Publication: แบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนปลาย
dc.contributor.author | เมลดา อภัยรัตน์ | en_US |
dc.contributor.author | ดวงใจ มาลัย | en_US |
dc.contributor.author | เรวดี จงสุวัฒน์ | en_US |
dc.contributor.author | Duangjai Malai | en_US |
dc.contributor.author | Rewadee Chongsuwat | en_US |
dc.contributor.correspondence | ดวงใจ มาลัย | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยา | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-05-11T03:11:43Z | |
dc.date.accessioned | 2017-06-30T08:40:36Z | |
dc.date.available | 2015-05-11T03:11:43Z | |
dc.date.available | 2017-06-30T08:40:36Z | |
dc.date.created | 2558-05-11 | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกกษาแบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนปลาย รวมทั้งปริมาณน้ำตาลที่ได้รับจากเครื่องดื่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตร วท. บ (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 380 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความถี่ของอาหารบริโภคกึ่งปริมาณ ซึ่งมีรายการเครื่องดื่มทั้งหมด 56 รายการ และแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป การบริโภคเครื่องดื่ม ความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับน้ำตาล ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นบริโภคเครื่องดื่มในทุกช่วงเวลา โดยเครื่องดื่มที่นิยมดื่มมากที่สุดในแต่ละช่วงเวลาคือ มื้อเช้าดื่มนม มื้อกลางวันดื่มน้ำอัดลม มื้อเย็นดื่มนม ชนิดเครื่องดื่มที่บริโภคที่มีความถี่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ นมไขมันเต็มรสจืด นมไขมันต่ำรสจืด น้ำอัดลมชนิดโคล่า น้ำผักผลไม้รวม ร้อยละ 100 และนมเปรี้ยวปราศจากไขมัน วัยรุ่นได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 35.27 กรัม/วัน คิดเป็นร้อยละ 7.05 ของพลังงานรวมที่ควรได้รับ โดยเป็นน้ำตาลที่เติมลงในเครื่องดื่มเฉลี่ย 25.42 กรัม/วัน คิดเป็นร้อยละ 5.08 ของพลังงานรวมที่ควรได้รับ โดยน้ำตาลส่วนใหญ่มาจากการดื่มน้ำอัดลม ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลและน้ำตาลในเครื่องดื่มมีความสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณน้ำตาลที่ได้รับจากเครื่องดื่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสูง (r = -0.175, p-value < 0.01) ส่วนความตระหนักเกี่ยวกับน้ำตาลในเครื่องดื่มมีความสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณน้ำตาลที่ได้รับจากเครื่องดื่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสูง (r = -0.214, p-value < 0.01) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ยังมีแบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป ดังนั้นจึงควรมีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต The objectives of this survey research were to evaluate the beverage consumption patterns of adolescents and sugar content in the beverages. Three hundred eighty bachelor degree students (year 1-4), B.Sc. (Public Health) Program in academic year 2006, Faculty of Public Health, Mahidol University, were the sample. The 56-item semi-quantitative food frequency questionnaire (FFQ) was used to assess beverage consumption patterns. Other data were obtained by questionnaires about demographics, beverage consumption, knowledge and awareness about sugar. The results indicated that adolescents consumed at all periods of meal times. The most frequently consumed group of beverage in each meal time was milk in the morning, carbonated drinks in the afternoon and milk in the evening. The top 5 most frequently consumed type of beverage in descending order were: whole milk, non-fat milk, Cola-flavored carbonated drink, 100 % mixed vegetable and fruits juice, and non-fat drinking yogurt. The average of contained and added sugar content that the subjects obtained from beverage was 35.27 g/day or 7.05 % of the recommended amount (Thai RDI). The sugar contents came from natural and added source. The average of added sugar content obtained from beverage was 25.42 g/day, or 5.08 % of total appropriate energy, mostly from carbonated drinks. Knowledge of sugar consumption and sugar contained in beverage and awareness of sugar content obtained from beverage had a high significantly negative correlation to sugar content obtained from beverage (r = -0.175 and -0.214, p-value < 0.01). The study found that the students in Faculty of Public Health have inappropriate beverage consumption patterns, causing excessive consumption of sugar. Therefore, it is suggested that pattern of beverage consumption need to be changed to prevent and reduce future chronic diseases. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (2553), 150-160 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-1678 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2507 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | แบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ | en_US |
dc.subject | วัยรุ่นตอนปลาย | en_US |
dc.subject | น้ำตาล | en_US |
dc.subject | Non Alcoholic Beverage Consumption Patterns | en_US |
dc.subject | Late Adolescent | en_US |
dc.subject | Sugar | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | วารสารสาธารณสุขศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Public Health | en_US |
dc.title | แบบแผนการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนปลาย | en_US |
dc.title.alternative | Non-alcoholic beverage consumption patterns in late adolescent | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | http://www.ph.mahidol.ac.th/journal/40_2/file05.pdf |