Publication: แนวโน้มพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในสถานศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปี 2545-2547
Issued Date
2548
Resource Type
Language
tha
ISSN
1905-1387
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (2548), 9-22
Suggested Citation
สมศักดิ์ วงศาวาส, บังอร เทพเทียน, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์, ปรินดา ตาสี แนวโน้มพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในสถานศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปี 2545-2547. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (2548), 9-22. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2019
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
แนวโน้มพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในสถานศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปี 2545-2547
Advisor(s)
Other Contributor(s)
Abstract
สถานการณ์ด้านการระบาดของโรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องขบคิดในระดับนโยบายว่า มาตรการ
ป้องกันที่มีอยู่ เช่น โครงการรณรงค์ถุงยาง 100 เปอร์เซ็นต์ การให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
การศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการติด
ตามและประเมินภาวะความเสี่ยงของวัยรุ่นที่จะนำไปสู่การสร้างกลไกการป้องกัน ของประชาชนในวงกว้าง
การสุ่มตัวอย่างเลือกแบ่งตามโซนของเขตการศึกษา จำนวนตัวอย่างที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2545-2547 มีจำนวน
1,510,1,690 และ 2,234 คนตามลำดับ โดยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนอาชีวศึกษา ชั้นปีที่
2 ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยอายุของกลุ่มตัวอย่างในรอบ 3 ปี คือ 16.8 16.9 และ 16.8 ตามลำดับ
จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2547 พบว่านักเรียนร้อยละ 26.3 มีประสบการณ์ทางเพศแล้ว สัดส่วนของอายุ
เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก่อนอายุ 15 ปีมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2545 ประมาณ 2 เท่าในกลุ่มนักเรียนมัธยม
ศึกษาทั้งหญิงและชาย ระดับการการใช้ถุงยางอนามัยครั้งแรกยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ยกเว้นการมีเพศสัมพันธ์กับ
หญิงบริการทางเพศ แนวโน้มการใช้ถุงยางในรอบ 3 ปี ในกลุ่มนักเรียนหญิงเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 33-34 ในปี
พ.ศ. 2547 สำหรับนักเรียนชายทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 35-43 หากยังพบว่าการใช้ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด
ก็ยังอยู่ในระดับต่ำเช่นเดิม ประมาณหนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่าง ความสัมพันธ์แบบคู่รักที่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน
ปัจจัยทางชีวสังคมที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ในระดับสูงคือ นักเรียนอาชีวศึกษา เพศชายและเงิน
ค่าใช้จ่ายมากกว่า 2000 บาทต่อเดือน ปจั จัยเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์ คือ การเที่ยวสถานบริการ การเข้า
ร่วมปาร์ตี้ยาเสพติด การดูภาพปลุกเร้าจากอินเตอร์เนทหรือสื่ออื่น ๆ การใช้แอลกอฮอล์ บุหรี่และสารเสพ-
ติดอื่นๆ การใช้สารเสพติดเช่นแอลกอฮอล์ บุหรี่เพิ่มขึ้นในกลุ่มนักเรียนร้อยละ 70 และร้อยละ 25 ตามลำดับ
สำหรับการระบาดของยาบ้า เฮโรอีน โคเคน ยาอี กาว/ทินเนอร์มีแนวโน้มเพิ่ม ความเสี่ยงต่อการไม่ใช้ถุงยาง-
อนามัย เมื่อมีการใช้แอลกอฮอล์ในกลุ่มนักเรียนชายมัธยมและนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
ผลสรุปของการศึกษาพบว่าระดับการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มนักเรียนยังไม่ดีพอ การจัดระเบียบสังคมช่วยให้
ระดับการเที่ยวสถานบริการลดลง แต่พบว่าจะมีการพบปะในลักษณะของปาร์ตี้ยามากขึ้น การพบนัยสำคัญของ
ปัจจัยด้านชีวสังคม การเข้าถึงสื่อปลุกเร้า พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่นำไปสู่ความเสี่ยงสูงกว่าทางด้านพฤติกรรม
ทางเพศ ต้องมีการทบทวน หรือหายุทธวิธีใหม่ ๆ หรือเสริมความเช้มแข็งเพื่อให้เยาวชนไทยปลอดจาก
ความเสี่ยงที่มีความยั่งยืน