Publication: ผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกาลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วง ต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น
dc.contributor.author | ฉัตรลดา ภาวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | จตุพร ติคัมรัมย์ | en_US |
dc.contributor.author | กิตติพงศ์ พูลชอบ | en_US |
dc.contributor.author | ไถ้ออน ชินธเนศ | en_US |
dc.contributor.author | เมตตา ปิ่นทอง | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2014-08-25T09:51:03Z | |
dc.date.accessioned | 2017-03-21T07:32:04Z | |
dc.date.available | 2014-08-25T09:51:03Z | |
dc.date.available | 2017-03-21T07:32:04Z | |
dc.date.created | 2014-07-25 | |
dc.date.issued | 2011-07 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกำลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น โดยเปรียบเทียบระหว่างท่านั่ง และท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา ในกลุ่มอาสาสมัครชายที่มีสุขภาพดี อายุ 20.2 ± 0.8 ปี จำนวน11 คน ภายหลังการออกกำลังกายบนลู่วิ่งตามโปรแกรมที่ระดับความหนัก-เบาเป็นช่วงๆ (นาน 45 นาที) จากนั้นพักฟื้นระหว่างท่านั่งหรือท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา เป็นเวลา 15 นาที หลังจากการพักฟื้นภายหลังออกกำลังกายทำการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยการปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูงสุด หนักเบาเป็นช่วงๆ จำนวน 6 รอบ อาสาสมัครกลุ่มเดิมได้รับการวัดซ้ำห่างกันอย่างน้อย 1อาทิตย์ บันทึกค่าอุณหภูมิแกนทางทวารหนักและอัตราการเต้นของหัวใจทุก 1 นาที ตลอดช่วงการออกกำลังกายและการพัก อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องในวันที่ทำการทดสอบแต่ละครั้งไม่แตกต่างกัน (ท่านั่ง: 25.09 ± 0.12 องศาเซลเซียส, 49.05 ± 1.83 เปอร์เซ็นต์ และท่านอนหงายยกขาสูง 45 องศา: 24.98 ± 0.14 องศาเซลเซียส, 47.24 ± 1.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการออกกำลังกายบนลู่วิ่ง ค่าของอุณหภูมิแกนไม่แตกต่างกัน (ท่านั่ง: 38.73 ± 0.16 องศาเซลเซียส และท่านอน 38.72 ± 0.13องศาเซลเซียส) แต่การพักฟื้นด้วยท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา ส่งผลให้อุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง ในนาทีที่ 15 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 2) อัตราการเต้นของหัวใจทันทีที่หยุดการออกกำลังกายไม่แตกต่างกันระหว่างท่านั่ง (177 ± 2.7 ครั้ง/นาที) และท่านอหงายยกขาสูง (179 ± 2.8 ครั้ง/นาที) 3). ภายหลังจากการพักฟื้น 15 นาที พบว่าการพักฟื้นในท่านอนหงายยกขาสูงส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง (88 ± 3.2 ครั้ง/นาที) มากกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง (98 ± 3.53 ครั้ง/นาที) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 4) ท่าทางในการพักฟื้นไม่มีผลต่อค่ากำลังสูงสุดเฉลี่ย สรุปว่าการพักฟื้นด้วยท่านอนหงายยกขาสูง 45 องศา มีผลช่วยในการลดอุณหภูมิแกนของร่างกายและลดการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดในขณะพักฟื้นได้ดีกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง แต่ท่าทางในการพักฟื้นไม่มีผลต่อสมรรถนะทางกาย ผลของท่าทางในระยะพักฟื้นทีมีต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจอาจเป็นผลมาจากการระดับกระตุ้นบาโรรีเซบเตอร์ที่แตกต่างกัน | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, (ก.ค. 2554), 221-229 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1451 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาแห่งประเทศไทย (สวกท) | en_US |
dc.rights.holder | Sports Science Society of Thailand (SSST) | |
dc.subject | อุณหภูมิแกนของร่างกาย | en_US |
dc.subject | การออกกาลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วง | en_US |
dc.subject | ท่าทางในการพักฟื้น | en_US |
dc.subject | สมรรถนะของร่างกาย | en_US |
dc.subject | Open Access article | |
dc.subject | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา | |
dc.subject | Journal of Sports Science and Technology | |
dc.title | ผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกาลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วง ต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |