Publication: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงาน
dc.contributor.author | สุธารัตน์ ชําานาญช่าง | en_US |
dc.contributor.author | Sutharat Chamnanchang | en_US |
dc.contributor.author | ปนัดดา ปริยทฤฆ | en_US |
dc.contributor.author | Panudda Priyatruk | en_US |
dc.contributor.author | กนกพร หมู่พยัคฆ์ | en_US |
dc.contributor.author | Kanokporn Moopayak | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-07-29T09:18:35Z | |
dc.date.available | 2018-07-29T09:18:35Z | |
dc.date.created | 2561-07-29 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนํา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ทัศนคติต่อมะเร็งเต้านม ความมั่นใจต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ความสะดวกในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และปัจจัยเสริม ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงาน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีวัยแรงงานที่ทํางานในสถานประกอบกิจการ อําเภอเขาสมิง จังหวัดตราด จํานวน 116 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ทัศนคติต่อมะเร็งเต้านม ความมั่นใจต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ความสะดวกในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย: สตรีวัยแรงงานตรวจเต้านมด้วยตนเองสม่ำเสมอทุกเดือนเพียงร้อยละ 11.2 โดยตรวจถูกต้องในระดับต่่ำร้อยละ 55.2 และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม (r = .35, p < .001) ความมั่นใจต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (r = .35, p < .001) ความสะดวกในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (r = .22, p < .05) แรงสนับสนุนทางสังคม (r = .25, p < .05) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อมะเร็งเต้านมกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลประจําาสถานประกอบกิจการหรือบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และเสริมสร้างความมั่นใจในประเด็นของการสังเกตความผิดปกติของเต้านม และการตรวจโดยการคลํา รวมทั้งจัดอํานวยความสะดวกโดยการหาแหล่งบริการคําแนะนําในห้องพยาบาลหรือห้องพักพนักงาน และประสานงานกับเจ้าของสถานประกอบกิจการเพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับสตรีวัยแรงงาน | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: This study was aimed at investigating factors related to breast self-examination behaviors including predisposing factors: knowledge of breast cancer, attitude toward breast cancer, confidence in breast self-examination; enabling factors: convenience in breast self-examination; and reinforcing factors: social support among women workers.Design: Descriptive correlational research.Methods: The study sample consisted of 116 women workers who worked at enterprises in Khoasaming District, Trat Province. Data were collected by means of administering a set of questionnaires: demographic characteristics, a knowledge of breast cancer, an attitude toward breast cancer, a confidence in breast self-examination, a convenience in breast self-examination, and a social support. Relationships among the study variables were determined using Spearman’s rank correlation.Main findings: The study findings revealed that 11.2% of the women workers performed breast self-examination on a monthly basis. More than half, or 55.2%, had a low level of correctness in breast self-examination. It was also found that the factors of knowledge (r = .35, p < .001), confidence (r = .35, p < .001), convenience (r = .22, p < .05), and social support (r = .25, p < .05) were related to breast self-examination behaviors among women workers with statistical significance. However, there was no relationship between attitude toward breast cancer and breast self-examination behaviors among women workers.Conclusion and recommendations: Nurses in enterprises and related healthcare team members should promote knowledge of breast cancer, particularly breast self-examination methods, among women workers. Nurses should also encourage them to be confident in observing abnormalities of the breasts using palpation technique as well as facilitate advisory services in a hospital or staff rooms. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 32, ฉบับที่ 3 (ก.ค. -ก.ย. 2557), 42-51 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/21874 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง | en_US |
dc.subject | สตรีวัยแรงงาน | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงาน | en_US |
dc.title.alternative | Factors Associated with Breast Self-examination Behaviors among Women Workers | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/27070 |