Publication:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยล้าในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก

dc.contributor.authorวิภวานี ทาเอื้อ
dc.contributor.authorวรรณา พาหุวัฒนกร
dc.contributor.authorฤดี ปุงบางกะดี่
dc.contributor.authorWiphavanee Thaua
dc.contributor.authorWanna Phahuwatanakorn
dc.contributor.authorRudee Pungbangkadee
dc.date.accessioned2024-06-28T17:56:47Z
dc.date.available2024-06-28T17:56:47Z
dc.date.created2567-06-29
dc.date.issued2566
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของระยะเวลาการคลอด การได้รับยาเร่งคลอด ความวิตกกังวล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ต่อความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกจำนวน 131 ราย ที่มารับบริการคลอดบุตร และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอด ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกปริมาณยาออกซิโทซินที่ได้รับ แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และแบบสอบถามความเหนื่อยล้าในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย: ร้อยละ 77.1 ของกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในระดับต่ำ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 52.78 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ระยะเวลาการคลอด การได้รับยาเร่งคลอด ความวิตกกังวล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในผู้คลอดครรภ์แรกได้ร้อยละ 20.4 โดยมีปัจจัยที่ศึกษาอย่างน้อยหนึ่งตัวสามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 6.42, p < .001) ปัจจัยทำนายที่พบ ได้แก่ ความวิตกกังวล และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด (gif.latex?\beta = .26, p < .01; gif.latex?\beta = - .26, p < .01 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: ความวิตกกังวลและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดมีผลต่อความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก ดังนั้นผดุงครรภ์และพยาบาลควรลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดแก่ผู้คลอดและส่งเสริมพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความเหนื่อยล้าในระยะคลอด
dc.description.abstractPurpose: This predictive research aimed to studying the influence of duration of labor, administration of oxytocin, anxiety, childbirth self-efficacy, and pain coping behaviors on intrapartum fatigue in primigravida. Design: Predictive correlational design. Methods: The samples consisted of 131 parturients admitted for delivery in the delivery room and postpartum ward at a super-tertiary care hospital in Bangkok. The instruments used for collecting data were a personal data form, the oxytocin administration record, Anxiety during Labor Questionnaire, the Thai Childbirth Self-efficacy Inventory, Pain Coping Behaviors Observation Form, and the Fatigue Questionnaire. Descriptive statistics, Pearson product moment correlation coefficient and multiple linear regression analysis were used to analyze data. Main findings: The result showed that 77.1% of subjects had low score of intrapartum fatigue. The mean intrapartum fatigue score was 52.78 points, which was categorized as low levels of fatigue. Duration of labor, administration of oxytocin, anxiety, childbirth self-efficacy, and pain coping behaviors could together explain 20.4% of the variance in intrapartum fatigue among primigravida (R2 = .20) with at least one factor could significantly predict intrapartum fatigue in primigravida (F = 6.42, p < .001). The predictors included anxiety and pain coping behaviors (gif.latex?\beta = .26, t = 2.75, p < .01; gif.latex?\beta = - .26, t = -3.00, p < .01 respectively). Conclusion and recommendations: Anxiety and pain coping behaviors could predict intrapartum fatigue in primigravida. Therefore, it is suggested that midwives and nurses should reduce anxiety related to childbirth and promote efficient pain coping behaviors for preventing intrapartum fatigue.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2567), 84-94
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99170
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectความวิตกกังวล
dc.subjectพฤติกรรมการเผชิญ
dc.subjectความเหนื่อยล้า
dc.subjectระยะเวลาการคลอด
dc.subjectการรับรู้ความสามารถของตนเอง
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์
dc.subjectJournal of Nursing Science
dc.subjectNursing Science Journal of Thailand
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยล้าในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก
dc.title.alternativeFactors Influencing Intrapartum Fatigue in Primigravida
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/262173
oaire.citation.endPage94
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage84
oaire.citation.titleวารสารพยาบาลศาสตร์
oaire.citation.volume42
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ns-ar-virapun-2567.pdf
Size:
2.51 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections