Publication:
ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะติดเชื้อระยะหลังในทารกเกิดก่อนกำหนด และการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก

dc.contributor.authorสุภาพร ตันเจริญ
dc.contributor.authorสมสิริ รุ่งอมรรัตน์
dc.contributor.authorวัลยา ธรรมพนิชวัฒน์
dc.contributor.authorSupaporn Tanjaroen
dc.contributor.authorSomsiri Rungamornrat
dc.contributor.authorWanlaya Thampanichawat
dc.date.accessioned2024-06-28T17:27:36Z
dc.date.available2024-06-28T17:27:36Z
dc.date.created2567-06-29
dc.date.issued2566
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดภาวะติดเชื้อระยะหลังในทารกเกิดก่อนกำหนด และศึกษาการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก รูปแบบการวิจัย: การศึกษาจากผลไปหาเหตุกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ และการศึกษาเชิงบรรยาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่แรกเกิดในหออภิบาลทารกแรกเกิด/ผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงกลาโหม ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 151 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 40 ราย และกลุ่มควบคุม 111 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั้งสามแห่ง จำนวน 28 ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลด้านการแพทย์ของทารก แบบประเมินระดับความรุนแรงของภาวะเจ็บป่วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาล และแบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหออภิบาลทารกแรกเกิด/ผู้ป่วยเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่า ความรุนแรงของภาวะเจ็บป่วย ปริมาณนมมารดาที่ทารกได้รับ และระยะเวลาใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง สามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะติดเชื้อระยะหลังในทารกเกิดก่อนกำหนดได้ร้อยละ 56 (R2 = .56) โดยความรุนแรงของภาวะเจ็บป่วยสามารถทำนายภาวะติดเชื้อระยะหลังได้มากที่สุด (OR = 22.64, 95%CI = 6.52, 78.62) และการศึกษาครั้งนี้พบว่า ร้อยละ 82.1 ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั้งสามแห่ง มีการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วยเด็กโดยรวมอยู่ในระดับสูง สรุปและข้อเสนอแนะ: ความรุนแรงของภาวะเจ็บป่วย ปริมาณนมมารดาที่ทารกได้รับ และระยะเวลาใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง มีผลต่อการเกิดภาวะติดเชื้อระยะหลังในทารกเกิดก่อนกำหนด ดังนั้น พยาบาลจึงควรพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะติดเชื้อระยะหลังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการประเมินความรุนแรงของภาวะเจ็บป่วยตั้งแต่แรกรับ ส่งเสริมให้ทารกได้รับนมมารดาปริมาณเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 80 ต่อวัน และจำกัดระยะเวลาในการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางไม่ให้มากกว่า 14 วัน
dc.description.abstractPurpose: To investigate the predictive factors of late-onset sepsis in preterm infants and to study the practices of nurses for the prevention of sepsis in the pediatric intensive care unit. Design: Case-control study and descriptive study. Methods: The sample were 151 preterm infants who were admitted at the neonatal/pediatric intensive care units of three tertiary hospitals affiliated with Ministry of Defense located in Bangkok and divided into 40 cases and 111 controls. Twenty-eight nurses from three settings were also the study participants. Data were collected during the period of August to December, 2022 using an infant’s medical record form, severity of illness assessment form, a nurse’s general information record form, and an observation form of nurses’ practices to prevent sepsis in the neonatal/pediatric intensive care units. Data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression. Main findings: The results indicated that severity of illness, amount of breast milk received and duration of retained central venous catheter could significantly predict 56% (R2 = .56) of late-onset sepsis in preterm infants. The severity of illness was the strongest predictive factor for late-onset sepsis in preterm infants (OR = 22.64, 95%CI = 6.52, 78.62). In addition, 82.1% of the nurses working in the three settings had a high level of practices for the prevention of sepsis. Conclusion and recommendations: Based on the finding, severity of illness, amount of breast milk received and duration of central venous catheter insertion affected the late-onset sepsis in preterm infants. Thus, nurses should develop a care model or a guideline for prematurity care to effectively prevent the late-onset sepsis by assessing an infant’s severity of illness since the admission, promoting the adequacy of breast milk received more than 80% per day, limiting the duration of retained central venous catheter not longer than 14 days.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2567), 13-27
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99167
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectภาวะติดเชื้อระยะหลัง
dc.subjectพยาบาล
dc.subjectหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก
dc.subjectทารกเกิดก่อนกำหนด
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์
dc.subjectJournal of Nursing Science
dc.subjectNursing Science Journal of Thailand
dc.titleปัจจัยทำนายการเกิดภาวะติดเชื้อระยะหลังในทารกเกิดก่อนกำหนด และการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก
dc.title.alternativePredictive Factors of Late-onset Sepsis in Preterm Infants and Nurses’ Practices for the Prevention of Sepsis in Pediatric Intensive Care Units
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/263863
oaire.citation.endPage27
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage13
oaire.citation.titleวารสารพยาบาลศาสตร์
oaire.citation.volume42
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ns-ar-somsiri-2567.pdf
Size:
3.55 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections