Publication:
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำระบบบริหารแบบ 4 ระบบของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคเหนือ

dc.contributor.authorภูษิตา อินทรประสงค์en_US
dc.contributor.authorพิชชากานต์ วิเชียรกัลยารัตน์en_US
dc.contributor.authorจรรยา ภัทรอาชาชัยen_US
dc.contributor.authorชวลิต หมื่นนุชen_US
dc.contributor.authorBhusita Intaraprasongen_US
dc.contributor.correspondenceภูษิตา อินทรประสงค์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุขen_US
dc.date.accessioned2015-01-22T02:41:57Z
dc.date.accessioned2017-06-30T08:35:23Z
dc.date.available2015-01-22T02:41:57Z
dc.date.available2017-06-30T08:35:23Z
dc.date.created2558
dc.date.issued2554
dc.description.abstractการวิจัยเชิงอรรถาธิบายแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำระบบ บริหาร 4 ระบบ ของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ กับความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ในเขตภาคเหนือ จำนวน 265 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบ Pearson product - moment correlation coefficient และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความเครียดจากภาระงานน้อย ภาวะผู้นำระบบบริหาร 4 ระบบ ของ หัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพเป็นระบบบริหารแบบปรึกษาหารือ ภาวะผู้นำระบบบริหาร 4 ระบบ ของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ เชิงลบกับความเครียดภาระงานของพยาบาลวิชาชีพในระดับต่ำ (p≤0.01) ภาวะผู้นำระบบบริหารแบบเผด็จการอย่างเมตตามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียดจากภาระงาน (p≤0.01) และ ภาวะผู้นำระบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดจากภาระงาน (p≤0.05) ส่วนภาวะผู้นำระบบบริหาร แบบปรึกษาหารือไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากภาระงานและภาวะผู้นำระบบบริหาร 4 ระบบของหัวหน้าหอ ผู้ป่วย สามารถอธิบายความผันแปรความเครียดจากภาระงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 7.9 (R2=0.079) ผลจากการวิจัยนี้หัวหน้าหอผู้ป่วยน่าจะเน้นการใช้ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้วยการใช้หลักการสร้าง สัมพันธภาพเพื่อให้กำลังใจ การตัดสินใจให้ใช้การตัดสินใจของกลุ่ม และเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติงานของหัวหน้า หอผู้ป่วยต้องเป็นเป้าหมายที่มีประสิทธิผลสูงสำหรับองค์กร รวมทั้งการพัฒนาหัวหน้าหอผู้ป่วยสามารถจัดการกับ ความเครียดของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงาน ด้วยการประเมินความเครียดจากงานที่ทำของบุคลากรร่วมกับการ ตรวจสุขภาพประจำปี ค้นหารากเหง้าสาเหตุของความเครียดและร่วมกันแก้ไข โดยเน้นการมีส่วนร่วมของ เพื่อ ป้องกันและแก้ไขความเครียดจากงานของพยาบาลวิชาชีพ The purpose of this cross-sectional explanatory research was to analyze the job stress of registered nurses, and its relationship to the system 4 management leadership styles of head nurses as perceived by the registered nurses, working under them. Questionnaires were used to collect the data from 265 registered nurses, who were working at district hospitals in the northern part of Thailand. Statistical analysis was performed by using Pearson product-moment correlation coefficient and simple regression analysis. The result indicated that most of registered nurses had a mild job stress and that the system 4 management leadership styles of head nurses as perceived by their staff registered nurses were consultative type. The leadership style of head nurses had a significant negative relationship with job stress of registered nurses (p≤0.01). Job stress was significantly and positively correlated to benevolent-authoritative leadership style (p≤0.01) and negatively to the participative leadership style (p≤0.05). However, there was neither positively nor negatively related to the consultative leadership style. Leadership style was able to explain significantly to the variation of job stress at a level of 7.9% (R2=0.079). The result of this study suggested that head nurses used the participative leadership style on the basis of certain organizational variables such as the principle of supportive relationships, group decision making, and high performance goals for the organization. Furthermore, job stress management should be noted and promoted. Job stress evaluation should be added to the annual health examination program and a management plan devised if there are problems. The root cause of job stress should be identified and addressed the participation of operational personnel to prevent and reduce of it.en_US
dc.identifier.citationวารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2554), 38-51en_US
dc.identifier.issn0125-1678
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2454
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความเครียดจากงานen_US
dc.subjectภาวะผู้นำระบบบริหารแบบ 4 ระบบen_US
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.subjectJob Stressen_US
dc.subjectSystem 4 management leadership stylesen_US
dc.subjectRegistered nursesen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectวารสารสาธารณสุขศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Public Healthen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำระบบบริหารแบบ 4 ระบบของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคเหนือen_US
dc.title.alternativeRelationship between system 4 management leadership styles of head nurses and job stress of registered nurses at the northern district hospitalsen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttp://www.ph.mahidol.ac.th/journal/5_54/04.pdf

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-bhusita-2554.pdf
Size:
206.04 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections