Publication: นโยบายการค้าเสรี และผลกระทบต่อปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
Issued Date
2550
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล.
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล.
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 37, ฉบับที่ 2 (2550), 138-147
Suggested Citation
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, Nithat Sirichotiratana นโยบายการค้าเสรี และผลกระทบต่อปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 37, ฉบับที่ 2 (2550), 138-147. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2544
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
นโยบายการค้าเสรี และผลกระทบต่อปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
Alternative Title(s)
The impact of free trade agreements on alcohol consumption
Author(s)
Corresponding Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การค้าเสรีเป็นทิศทางใหม่ของระบบเศรษฐกิจของโลกบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การลดอุปสรรคของ การเคลื่อนที่ของสินค้าและบริการระหว่างประเทศจะทำให้สินค้าและบริการมีราคาถูกลง การแข่งขันจะเป็นธรรมมากขึ้นและผู้คนจะเข้าถึงสินค้าและบริการได้ดีชึ้น นักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้าได้จัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศด้วยจุดประสงค์ในการส่งเสริมการแพร่กระจายสินค้า นักวิจัยทางด้านการควบคุม การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของสนธิสัญญาเหล่านี้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่จะควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงแม้ข้อตกลงทางการค้าจะมีข้อยกเว้นอยู่บ้างสำหรับปกป้องสุขภาพของสาธารณะ แต่ข้อยกเว้นเหล่านั้นไม่ได้ผลเมื่อต้องเผชิญกับการโต้แย้งทางพันธะสัญญาของข้อตกลงทางการค้า เนื่องจากการตัดสินว่ามาตรการใดสำคัญกว่ากันจะถูกตัดสินโดยการใช้หลักการพื้นฐานของพันธะสัญญาตามข้อตกลงไม่ใช่หลักการพื้นฐานความสำคัญของนโยบายสาธารณะ กรอบอนุสัญญาการควบคุมการบริโภคยาสูบ (WHO Framework Convention on Tobacco Control-FCTC) เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับมาตรการสาธารณสุขนานาชาติในการควบคุมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยการเจรจาทางการค้าและข้อโต้แย้งว่าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่ใช่เครื่องอุปโภคบริโภคที่ธรรมดา มีความไม่แน่นอนว่าความขัดแย้งระหว่างกรอบอนุสัญญาการควบคุมการบริโภคยาสูบและข้อตกลงทางการค้าจะมีทางออกอย่างไร ซึ่งดูเหมือนว่าข้อตกลงทางการค้าจะมีเอกสิทธิ์เหนือข้อตกลงนานาชาติอื่น ๆ ดังนั้นทางออกที่ง่ายที่สุดก็คือ ยกเว้นการเจรจาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ออกจากการเจรจาการค้าในทุกระดับ เพราะเป็นสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ความยุ่งยากในการพิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างการค้าและสุขภาพลดลงไปอย่างมาก
Free trade is a new direction for economic systems, with the basic belief that reduction
of obstacles for free flowing of goods will result in fairer competition and easier access for affordable
products. Lawyers and trade experts craft international Free Trade Agreements (FTAs), with the
objective of increasing free flow of goods and services. But alcohol control researchers are worried
about the negative health effects from the FTAs. The effect of FTAs results in weakening of the
various effective alcohol control measures put in place by each country. Even though there are some
health exceptions in the FTAs, when there are conflicts between health and trade issues, trade
obligations take priority. The WHO Framework on Tobacco Control (FCTC) may be used as a model
for international alcohol control measure, with the argument that alcohol and tobacco are not common
commodities. Since it is not certain that FCTC would take priority over trade, the best solution is
to ensure alcohol and tobacco exemption from all FTAs.