Publication:
การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่าตรง

dc.contributor.authorสุภาพร ทั้งสุขen_US
dc.contributor.authorประภา สดโคกกรวดen_US
dc.contributor.authorสุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐen_US
dc.contributor.authorสุเทพ ทั้งสุขen_US
dc.contributor.authorโยธิน คำแสงen_US
dc.contributor.authorจันทร์จิรา ชัชวาลาen_US
dc.contributor.authorนิชนันท์ เรืองวัฒนไพศาลen_US
dc.contributor.authorสมจิต ปานแดงen_US
dc.contributor.authorSupaporn Thungsuken_US
dc.contributor.authorPrapa Sodkokkruden_US
dc.contributor.authorSupaneewan Jaovisidhaen_US
dc.contributor.authorSuthep Thungsuken_US
dc.contributor.authorYothin Kumsangen_US
dc.contributor.authorJanjira Jatchavalaen_US
dc.contributor.authorNichanun Ruangwattanapaisarnen_US
dc.contributor.authorSomchit Pandangen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชารังสีวิทยาen_US
dc.contributor.otherสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. กลุ่มงานรังสีวิทยาen_US
dc.date.accessioned2022-09-21T06:38:05Z
dc.date.available2022-09-21T06:38:05Z
dc.date.created2565-09-21
dc.date.issued2559
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่าตรง และนำมาเปรียบเทียบกับการศึกษาอื่นๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพารามิเตอร์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสี วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี ที่มารับการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่าตรง ในระยะเวลา 1 เดือน โดยปริมาณรังสีที่ผิวจะถูกคำนวณจาก X-ray beam output และค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยเด็กแต่ละราย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงของหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี 2 แห่ง คือ National Radiological Protection Board (NRPB) ของประเทศอังกฤษ และ European Commission (EC) ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 100 ราย แบ่งตามช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงน้อยกว่า 1 ปี, อายุ 1 ถึงน้อยกว่า 5 ปี, อายุ 5 ถึงน้อยกว่า 10 ปี และอายุ 10 ถึงน้อยกว่า 15 ปี พบว่า ปริมาณรังสีที่ผิวเฉลี่ย คือ 70.53 microgray (uGy), 73.25 uGy, 67.62 uGy และ 70.15 uGy ตามลำดับ โดยกลุ่มเด็กแรกเกิดถึงน้อยกว่า 1 ปี และอายุ 1 ถึงน้อยกว่า 5 ปี มีปริมาณรังสีที่ผิวเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มอายุ 5 ถึงน้อยกว่า 10 ปี และอายุ 10 ถึงน้อยกว่า 15 ปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ NRPB และ EC แล้วพบว่าเด็กแรกเกิดถึงน้อยกว่า 1 ปี และอายุ 1 ถึงน้อยกว่า 5 ปี ได้รับปริมาณรังสีที่ผิวสูงกว่าค่าอ้างอิงของ NRPB แต่น้อยกว่าค่าอ้างอิงของ EC ส่วนในเด็กอายุ 5 ถึงน้อยกว่า 10 ปี และอายุ 10 ถึงน้อยกว่า 15 ปี มีค่าปริมาณรังสีที่ผิวอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าอ้างอิงของทั้งสองแห่ง สรุป: ปริมาณรังสีที่ผิวของผู้ป่วยเด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึงน้อยกว่า 1 ปี มากกว่าค่าอ้างอิงของบางหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี จึงควรมีการปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ให้เหมาะสม และการถ่ายภาพทางรังสีในผู้ป่วยเด็กควรจะเปิดลำรังสีให้ครอบคลุมเฉพาะส่วนที่ต้องการ และมีการป้องกันอันตรายจากรังสีด้วยการใช้แผ่นตะกั่วปิดบังในส่วนของอวัยวะตั้งแต่ช่องท้องลงมาen_US
dc.description.abstractObjective: To evaluate quantity of the radiation dose to skin (entrance surface air Kerma (ESAK)) expose to children underwent anteroposterior (APZ) and posteroanterior (PA) chest radiography compared with the other reference values in order to make a proper parameter adjustment. Material & Methods: Data was collected in chidren below 15 years old who underwent AP or PA chest radiography during one-month of studied period. The radiation dose to skin was calculated from the X-ray beam output and the parameters used in each patient and then compared with the reference values provided by the two institutes taking care of the radiation safety. the National Radiological Protection Board (NRPB) of England and the European Commission (EC). along with the previous studies. Result: Total of 100 patients were included. Age groups were infants (<1 year). 1 -< 5.5 < 10 and 10 - 15 years. The average radiation skin dose was 70.53 microgray (µGy, 67.62 µGy and 70.15 µGy in the 4 age groups, respectively. The infants and children aged 1 -< 5 years received more radiation skin dose than the two older groups. Infants and children aged 1 - < 5 years received more radiation skin dose than the reference values of the NRPB but less than those of the EC. On the other hand, children aged 5 - < 10 and 10 - < 15 years received less ratiation skin dose than those of both the NRPB and EC. When compared with the previous studies in other countries: infants received more radiation skin dose whereas other older age groups did less. Conclusion: The infants and children aged 1 - < 5 years received more radiation skin dose than the reference values provided by the NRPB and the EC. The infants also received more radiation skin dose than those in other countries when compared to previous studies. This result designates that the radiation technicians have to adjust parameters properly to reduce the radiation skin dose to the infants in particular, and in the children aged 1 - < 5 years old.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2559), 55-61en_US
dc.identifier.issn0125-3611 (Print)
dc.identifier.issn2651-0561 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79598
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderกลุ่มงานรังสีวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีen_US
dc.subjectปริมาณรังสีen_US
dc.subjectผู้ป่วยเด็กen_US
dc.subjectภาพรังสีทรวงอกen_US
dc.subjectRadiation doseen_US
dc.subjectPediatricen_US
dc.subjectChest radiographyen_US
dc.titleการประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยเด็กได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่าตรงen_US
dc.title.alternativeEvaluation of Radiation Skin Dose in Pediatric Chest Radiographyen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/57603/47723

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-supaporn-2559.pdf
Size:
1.9 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections