Publication:
เพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ : ศึกษาในเขตชนบทจังหวัดกาญจนบุรี

dc.contributor.authorพงษ์ศักดิ์ หมื่นศักดาen_US
dc.contributor.authorวาทินี บุญชะลักษีen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมen_US
dc.date.accessioned2014-08-27T05:04:00Z
dc.date.accessioned2017-10-25T09:27:19Z
dc.date.available2014-08-27T05:04:00Z
dc.date.available2017-10-25T09:27:19Z
dc.date.created2557-08-27
dc.date.issued2554-03
dc.description.abstractจากสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุมีอายุคาดเฉลี่ยที่ยืนยาว การมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ ก็น่าจะยืนยาวออกไปด้วยเช่นกัน การที่ผู้สูงอายุมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุได้แสดงว่าผู้สูงอายุยังมีสุขภาพแข็งแรง แต่การมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุนั้นมักถูกสังคมมองว่าไม่สมควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะค่านิยมในสังคมหรือวัฒนธรรม ดังนั้นเมื่อพูดถึงการมีเพศสัมพันธ์แล้ว คนมักจะนึกถึงเฉพาะแต่ในวัยหนุ่มสาว สำหรับประเทศไทยยังมีการศึกษาเรื่องนี้กันน้อยมาก วัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษารูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ รวมทั้งความคิดเห็นและความต้องการทางเพศของผู้สูงอายุเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุชายหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในเขตชนบท จำนวน 473 คน ใน 11 หมู่บ้าน 3 ตำบล ในอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรี ด้วยแบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์ระดับลึกผู้สูงอายุจำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา (Descriptive Statistic) เพื่ออธิบายรูปแบบของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ และใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ระดับลึกประกอบการอธิบาย ผลการวิเคราะห์ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรส 318 คนจากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 473 คน พบว่า หนึ่งในสามของผู้สูงอายุยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ เป็นผู้สูงอายุชายมากกว่าผู้สูงอายุหญิง การมีเพศสัมพันธ์และความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ของผู้สูงอายุที่ศึกษานั้น จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ เฉลี่ยแล้วมีเพศสัมพันธ์ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง โดยผู้สูงอายุชายมีความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์เฉลี่ยแล้วมากกว่าผู้สูงอายุหญิง และมีร้อยละความต้องการทางเพศบ่อยครั้งกว่าผู้สูงอายุหญิง ความคิด เห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ และความต้องการทางเพศ ในด้านของปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ผู้สูงอายุส่วนมากคิดว่าตนเองไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และในกลุ่มของผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์นั้น พบว่า ผู้สูงอายุชายมีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าผู้สูงอายุหญิง ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีหน่วย/ศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาของผู้สูงอายุที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ และควรรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนความคิดหรือทรรศนะเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงแก่บุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ลูกหลาน ครอบครัว ผู้ดูแล รวมทั้งตัวผู้สูงอายุเองให้เข้าใจ และยอมรับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุen_US
dc.identifier.citationวารสารประชากร. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (2554), 91-108.en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2955
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectเพศสัมพันธ์en_US
dc.titleเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ : ศึกษาในเขตชนบทจังหวัดกาญจนบุรีen_US
dc.title.alternativeAging and sexuality: a study in the rural areas of Kanchanaburi provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
pr-ar-wathinee-2554.pdf
Size:
828.65 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections