Publication: แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลทารก: การวิเคราะห์ข้อคำถาม
dc.contributor.author | ทัศนี ประสบกิตติคุณ | en_US |
dc.contributor.author | Tassanee Prasopkittikun | en_US |
dc.contributor.author | ฟองคำ ติลกสกุลชัย | en_US |
dc.contributor.author | Fongcum Tilokskulchai | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-01-25T08:55:00Z | |
dc.date.available | 2018-01-25T08:55:00Z | |
dc.date.created | 2018-01-25 | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลทารกได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะของตนเองและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทารกเป็นกรอบแนวคิด จากการศึกษาที่ผ่านมาการทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามในเบื้องต้นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงข้อคำถามและทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามฉบับปรับปรุงด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อคำถาม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเครื่องมือวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย: การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตรคลอดครบกำหนดวัยทารก และพาบุตรมารับภูมิคุ้มกันโรคที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร จำนวน 235 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาค ผลการวิจัย: จำนวนข้อคำถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 61.36) ของแบบสอบถามมีคะแนนเฉลี่ยรายข้อสูงกว่า 70 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.41 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อที่อยู่ในเกณฑ์ดี คือ ระหว่าง 0.30 ถึง 0.70 มีจำนวน 834 คู่จาก 946 คู่ (ร้อยละ 88.16) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับผลรวมคะแนนของข้อที่เหลืออยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดโดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.46 ถึง 0.73 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของแบบสอบถาม แต่ละด้านกับคะแนนของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าสูงมากเกินไป คือ ระหว่าง 0.81 ถึง 0.91 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ทั้งฉบับมีค่าสูงถึง 0.96 สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรมีการปรับเนื้อหาของข้อคำถามที่มีคะแนนเฉลี่ยรายข้อสูงมาก ด้วยการกำหนดเงื่อนไขที่ท้าทายความสามารถมากขึ้นในการทำกิจกรรมที่กำหนด | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: The Self-efficacy in Infant Care Scale (SICS) was developed using self-efficacy theory and literature related to infant care as a framework for tool development. In a previous study, primary psychometric properties of the SICS were acceptable. The purpose of this study was to revise the question items and determine psychometric properties of the revised SICS using item analysis. Design: A survey design with qualitative interviewing. Methods: Through convenience sampling, the sample finally consisted of 235 mothers with full-term infants who received immunizations at Samutsakorn Hospital. Data were collected using interviewing and one self-administered questionnaire. Descriptive statistics, Pearson’ s product moment correlation coefficients, and Cronbach’ s alpha coefficient were used for the data analysis. Main findings: Most (61.36%) of the items had item means > 70, when possible maximum scores were 100. An average of inter-item correlations was 0.41 for the total scale. Examination of the correlation matrix revealed that 834 of the 946 correlations (88.16%) were within a good range of 0.30 to .70. The corrected item-to-total scale correlations met the criterion level by ranging from 0.46 to 0.73. The subscale-total scale correlations were too high with a range from 0.81 to 0.91. The reliability of the entire scale was 0.96. Conclusion and recommendations: The findings suggest that the items with high item means should be revised by adding more task difficulty so that the mothers’ capabilities will be challenged. | en_US |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนวิจัยจากเงินกองทุน ซี.เอ็ม.บี. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2554), 43-51 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3384 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การดูแลทารก | en_US |
dc.subject | การรับรู้สมรรถนะของตนเอง | en_US |
dc.subject | การพัฒนาเครื่องมือวิจัย | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์ข้อคำถาม | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.title | แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลทารก: การวิเคราะห์ข้อคำถาม | en_US |
dc.title.alternative | The Self-efficacy in Infant Care Scale: An Item Analysis | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/2790 |