Publication:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

dc.contributor.authorกฤษณา อุไรศรีพงศ์en_US
dc.contributor.authorKritsana Uraisripongen_US
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศen_US
dc.contributor.authorDoungrut Wattanakitkrilearten_US
dc.contributor.authorวิชชุดา เจริญกิจการen_US
dc.contributor.authorVishuda Charoenkitkarnen_US
dc.contributor.authorเจริญ ชูโชติถาวรen_US
dc.contributor.authorCharoen Chuchottawornen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์en_US
dc.contributor.otherจังหวัดนนทบุรี. สถาบันโรคทรวงอกen_US
dc.date.accessioned2018-09-07T08:53:06Z
dc.date.available2018-09-07T08:53:06Z
dc.date.created2561-09-07
dc.date.issued2560
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรค ความมั่นใจในการใช้ยา ความพร้อมในการใช้ ยา และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ ในการร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมชนิด ออกฤทธิ์ยาวร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 120 คน ที่มาตรวจรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือ ในการใช้ยา แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยฉบับย่อแบบวัดความมั่นใจ แบบประเมินความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง และแบบประเมินการสื่อสารระหว่างแพทย์และ ผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 95 อายุเฉลี่ย 68.95 (SD = 9.33, Max = 88, Min = 48) มีความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ ร้อยละ 65.8 การรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรค ความมั่นใจในการใช้ยา ความพร้อมในการใช้ยา และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ สามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ร้อยละ 53.8 (Nagelkerke R2 = .538) โดยความมั่นใจในการใช้ยา และความพร้อมในการใช้ยา สามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 2.01, p < .05 และ OR = 2.41, p < .05) ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้ความสำคัญในการประเมินความพร้อมและความมั่นใจในการใช้ยาของผู้ป่วย และพัฒนาแนวทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความพร้อมและความมั่นใจในการใช้ยาสูดขยายหลอดลม ชนิดออกฤทธิ์ยาวร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์เพิ่มขึ้นต่อไปen_US
dc.description.abstractPurpose: This study aimed to examine the influences of perception of disease control, medication taking confidence, readiness to take medication, and patient-clinician communication on adherence to inhaled long acting bronchodilators with corticosteroid in patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Design: A correlational predictive research. Methods: The sample consisted of 120 patients with COPD who received medical treatment at the outpatient department of a tertiary hospital. Data were collected by questionnaires including: Demographic, Medication Adherence Report Scale, Brief Illness Perception, The Confidence Ruler, Readiness to Change and Physician-Patient Communication Behaviors Scale. Data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression analysis. Main findings: According to the findings, the samples were males (95%) with a mean age of 68.95 years (SD = 9.33, Max = 88, Min = 48) and had adherence to inhaled long-acting bronchodilators with corticosteroid at 65.8%. Perception of disease control, medication taking confidence, readiness to take medication and patient-clinician communication were accounted for 53.8% of variance in explaining adherence to inhaled long-acting bronchodilators with corticosteroid in patients with chronic obstructive pulmonary disease (Nagelkerke R2 = .538). It was also found that medication taking confidence and readiness to take medication could predict inhaled therapy adherence in COPD (OR = 2.01, p < .05 and OR = 2.41, p < .05), respectively. Conclusion and recommendations: Nurses should give precedence to assess COPD patients’ readiness and confidence in using inhaled long-acting bronchodilators with corticosteroid and develop a nursing practice guideline to improve the readiness and confidence in taking these inhaled medications.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2560), 86-99en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25506
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.subjectความร่วมมือในการใช้ยาen_US
dc.subjectการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคen_US
dc.subjectความมั่นใจในการใช้ยาen_US
dc.subjectความพร้อมในการใช้ยาen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectThe Journal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Adherence to Inhaled Long Acting Bronchodilators with Corticosteroid in Patient with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/94212

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-doungrut-2560-2.pdf
Size:
211.93 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections