Publication: การเปรียบเทียบความมีชีวิตของเซลล์ไฟโบรบลาสในน้ำยาแช่ฟันเดนท์ น้ำยาแฮงคส์บาลาสซอลท์ น้ำนม น้ำ และน้ำเกลือ
Accepted Date
2014-10-07
Issued Date
2014-01
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-5614 (printed)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
ศิริพร ทิมปาวัฒน์, สุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์, ราชพร สีจันทร์. การเปรียบเทียบความมีชีวิตของเซลล์ไฟโบรบลาสในน้ำยาแช่ฟันเดนท์ น้ำยาแฮงคส์บาลาสซอลท์ น้ำนม น้ำ และน้ำเกลือ. ว ทันต มหิดล. 2557; 34(1): 46-54.
Suggested Citation
Siriporn Timpawat, ศิริพร ทิมปาวัฒน์, Suwanna Korsuwannawong, สุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์, Ratchaporn Srichan, ราชพร สีจันทร์ การเปรียบเทียบความมีชีวิตของเซลล์ไฟโบรบลาสในน้ำยาแช่ฟันเดนท์ น้ำยาแฮงคส์บาลาสซอลท์ น้ำนม น้ำ และน้ำเกลือ. ศิริพร ทิมปาวัฒน์, สุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์, ราชพร สีจันทร์. การเปรียบเทียบความมีชีวิตของเซลล์ไฟโบรบลาสในน้ำยาแช่ฟันเดนท์ น้ำยาแฮงคส์บาลาสซอลท์ น้ำนม น้ำ และน้ำเกลือ. ว ทันต มหิดล. 2557; 34(1): 46-54.. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1131
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การเปรียบเทียบความมีชีวิตของเซลล์ไฟโบรบลาสในน้ำยาแช่ฟันเดนท์ น้ำยาแฮงคส์บาลาสซอลท์ น้ำนม น้ำ และน้ำเกลือ
Alternative Title(s)
Comparison of dent-teeth saver, milk, water, NSS and HBSS on viability of PDL cells.
Corresponding Author(s)
Abstract
บทนำ: การเลือกชนิดของน้ำยาแช่ฟันที่เกิดอุบัติเหตุหลุดออกจากเบ้าฟัน เพื่อทำให้เซลล์ของเอ็ดยึดปริทันต์คงสภาพเดิมอยู่ได้ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จในการนำฟันกลับเข้าสู่เบ้าฟัน เนื่องจากทำให้เซลล์เอ็นยึดปริทันต์คงสภาพเดิม หรือฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วที่สุดและป้องกันไม่ให้เซลล์ละลายรากฟัน
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของน้ำยาแช่ฟัน 4 ชนิด คืดน้ำยาแช่ฟันเดนท์ (Dent-teeth- saver) น้ำนม น้ำ น้ำเกลือ โดยใช้น้ำยาแฮงคส์บาลาสซอลท์เป็นกลุ่มควบคุม เพื่อรักษาสภาพของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์เมื่อแช่นาน 40 และ 90 นาที ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: ใช้เซลล์เอ็นยึดปริทันต์ ที่เพาะเลี้ยงจนได้เซลล์ปฐมภูมิรุ่นที่ 4 จำนวนเซลล์ 2×10 เซลล์ นำมาเพาะเลี้ยง ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีฟีทัลโบวายซีรั่มร้อยละ 10 และนำมาเพาะเลี้ยงต่อที่ 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ร้อยละ 100 ภายใต้บรรยากาศของคาร์บอนไดออกไซค์ร้อยละ 5 และอากาศร้อยละ 95 หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 24 ชั่งโมง จึงนำเซลล์มาทดสอบ 3 ครั้ง แต่ละครั้งทดสอบที่ 40 และ 90 นาที ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และ 4 องศาเซลเซียส การวัดความมีชีวิตของเซลล์ใช้วิธี เอ็มทีที
ผลการทดลอง: ที่สภาวะอุณหภูมิห้องที่ 37 องศาเซลเซียส และ 4 องศาเซลเซียส เมื่อทดสอบที่ 40 นาที น้ำยาแช่ฟันเดนท์ ให้ค่าร้อยละความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ 109.77± 1.04 และ 117.50 ±3.35 น้ำนมให้ค่าร้อยละความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ 103.35±1.26 และ 116.56±2.23 น้ำให้ค่าร้อยละความชีวิตของเซลล์เท่ากับ 70.11±1.16 และ83.12±1.60 น้ำเกลือให้ค่าร้อยละความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ 101.95±1.76 และ 104.65±1.40 และเมื่อทดสอบที่ 90 นาที น้ำยาแช่ฟันเดนท์ ให้ค่าร้อยละความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ103.27±1.05 และ 112.57 ±1.03 น้ำนมให้ค่าร้อยละความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ 99.70±1.05 และ 107.14±1.80 น้ำให้ค่าร้อยล่ะความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ 76.19±3.05 และ80.85±2.19 น้ำเกลือให้ค่าร้อยละความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ 98.21±1.83 และ 108.57±1.78
บทสรุป: การทดลองครั้งนี้พบว่าน้ำยาแช่ฟันเดนท์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละของเซลล์ที่มีชีวิตมากกว่าน้ำและน้ำเกลืออย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และให้ประสิทธิภาพดีกว่าแฮงคส์บาลาสซอลท์ ดังนั้นน้ำยาแช่ฟันเดนท์ที่ผลิตโดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีเกลือแร่สูงเป็นน้ำยาที่สามารถนำมาใช้แช่ฟันที่หลุดจากเบ้าฟันได้เป็นอย่างดี โดยที่แช่ในอุณหภูมิห้อง (37 องศาเซลเซียส) ได้นาน 40 และ 90 นาที
Introduction: The choice of storage medium for preserving traumatically avulsed teeth is important for the success of future replantation. This is essential in order to quickly repopulate the denuded root surface by periodontal ligament cells and prevent osteoclasts from attaching to this area. Objective: The objectives of this study were to evaluate the effectiveness of four different media: Dent-Teeth Saver, milk, water, Normal Saline (NSS) and Hank Balanced Salt Solution (HBSS), to preserve cultured periodontal ligament fibroblasts (PDL) in the extra-alveolar period of 40 and 90 min. Materials and Methods: The fourth passage of PDL were used and the 2×104 cells of PDL in 10%FBS of DMEM were seeded in 96 well-plate, then incubated under standard cell culture conditions (in 37°C, 100% humidity, 5% CO2 , 95 % air). After incubation for 24 hrs. the storage media were applied. Each storage medium was tested 3 times at 2 different times: 40 min and 90 min. and at room temperature (37 °C) and 4°C. The MTT assay was used to determine cell viability. Results: Result of percentage of cell viability were as follow: Dent-Teeth Saver at Room Temperature and 4°C for 40 min were 109.77±1.04% and 117.5 ±3.35%, respectively and at 90 min were 103.27±1.05% and 112.57±1.03%. Milk at room temperature and 4°C for 40 min were 103.35±1.26 % and 116.56 ±2.23% and at 90 min were 99.70±1.05% and 107.14±1.80%. Water at 37°C (Room Temperature) and 4°C for 40 min were 70.11±1.160% and 83.12±1.60% and at 90 min were 76.19±3.05% and 80.85±2.191%. NSS at Room Temperature and 4°C for 40 min were 101.95±1.760% and 104.68±1.40% and at 90 min were 98.21±1.83% and 108.57 ±1.78% respectively. Conclusions: The result showed that the storage medium of Dent-Teeth Saver could presense PDL similar HBSS and better than milk, water or NSS (p< 0.05). The Dent-Teeth Saver which produced by the Faculty of Dentistry Mahidol University with a rich preservation of minerals can be used as a storage medium for avulsed teeth at Room Temperature for 40 min and 90 min.
Introduction: The choice of storage medium for preserving traumatically avulsed teeth is important for the success of future replantation. This is essential in order to quickly repopulate the denuded root surface by periodontal ligament cells and prevent osteoclasts from attaching to this area. Objective: The objectives of this study were to evaluate the effectiveness of four different media: Dent-Teeth Saver, milk, water, Normal Saline (NSS) and Hank Balanced Salt Solution (HBSS), to preserve cultured periodontal ligament fibroblasts (PDL) in the extra-alveolar period of 40 and 90 min. Materials and Methods: The fourth passage of PDL were used and the 2×104 cells of PDL in 10%FBS of DMEM were seeded in 96 well-plate, then incubated under standard cell culture conditions (in 37°C, 100% humidity, 5% CO2 , 95 % air). After incubation for 24 hrs. the storage media were applied. Each storage medium was tested 3 times at 2 different times: 40 min and 90 min. and at room temperature (37 °C) and 4°C. The MTT assay was used to determine cell viability. Results: Result of percentage of cell viability were as follow: Dent-Teeth Saver at Room Temperature and 4°C for 40 min were 109.77±1.04% and 117.5 ±3.35%, respectively and at 90 min were 103.27±1.05% and 112.57±1.03%. Milk at room temperature and 4°C for 40 min were 103.35±1.26 % and 116.56 ±2.23% and at 90 min were 99.70±1.05% and 107.14±1.80%. Water at 37°C (Room Temperature) and 4°C for 40 min were 70.11±1.160% and 83.12±1.60% and at 90 min were 76.19±3.05% and 80.85±2.191%. NSS at Room Temperature and 4°C for 40 min were 101.95±1.760% and 104.68±1.40% and at 90 min were 98.21±1.83% and 108.57 ±1.78% respectively. Conclusions: The result showed that the storage medium of Dent-Teeth Saver could presense PDL similar HBSS and better than milk, water or NSS (p< 0.05). The Dent-Teeth Saver which produced by the Faculty of Dentistry Mahidol University with a rich preservation of minerals can be used as a storage medium for avulsed teeth at Room Temperature for 40 min and 90 min.