Publication: การสังเคราะห์งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของประเทศไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา(ในระหว่างปี พ.ศ. 2538 – 2547) โดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน
dc.contributor.author | บังอร เทพเทียน | en_US |
dc.contributor.author | วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี | en_US |
dc.contributor.author | สธญ ภู่คง | en_US |
dc.contributor.author | พันธุ์ทิพย์ รามสูต | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน. | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-06-26T04:22:05Z | |
dc.date.available | 2017-06-26T04:22:05Z | |
dc.date.created | 2017-06-26 | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ทางเพศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน (Meta Analysis) ซึ่งเป็นวิธีการทางสถิติมาสังเคราะห์ผลการวิจัย เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ สำหรับตัวแปรเกิดจากการนำผลการวิจยั แต่ละเรื่องมาบูรณาการกัน ทำให้ได้ ภาพรวมของปรากฎการณ์ แต่กรอบของการวิเคราะห์ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบทางเพศสัมพันธ์ (Sexual System Theory) ของอบรามสัน (Abramson P.R. 1983; 49–60 ) การปรับค่าความสัมพันธ์จากสถิติทั่วไปให้เป็นค่าขนาดอิทธิพลใช้สูตร ของกลาส และคณะ(Glass, McGaw and Smith, 1981) การวิเคราะห์เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าขนาดอิทธิพล จำแนกตามตัวแปรลักษณะงานวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์สองแบบคือ การวิเคราะห์เพื่อทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลระหว่างกลุ่มโดยใช้ t–test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์เพื่อ อธิบายความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพล จำแนกตามตัวแปรลักษณะงานวิจัยด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณมีจำนวน 67 รายงานการวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในครั้งนี้ ข้อค้นพบที่สำคัญในการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า การใช้สารเสพติด และการเปิดรับสื่อเรื่องเพศ มีค่าขนาดอิทธิพลกับพฤติกรรมทางเพศ ในภาพรวมเท่ากับ .85 และ .74 ซึ่งมีขนาดอิทธิพล ใหญ่กว่าปัจจัยด้านอื่นๆอย่างชัดเจน การวิจัยในเรื่องพฤติกรรมทางเพศยังเน้นการศึกษาในแนว KAP โดยมุ่งเน้น การวัดความรู้ ความรู้สึกและพฤติกรรมของบุคคลมากกว่าการศึกษา ในมิติของสังคมและวัฒนธรรมทั้งนี้มิติทางด้านสังคม และวัฒนธรรมมีความละเอียดอ่อน มีความสลับซับซ้อน จนไม่สามารถลดทอนมิติทางด้านสังคม และวัฒนธรรมออกมาเป็น ตัวแปรที่นำมาศึกษาในบริบทของการวิจัยในเชิงปริมาณได้ หากพิจารณาผลที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยในครั้งนี้ได้ ข้อสรุปที่ชัดเจนเพียงพอ แล้วหรือยังนั้นผู้วิจัยเห็นว่า ตราบใดที่ยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่จึงเห็นว่าต้นเหตุของปัญหายังไม่ได้ รับการแก้ไขปัญหาอย่างเพียงพอ การรณรงค์ที่ดำเนินการอยู่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถทำให้ หมดไปได้ จึงต้องมีการศึกษาในรายละเอียดทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมทางเพศเป็นเรื่อง ละเอียดอ่อน เป็นเรื่องของคน 2 คนที่อยู่ภายใต้บริบทของความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบต่างๆ เรื่องความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเรื่องของอารมณ์ ความปรารถนาความต้องการ เป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ดังนั้นจึงต้องศึกษาว่าภายใต้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมใดที่พฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ยังคงดำรงอยู่ได้ องค์ความรู้ในเรื่องเพศที่ได้จากการสังเคราะห์ในครั้งนี้ยังมีช่องว่างอยู่สถานะขององค์ความรู้ยังอยู่กับกรอบของการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี เป็นการผลิตองค์ความรู้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนเสี้ยวบนฐานความคิดของผู้ที่ผลิตองค์ความรู้ โดยไม่มีการเชื่อมโยงประเด็นของเพศ (Sex)เพศสภาพ (Gender) และเพศวิถี (Sexuality) เข้าด้วยกัน | en_US |
dc.description.abstract | The study aimed to synthesize social and behavior research finding on sexual behavior during 10 years (1994- 2003) by using Meta - analysis. Meta – analysis refers to the statistical integration of the results of sexual behavior. Independent variables were summarized and integrated from research literatures. The conceptual framework of the analysis modified from the sexual system theory of Abrason P.R. in 1983. The standard index of the effect size was calculated using the method proposed by Glass, McGaw and Smith in 1981. The t-test and one way analysis of variance were performed to test for difference of the effect size between the study factors. Regression analysis was used to investigate relationship between dependents variables (sexual relationship, risk sexual behavior) and independent variables (sample size, reliability and evaluation score). The 67 quantitative researches were included and the results were summarized as follows. 1. The effect size for sexual relations in consecutive order were substance use (.87), sexual media exposure (.85), socialization (.74), independence (.71), feeling-attitude (.65), environment (.58), knowledge-understanding (.53), family (.49), personal background (.48), skill-ability (.42), personality (.35) and social-culture (.05). The average of the effect size was .58 (SD=. 23, min=. 05, max=.87), calculated from 278 effect size values. The effect size for risk sexual behavior in consecutive order were substance use (.83), environment (.67), sexual media exposure (.63), skill-ability (.63), knowledge-understanding (.61), personality (.47), socialization (.42), independence (.42), feeling-attitude (.36), family (.36), personal background (.34) and socialculture (.03). The average of effect size was .46 (SD=.21, min=. 03, max =. 83), calculated from 203 effect size values. 2. The significant predictors were sample size and reliability of instrument. 3. The important findings indicated that the effect size of substance uses and sexual media exposure (.85 and .74) related to sexual behavior higher than other factors clearly. The reviewing of state of arts indicated that KAP largely remains the prime approaches of research that focused on individual knowledge, attitude and behavior rather than social and culture perspectives. The social-culture was too complexity to quantify. In consideration to synthesis of these findings, the research conclusion is still questionable and insufficient. I argued that the result was insufficiently to explain the real phenomenal because risk sexual behaviors are still going on in the society. The sexual behaviors related to two persons under context of social relationship include feeling, desire, need and gender power relationship. The state of the arts reveals that the knowledge limited to concept and theory depends on researcher. From the finding of this study there is still a gap in sexual knowledge as it base on the theories. The future study needs to explore that what social–culture context supports risk sexual behavior which still going on in Thai society. The sex, gender and sexuality should be included into analysis and future research. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (2549), 1-10 | en_US |
dc.identifier.issn | 1905-1387 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2163 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล. | en_US |
dc.rights.holder | สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน. มหาวิทยาลัยมหิดล. | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์อภิมาณ | en_US |
dc.subject | Meta-Analysis | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมทางเพศ | en_US |
dc.subject | Sexual Behavior | en_US |
dc.subject | เพศสภาพ | en_US |
dc.subject | Gender | en_US |
dc.subject | เพศวิถี | en_US |
dc.subject | Sexuality | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา | en_US |
dc.subject | Journal of Public Health and Development | en_US |
dc.title | การสังเคราะห์งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของประเทศไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา(ในระหว่างปี พ.ศ. 2538 – 2547) โดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |