Publication:
การพัฒนาแบบวัดการควบคุมตนเองของมารดาในระยะคลอด

dc.contributor.authorศรีสมร ภูมนสกุล
dc.contributor.authorภาวนา พรหมเนรมิต
dc.contributor.authorวาธิณี วงศาโรจน์
dc.contributor.authorสายลม เกิดประเสริฐ
dc.contributor.authorSrisamorn Phumonsakul
dc.contributor.authorPawana Promneramit
dc.contributor.authorWatinee Wongsaros
dc.contributor.authorSailom Gerdprasert
dc.date.accessioned2025-04-09T02:41:20Z
dc.date.available2025-04-09T02:41:20Z
dc.date.created2568-04-09
dc.date.issued2567
dc.description.abstractการควบคุมตนเองในระยะคลอดเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ประสบการณ์การคลอดและส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ดีของการตั้งครรภ์ แต่ในประเทศไทยยังขาดเครื่องมือที่จะสามารถประเมินการควบคุมตนเองของมารดาในระยะคลอดได้โดยตรง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการควบคุมตนเองของมารดาในระยะคลอดและตรวจสอบคุณสมบัติทางด้านจิตมิติของแบบวัด พัฒนาข้อคำถามจากการทบทวนวรรณกรรม โดยสร้างข้อคำถามที่สะท้อนควาหมายขององค์ประกอบที่สกัดจากงานวิจัยที่เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ข้อคำถามเบื้องต้นจำนวน 40 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดปกติครบกำหนดในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอดที่อายุมากกว่า 18 ปี สามารถอ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทย จำนวน 364 ราย เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ความตรงและความเที่ยงเชิงโครงเสร้างเพื่อยืนยันองค์ประกอบ (second-order confirmatory factor analysis) ด้วยโปรแกรมลิสเรลผลการศึกษาพบว่า จากการสกัดองค์ประกอบทำให้ได้ข้อคำถามจำนวน 21 ข้อ ที่สะท้อน 5 องค์ประกอบคือ 1) การตัดสินใจด้วยตนเอง 2)การเคารพตนเองและการเคารพผู้อื่น 3) สัมพันธภาพกับผู้อื่นในระหว่างการคลอด 4) ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และ 5) การขาดการควบคุมตนเอง มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งด้านความตรงทางด้านเนื้อหา ความตรงเชิงสภาวะสันนิษฐานหรือความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงสู่สมบูรณ์ และความตรงเชิงจำแนกในระดับที่ดีและยอมรับได้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของการควบคุมตนเองในระยะคลอดมีนัยสำคัญทางสถิติโดยแต่ละองค์ประกอบมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคที่สะท้อนความสอดคล้องภายในได้ดี และแบบวัดทั้งฉบับมีค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาคค่อนข้างสูง อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้สำหรับแบบวัดที่สร้างขึ้นใหม่ และมีความเที่ยงเชิงโครงสร้างทั้งในรายองค์ประกอบและแบบวัดทั้งฉบับอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งแบบวัดการควบคุมตนเองในระยะคลอดนี้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของการพยาบาลมารดาในระยะคลอดได้ต่อไป
dc.description.abstractSelf-control during childbirth is part of the perception of the birth experience and affects good pregnancy outcomes. However, in Thailand, there is still a lack of instruments that could directly assess the maternal sense of control during childbirth. This study aimed to develop the Maternal Sense of Control Scale during Childbirth and examine its psychometric properties. The instrument’s items were developed from a literature review and created to reflect the meaning of the components extracted from qualitative research. Initially, 40 items were reviewed by five experts for content validity. The sample consisted of 364 normal postpartum mothers over 18 years old who could read, write, and understand Thai. The data were collected by having the sample complete the questionnaire themselves. The validity and construct reliability were analyzed to confirm the components (second-order confirmatory factor analysis) using the LISREL program. The results of the study revealed that from the component extraction, 21 items were obtained, reflecting five components: 1) selfdetermination,2) self-respect and respect for others, 3) attachment, 4) childbirth knowledge, and 5) lack of self-control. It passed the criteria of content validity, construct validity, convergent validity, and discriminant validity at reasonable and acceptable levels and consistent with empirical data. The factor loadings of the components of maternal sense of control during childbirth were statistically significant. Each component had a Cronbach’s alpha coefficient that reflects good internal consistency. The entire scale had a relatively high Cronbach’s alpha coefficient,which was acceptable for a newly constructed scale. The structural reliability of both components and the whole scale was sufficient. This Maternal Sense of Control Scale during Childbirth can be used to research and improve the quality of nursing care for mothers during labor.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 30, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2567), 279-295
dc.identifier.issn2822-1370 (Print)
dc.identifier.issn2822-1389 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109390
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rights.holderกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี
dc.subjectระยะคลอด
dc.subjectการควบคุมตนเองของมารดา
dc.subjectการพัฒนาแบบวัด
dc.subjectChildbirth
dc.subjectMaternal sense of control
dc.subjectScale development
dc.titleการพัฒนาแบบวัดการควบคุมตนเองของมารดาในระยะคลอด
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/270328/185485
oaire.citation.endPage295
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage279
oaire.citation.volume30
oaire.versionAccepted Manuscript
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
oairecerif.author.affiliationองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี. กองสาธารณสุข

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ra-ar-srisamor-2567.pdf
Size:
4.78 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections