Publication:
การติดตามประสิทธิภาพในระยะยาวของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

dc.contributor.authorภาวนา กีรติยุตวงศ์en_US
dc.contributor.authorสมจิต หนุเจริญกุลen_US
dc.contributor.authorPawana Keeratiyutawongen_US
dc.contributor.authorSomchit Hanucharurnkulen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2020-02-18T02:51:05Z
dc.date.available2020-02-18T02:51:05Z
dc.date.created2563-02-18
dc.date.issued2553
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในผู้ที่ เป็นเบาหวานเมื่อครบ 26 เดือน หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ และศึกษาสิ่งสนับสนุน อุปสรรค และ การบริการที่ต้องการจากเจ้าหน้าที่สุขภาพในการคงการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จำนวน 29 ราย เก็บข้อมูลโดยตอบแบบประเมินความรู้ กิจกรรมการดูแล ตนเอง และคุณภาพชีวิต รวมทั้งตรวจค่าน้ำตาลสะสม เมื่อครบ 26 เดือน หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มตัวอย่าง 8-10 คนต่อกลุ่มจำนวนจะได้รับการสนทนากลุ่ม (focus group) กลุ่มละ 2 ครั้ง บันทึกข้อมูลด้วยเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความแปรปรวน แบบวัดซ้ำทางเดียว โดยนำข้อมูลจากการวิจัยประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเอง ที่ประเมินก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วม 3 และ 6 เดือน มาร่วมวิเคราะห์ด้วย ข้อมูลจาก การสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ กิจกรรมการ ดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตเมื่อครบ 26 เดือน น้อยกว่า 3 เดือน และ 6 เดือน (p > .05, p < .05, p >.05 ตามลำดับ) และมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (p < .05, p > .05, p > .05 ตามลำดับ) และค่าน้ำตาลสะสม เมื่อครบ 26 เดือน มากกว่า 3 เดือน และ 6 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลจากการ สนทนากลุ่มพบว่าสิ่งสนับสนุนให้มีการจัดการดูแลตนเองต่อเนื่อง คือ การได้รับความรู้เกี่ยวกับ การดูแลตนเอง การควบคุมตนเอง และครอบครัว สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการดูแลตนเอง อย่างต่อเนื่อง คือ ความรับผิดชอบในเรื่องการงานและครอบครัว มีสถานการณ์ชีวิตอื่นแทรก และปัญหาการควบคุมตนเอง และกิจกรรมที่ต้องการจากเจ้าหน้าที่สุขภาพในการคงไว้ซึ่งการ ดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง คือ การจัดกิจกรรมการกระตุ้นเตือนทุก 3 เดือน ผลจากการศึกษานี้ ควรนำไปพัฒนารูปแบบโปรแกรมการกระตุ้นเตือน และนำไปใช้ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในระยะหลัง 6 เดือนขึ้นไป เพื่อช่วยให้กลุ่มตัวอย่าง คงการดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องต่อไปen_US
dc.description.abstractThe purpose of this study was to follow-up of the effectiveness of a selfmanagement program at 26 months after completing a self-management program. In addition, supporting factors, barriers, and need of services from health care providers to maintain their continuity of self-care management were explored. Twenty-nine persons with type 2 diabetes who had received the self-management program since 2004 were recruited in the study. Knowledge about diabetes, self-care activities, quality of life, and glycosylated haemoglobin (GHB) were assessed at 26 months after receiving the program in 2006. A focus group interview consisting of eight to ten participants per group were conducted and data were recorded by a tape-recorder. Each of the three groups was interviewed twice. The data from the self-management program at baseline, 3 months, and 6 months were included for analysis. One-way repeated measures analysis of variance were used to analyze quantitative data. Qualitative data from the focus group interview were analyzed using content analysis. The results revealed that the mean scores of knowledge about diabetes, self-care activities, and quality of life at 26 months were lower than those at 3 months and 6 months (p > .05, p < .05, p >.05, respectively), but higher than those at baseline (p < .05, p > .05, p > .05, respectively). The mean GHB at 26 months was significantly higher than that at 3 and 6 months (p < .05) and higher than that at baseline, but not statistically significant. Supporting factors to maintain their continuity of self-care management consisted of self-care knowledge, self-control, and support from family members. Barriers for maintaining self-care practices included work and family responsibilities, life events, and self-control difficulty. An encouraging program every 3 months for maintaining continuity of self-care management from health care providers are needed. Findings in this study suggest that an encouraging program should be implemented after a 6-month period in persons with type 2 diabetes who receive an intensive diabetes self-management program for maintaining continuity of self-care management in a long run.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 16, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2553), 293-308en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52429
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการติดตามผลen_US
dc.subjectการจัดการดูแลตนเองen_US
dc.subjectเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.subjectความรู้เกี่ยวกับเบาหวานen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectFollow-upen_US
dc.subjectSelf-managementen_US
dc.subjectType 2 diabetesen_US
dc.subjectKnowledge about diabetesen_US
dc.subjectQuality of lifeen_US
dc.titleการติดตามประสิทธิภาพในระยะยาวของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.title.alternativeA Long Term Follow-Up of the Effectiveness of a Self-Management Program in Persons with Type 2 Diabetesen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8980/7637

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-somchit-2553.pdf
Size:
375.79 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections