Publication: ประสิทธิภาพของสารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสในการป้องกันลูกน้ำยุงลายในภาชนะบรรจุน้ำใช้
Issued Date
2551
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 3 (2551), 376-384
Suggested Citation
ขวัญทวี มั่งมีทองอยู่, นัยนา บุญทวียุวัฒน์, Naiyana Boontaveeyuwat ประสิทธิภาพของสารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสในการป้องกันลูกน้ำยุงลายในภาชนะบรรจุน้ำใช้. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 3 (2551), 376-384. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2516
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ประสิทธิภาพของสารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสในการป้องกันลูกน้ำยุงลายในภาชนะบรรจุน้ำใช้
Alternative Title(s)
Efficiency of zeolite temephos on mosquito larvae control in water-use containers
Corresponding Author(s)
Abstract
ในตำบลห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี อาสาสมัครสาธารณสุขมีบทบาทในการป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย โดยใช้สารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสที่ได้รับจากสถานีอนามัย แต่ลูกน้ำยุงก็ยังพบในภาชนะบรรจุน้ำใช้อยู่เสมอ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความถูกต้องในการใช้สารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 30 คน ศึกษาปริมาณการใช้น้ำของครัวเรือนจำนวน 79 หลังคาเรือนและศึกษาประสิทธิภาพของสารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะบรรจุน้ำใช้ ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขใช้สัดส่วนปริมาณสารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสต่อปริมาตรน้ำไม่ถูกต้อง ครัวเรือนในหมู่บ้านที่ศึกษาใช้ภาชนะบรรจุน้ำใช้ 2 ขนาด คือ 130 ลิตร และ 1,500-2,000 ลิตร จากการสำรวจปริมาณการใช้น้ำ พบว่าภาชนะขนาด 130 ลิตร มีการใช้เฉลี่ยในช่วงเช้า-กลางวัน- เย็น ร้อยละ 30-11-41 ของปริมาตรภาชนะ ส่วนภาชนะขนาด 1,500-2,000 ลิตรมีการใช้ร้อยละ 4-1-5 ของปริมาตรภาชนะตามลำดับ ผลการทดลองการใช้สารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสในภาชนะทดลองขนาด 20 ลิตรที่ใส่ลูกน้ำจำนวน 30 ตัว พบว่าลูกน้ำตายภายใน 24 ชั่งโมง การติดตามลูกน้ำเกิดใหม่ทุกวันในภาชนะทดลองที่ตักน้ำออกและเติมน้ำเข้าในสัดส่วนปริมาตรที่เท่ากับปริมาณน้ำใช้ พบว่า ในภาชนะน้ำใช้ 130 ลิตร และ 1,500-2,000 ลิตร จะป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลายใหม่ได้ 4 สัปดาห์ และ 10 สัปดาห์ ในขณะที่ภาชนะควบคุม จะป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลายใหม่ได้ 14 สัปดาห์ ดังนั้น ประสิทธิภาพของสารซีโอไลท์เคลือบทีมีฟอสในภาชนะที่ใช้น้ำต่อปริมาตรมากจะป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลายได้ในช่วงระยะเวลาสั้นกว่า
In Huaykamin District, Nong khae Subprovince, Saraburi Province, Thailand, health volunteers
are responsible for Aedes mosquito larvae control by applying Zeolite Temephos as a larvicide offered from Huaykamin Health Center. However, larvae are always found in household water-use containers. This study aims to investigate the larvicide use correction of 30 health volunteers. Daily household water-use volume was surveyed in 79 households. Lasting efficiency of Zeolite Temephos on mosquito larvae control in the water-use container was experimented. The results showed that the health volunteers incorrectly practice the larvicide proportional use by container sizes. Two household water-use container sizes, 130, 1,500-2,000 L observed in the community. The average proportion of daily household water use in a period of morning-midday-evening is 30-11-41 and 4-1-5% of 130 L and 1,500-2,000 L containers. The trail test of Zeolite Temephos treatment in 20 L experimental containers filled with tap water with 30 larvae showed 100% mortality within 24 hours. Follow-up was performed daily to observe larvae in the containers which removed water out and filled water up in the same volume as water use proportion time period in a day. The result of experiment showed that the larvicide residue prevented larvae recurrence by 4 wks and 10 wks in the containers simulated with water-use volume as 130 L and 1,500-2,000 L containers while that by 14 wks in the control containers. It is concluded that the higher percent of daily water use volume, the shorter is the lasting efficiency of Zeolite Temephos.