัครไม่มีไข้ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิที่วัดทางหูและหน้าผากเปรียบเทียบกับทางปาก มีค่า .02 ± .35 และ .37 ± .38 องศาเซลเซียสตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความถูกต้องและแม่นยำของอุณหภูมิทางหูและหน้าผากเปรียบเทียบกับทางปาก อยู่ในเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญยอมรับ ในผู้ป่วยมีไข้ ดังนั้น การใช้ปรอทวัดไข้ทางหู และทางหน้าผากอย่างถูกวิธี สามารถใช้วัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อประเมินภาวะไข้ในผู้ป่วยนอกได้Publication Metadata only การศึกษาเบื้องต้นแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมของผลสัมฤทธิ์การนวดกดจุดสะท้อนเท้ารักษาผู้ป่วยติดบุหรี่อัมพร กรอบทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกการศึกษาเบื้องต้นครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม และปกปิดข้อมูลการรักษาทั้งสองฝ่ายในผู้ป่วยที่ใช้บริการการรักษา ณ คลินิกฟ้าใสที่เข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง จำนวน 74 คน ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2555 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2556 แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มย่อย ให้แต่ละกลุ่มมีจำนวนผู้ป่วยเป็น 4 คน ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ และวิธีดำเนินการการนวดจุดสะท้อนเท้ากระทำตามจุดที่กำหนด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยผู้ผ่านการฝึกอบรม ผลการศึกษา เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบกลุ่มทดลองเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 47.60 ขณะกลุ่มควบคุมเลิกได้เพียงร้อยละ 12.50 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเลิกบุหรี่ได้ เกิดขึ้นหลังการนวดกดจุดสะท้อนเท้า 1 ครั้ง ถึง 11 ครั้ง เฉลี่ย 5 ครั้ง การเปลี่ยนแปลงหลังการนวดกดจุดสะท้อนเท้า รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไปร้อยละ 69.05 ในกลุ่มทดลองและร้อยละ 43.75 ในกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ไม่พบความสัมพันธ์ของการเลิกบุหรี่กับรสชาติของบุหรี่ที่เปลี่ยนไป ประเภทของบุหรี่ที่สูบ ระยะเวลาที่สูบ ความรุนแรงของการติดและสาเหตุของการติดบุหรี่ การติดตามผู้ป่วยกลุ่มทดลองที่ 1 เดือน 3 เดือน พบผลลัพธ์การเลิกบุหรี่ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 42.86 ทั้งสองครั้ง และลดเหลือร้อยละ 38.10 ที่ 6 เดือน สรุปได้ว่าการนวดกดจุดสะท้อนเท้ามีผลสัมฤทธิ์ในการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่โดยให้ผลหลังการบำบัดเฉลี่ยที่ 5 ครั้ง