Publication:
ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด

dc.contributor.authorศิวพร ถือชาติen_US
dc.contributor.authorอุษาวดี อัศดรวิเศษen_US
dc.contributor.authorวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุลen_US
dc.contributor.authorอัฐพร ตระการสง่าen_US
dc.contributor.authorSiwaporn Thucharten_US
dc.contributor.authorUsavadee Asdornwiseden_US
dc.contributor.authorWanpen Pinyopasakulen_US
dc.contributor.authorAuttaporn Trakarnsangaen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาศัลยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2019-11-29T08:13:26Z
dc.date.available2019-11-29T08:13:26Z
dc.date.created2562-11-29
dc.date.issued2562
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการศึกษา) วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 62 ราย เป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดช่องท้องแบบเปิด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มละ 31 คน โดยทำการศึกษาในกลุ่มควบคุมก่อน และตามด้วยกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความวิตกกังวล Visual Analog Scale–Anxiety (VAS-A) และโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องผ่านสื่อวีดิทัศน์ ผู้วิจัยทำการประเมินระดับความวิตกกังวลก่อนและหลังได้รับข้อมูล ในวันก่อนการผ่าตัดและในวันผ่าตัดในห้องรอผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U Test และ Wilcoxon Signed-Rank Test ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยมีคะแนนความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในวันผ่าตัดในห้องรอผ่าตัด หรือระยะหลังการศึกษาครั้งที่ 2 (p = .017) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองพบว่า ทันทีภายหลังที่ได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย หรือระยะหลังการศึกษาครั้งที่ 1 ผู้ป่วยมีคะแนนความวิตกกังวลลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยสามารถลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมนี้มาใช้เพื่อลดระดับความวิตกกังวลในระยะก่อนผ่าตัดen_US
dc.description.abstractPurpose: The aim of this study was to study the effects of concrete-objective information program on preoperative anxiety in abdominal surgery patients. Design: A quasi-experimental research (two group pre-posttest design). Methods: The sample consisted of 62 preoperative abdominal surgery patients. They were divided into two groups, the experimental and control groups. Thirty-one participants were included in each group. The experimental group was received the concrete-objective information via video and usual nursing care while the control group was received only usual nursing care. Data were collected using a demographic data record form and Visual Analog Scale–Anxiety (VAS-A) assessment form. The patients’ anxiety was assessed before receiving the program and twice after the program (immediately and on the day of surgery in the waiting room). Data were analyzed using Mann-Whitney U Test and Wilcoxon Signed-Rank Test statistical package. Main findings: The results showed that on the day of surgery in the waiting room (posttest 2) patients who received a concrete–objective information via video had statistically lower mean scores of anxiety than those who received usual nursing care (p = .017). In addition, the anxiety mean scores in the experimental group immediately after receiving the program (posttest 1) was statistically lower than that before receiving the program (p = .001). Conclusions and recommendations: Concrete-objective information program could reduce pre-operative anxiety in abdominal surgery patients. This program should be used to decrease the anxiety level during pre-operative period.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 37, ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2562), 78-91en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48252
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectข้อมูลen_US
dc.subjectการผ่าตัดen_US
dc.subjectวีดิทัศน์en_US
dc.subjectanxietyen_US
dc.subjectinformationen_US
dc.subjectsurgeryen_US
dc.subjectvideoen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดen_US
dc.title.alternativeThe Effects of Concrete-Objective Information Program on Pre-operative Anxiety in Abdominal Surgery Patientsen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/192756/134389

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-usavadee-2562.pdf
Size:
777.46 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections