DT-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/39

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 165
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาดูงานของบุคลากรและนักศึกษาแลกเปลี่ยนระยะสั้น ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) ศิญาภัสร์ ปิยะศักดิ์พิชญา; วศิน กิจวิสาละ; ณัฐชานันท์ ฉายอุไร; Siyaphat Piyasakphitchaya; Wasin Kijvisala; Natchanun Chaiurai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. งานสื่อสารองค์กร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. หน่วยวิเทศสัมพันธ์
    การวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาดูงานของบุคลากรและนักศึกษาแลกเปลี่ยนระยะสั้น ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการ ให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความคาดหวังของนักศึกษาต่างชาติ รวมทั้งเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นเลิศในด้านพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากบุคลากรและนักศึกษาแลกเปลี่ยนระยะสั้น โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์แบบสอบถามโดยใช้โปรแกรม SPSS เพื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 87 คน จากจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด 122 ฉบับ (คิดเป็น 71.31 %) ประกอบไปด้วยเพศหญิง จำนวน 46 คน (คิดเป็น 52.9 %) และเพศชาย จำนวน 41 คน (คิดเป็น 47.1 %) มีระดับความคิดเห็นในด้านภาพลักษณ์ของคณะ ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด 4.52 รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมของสถานที่ศึกษาในหลักสูตร ค่าเฉลี่ย 4.49 อยู่ในระดับมาก ด้านภาพลักษณ์ของคณาจารย์และบุคลากรหลักสูตร ค่าเฉลี่ย 4.40 อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดด้านภาพลักษณ์ของหลักสูตร ค่าเฉลี่ย 4.34 อยู่ในระดับมาก
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การวิเคราะห์ต้นทุนวัสดุทันตกรรม Lab ทางทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากเทียม ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) พิมลพรรณ ตัวงาม; อรุณรัตน์ ธรรมวะสา; พีรพงษ์ ตัวงาม; Pimonpan Tua-Ngam; Arunrut Tumvasa; Peerapong Tua-Ngam; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. งานแผนและงบประมาณ สำนักงานยุทธศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. งานประยุกต์ผลงานวิจัย สำนักงานการวิจัย
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนในการรักษาทางทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้นทุนเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มรายการวัสดุทันตกรรม ค่าบริการจากห้องปฏิบัติงาน ทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากฟันเทียม ซึ่งมีความสำคัญและเป็นข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ การศึกษานี้เป็นการใช้ข้อมูลจากระบบ DT-ERP มาทาการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาลักษณะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโดยวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายระหว่างปี 2558–2561 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จัดกลุ่มความสัมพันธ์ในรูปแบบร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การรักษาทางทันตกรรมกลุ่มรายการวัสดุทันตกรรม Lab ทางทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากเทียม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี จากการสรุปจะพบว่า การรักษาทางทันตกรรม กลุ่มรายการวัสดุทันตกรรม วัสดุจากห้องปฏิบัติงานทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากฟันเทียม ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องการเปิดการขยายการให้บริการทางทันตกรรมที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความเชื่อมั่นของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาทางทันตกรรมภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) มณฑิชา ชัยชะนะมงคล; จีรพร แปงเครื่อง; Monticha Chaichanamongko; Jeeraporn Pangkrueng; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. สำนักงานยุทธศาสตร์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เข้าร่วมกิจกรรมงานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จานวนทั้งหมด 335 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามจานวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 93.13 การศึกษานี้ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (ค่าเฉลี่ย 4.26) ด้านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.19) ด้านสิ่งอานวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย 4.17) ด้านรูปแบบการจัดแสดงผลงาน (ค่าเฉลี่ย 4.16) และด้านกระบวนการและขั้นตอน (ค่าเฉลี่ย 4.13) ตามลาดับ ดังนั้นความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในระดับมากทุกด้าน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    แนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
    (2565) เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์; Chertchavee Kittikulphan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว
    บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอกระบวนการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเห็นได้จากผู้บริหารในหลายองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจาวันและชีวิตการทางานมากขึ้น เพื่อให้การดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น รวมถึงลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับงานบางประเภท ดังนั้นทุกองค์กรจึงจาเป็นต้องมีทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานร่วมกับทรัพยากรอื่น ๆ ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงต้องมีวิสัยทัศน์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับทรัพยากรอื่น เพื่อควบคุมทรัพยากรภายในองค์กรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด มนุษย์ หรือ คน เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าต่อองค์กร ผู้บริหารจึงต้องคานึงถึงกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ กระบวนการดังกล่าวจึงควรเริ่มจากการคัดเลือกบุคคลเข้าทางาน ทบทวนหน้าที่และความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับคนและสอดคล้องกับตำแหน่งงานรวมถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน พัฒนาความรู้และทักษะของบุคคลให้เพิ่มมากขึ้น รักษาบุคคลที่มีศักยภาพให้อยู่กับองค์กรได้อย่างยั่งยืนโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการปกครอง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและผู้บริหาร และยังเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับองค์กรอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2565) ศิริลักษณ์ ชนะพันชัย; เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์; พรรัตน์ บุญเพ็ชร; กมลทิพย์ จิตรอำพัน; Sirilug Chanapanchai; Chertchavee Kittikulphan; Pornrat Boonpetch; Kamontip Jitoumpan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาเภสัชวิทยา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและเปรียบเทียบความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศำสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวนทั้งสิ้น 69 คน โดยกำหนดตัวอย่างขนาด 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ความเชื่อถือของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.928 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบของ Mann-Whitney U test และการทดสอบของ Kruskal–Wallis test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่ำเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบูรณาการทำงสังคมหรือการทำงานร่วมกัน (𝑥̅ = 3.94, S.D. = 0.60) รองลงมา คือ ด้านลักษณะของงาน (𝑥̅ = 3.85, S.D. = 0.49) ด้านโอกาสในการพัฒนานำศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า (𝑥̅ = 3.70, S.D. = 0.63) และด้านความสมดุลของชีวิตการทำงาน (𝑥̅ = 3.51, S.D. = 0.58) ตามลำดับ ส่วนด้านเงินเดือน/สวัสดิการ อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.25, S.D. = 0.67) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และสังกัดในการทำงานปัจจุบัน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานในด้านลักษณะของงาน ด้านเงินเดือน/สวัสดิการ ด้านโอกาสในการพัฒนานำศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลของชีวิตการทำงาน และภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีรายได้ต่อเดือน และประเภทของบุคลากร แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานในด้านเงินเดือน/สวัสดิการ และด้านโอกาสการพัฒนานำศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Assessment of Dental Professional Attitudes Regarding Antimicrobial Usage and Resistance Awareness
    (2020) Pichaya Rochanadumrongkul; Sittipong Chaimanakarn; Natee Nonpassopon; Kanyapak Maipoom; Sirikan Janwattanavej; Kodchaphon Naksanit; Saowalak Narachit; Mahidol University. Faculty of Dentistry. Maha Chakri Sirindhorn Dental Hospital
    This study aimed to assess dentists’ attitudes towards, and awareness of, antimicrobial usage and antimicrobial resistance, in order to promote rational usage of antimicrobials in the future. This was a cross-sectional questionnaire survey. The questionnaire contained closed-ended and open-ended questions, which covered antimicrobial resistance, and was distributed to dentists in Mahidol Dental Hospital. The data were collected, tabulated and statistically analyzed. Content analysis was applied for open-ended questions. The results were categorized in terms of answer frequency, which allowed assessment of a subject’s comprehension of the theme of the study. The majority of the participants were aged 25-30 years old (78.9%) with 0-5 years work experience (69.2%). Most participants in the present survey were oral and maxillofacial surgery specialists (88.9%) and the data of different participants’ attitudes towards antimicrobial resistance and recommendations for solutions to combat this growing problem were presented. Our study provides an important insight in to the attitudes towards and awareness of antimicrobial resistance among dentists in the dental hospital. The majority of the participants viewed antimicrobial resistance as a preventable public problem, if appropriate strategies were to be designed. Nonetheless, most of them held some misconceptions regarding antimicrobial resistance, and their knowledge and attitudes significantly varied across their field of study. Thus, improving knowledge, consequences and strategies to control antimicrobial resistance might be an approach to better dentists’ attitudes and to rationalize their use of antimicrobials in the hospital.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษาความพึงพอใจต่อการบริการ กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) นัทธ์หทัย อุบล; ศศิธร บรรจงรัตน์; Nuthathai Ubol; Sasithorn Banjongrat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาตร์. สำนักงานการวิจัย
    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการ กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้เสนอขอรับการพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ในปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 68 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้เสนอขอรับการพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มีระดับความพึงพอใจในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 โดยในด้านการบริการมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ด้านความสามารถในงานมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 ด้านขั้นตอนการให้บริการมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านการบริการ และด้านความสามารถในงาน ระหว่างเพศและสถานภาพไม่แตกต่างกัน (p>0.05)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำ หรือของมีคมบาด ในนักศึกษาทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) วรัญญา เขยตุ้ย; วลัยพร จันทร์เอี่ยม; ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล; อภิสรา ทานัน; Warunya Kheytui; Walaiporn Janaiem; Sarunya Natthasetsakul; Apisara Tanan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. หน่วยบริหารความเสี่ยง
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตา หรือของมีคมบาดในนักศึกษาทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ระดับชั้นปีที่ 4-6 จานวน 328 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.30 มีอายุเฉลี่ย 24.42 ปี เป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ร้อยละ 34.10 เคยได้รับอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาด ร้อยละ 28.40 สถานที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่คลินิกกลาง ร้อยละ 55.40 การทำหัตถการทางทันตกรรมที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ มือไปโดนหัวกรอที่มีความแหลมคม ร้อยละ 36.97 หัตถการขูดหินปูนขัดฟัน ร้อยละ 21.53 หัตถการรักษาคลองรากฟัน ร้อยละ 13.95 และชนิดของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ หัวกรอ (Bur) ร้อยละ 36.79 เครื่องมือขูดหินปูน ร้อยละ 21.53 และเข็ม Irrigation syringe ร้อยละ 13.95 ลักษณะการใช้งานของเข็มหรือของมีคมที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในขณะทำหัตถการผู้ป่วย ร้อยละ 50.00 โดยเข็มหรือของมีคมชนิดนั้นเปื้อนเลือดผู้ป่วย ร้อยละ 32.14 นักศึกษาทันตแพทย์ทราบขั้นตอนการปฏิบัติหลังเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 79.10 และไม่แจ้งตามขั้นตอนการปฏิบัติภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 56.00 นักศึกษาทันตแพทย์เคยได้รับความรู้หรือการอบรมในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการได้รับอุบัติเหตุ ร้อยละ 73.80 จากการจัดอบรมของหน่วยงานสังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร้อยละ 31.10 ตามลาดับ สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรอยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบในการทำหัตถการที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติงานทางทันต กรรม 2) ด้านอุปกรณ์ในการทิ้งเข็มและของมีคม และ 3) ด้านแสงสว่างในการปฏิบัติงานซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดในนักศึกษาทันตแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนาต้นแบบระบบบริหารงานบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) ทัชพงษ์ ปิ่นแก้ว; Tachpong Pinkeaw; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาตร์. หน่วยพัฒนาระบบสารสนเทศ งานข้อมูลสารสนเทศ
    จากที่งานเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีปัญหางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นจำนวนมาก ประกอบกับระบบการรวบรวมปัญหายังไม่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลถึงความพึงพอใจไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ หน่วยพัฒนาระบบสารสนเทศได้พัฒนาระบบขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการข้อมูลการให้บริการของงานข้อมูลและสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศสาหรับบันทึกและติดตามการให้บริการของงานข้อมูลและสารสนเทศ ขั้นตอนในการวิจัยใช้วิธีการของวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle) และพัฒนาระบบในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชั่น ด้วยภาษา ASP.NET(C#) โดยใช้ Microsoft Visual Studio 2010 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ โดยใช้ฐานข้อมูล SQL Server 2008 สาหรับจัดการฐานข้อมูล จากผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญ มีให้ความเห็นต่อประสิทธิภาพระบบเฉลี่ยระดับค่ารวมเท่ากับ 3.93 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 สรุปผลได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีระดับประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่ในระดับดี สามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้จริง
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    แสงสว่างสำหรับห้องเรียนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) วิทยา แหลมทอง; Wittaya Lamthong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. งานกายภาพและสิ่งแวดล้อม
    งานวิจัยนี้ศึกษาค่าปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งานในห้องเรียนภายใต้แสงประดิษฐ์ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบหรือปรับแสงสว่างในห้องเรียน โดยใช้วิธีการสำรวจเก็บข้อมูลจากห้องเรียนต่าง ๆ ภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแบ่งประเภทห้องเรียนในการสำรวจออกเป็น 3 ขนาด ตามความจุของห้อง คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยศึกษาเก็บข้อมูลสำรวจดังนี้ ลักษณะทางกายภาพของห้องเรียน ชนิดของหลอดไฟ ตำแหน่งดวงโคม ลักษณะการใช้งานห้องเรียน และค่าปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน แล้วนาผลค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานแสงสว่างในปัจจุบัน จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณแสงสว่างภายในห้องเรียนทั้ง 3 ขนาด ที่ได้จากการสำรวจ ค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่างของแสงประดิษฐ์และแสงธรรมชาติ โดยห้องเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่าง 656.06 Lux ห้องเรียนขนาดกลางมีค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่าง 739 Lux และห้องเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่าง 389.66 Lux ซึ่งทุกห้องเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานแสงสว่างของสมาคมแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA) โดยมีเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลสาหรับห้องเรียนอยู่ที่ 300 Lux แต่ในการใช้งานห้องเรียนจริง อาจมีการใช้เครื่องฉายภาพ ทำให้จำเป็นต้องควบคุมปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นจอภาพได้อย่างสบายตา สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้เมื่อมีการฉายจอภาพ ดังนั้นการออกแบบแสงสว่างในห้องเรียนควรคำนึงถึงตำแหน่งการวางผังโคมไฟและการออกแบบการเปิด-ปิดโคมไฟ ต้องมีการแบ่งผังไฟในส่วนของบริเวณการสอนออกจากผังไฟรวม เพื่อที่จะทำให้ควบคุมปริมาณแสงสว่างในการเรียนการสอนได้ ความสูงของฝ้าเพดาน หากสูงเกินไปทาให้ต้องออกแบบจำนวนดวงโคมมากขึ้นเพื่อให้ปริมาณแสงสว่างเพียงพอตามมาตรฐาน และในห้องเรียนที่มีพื้นที่จำกัดความสูงของฝ้าเพดาน ควรคำนึงถึงหลักการออกแบบค่าความส่องสว่างภายในห้องเรียน เพื่อไม่ให้มีค่าการส่องสว่างมากเกินมาตรฐานจนเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองการใช้พลังงานไฟฟ้าและเป็นภาระในการบำรุงรักษาในอนาคต
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) ศิริลักษณ์ ชนะพันชัย; กาญจนา เหล่ารอด; สกาวทิพย์ สหทรัพย์เจริญ; Sirilug Chanapanchai; Kanchana Lao-rod; Skawtip Sahasupcharoen; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญา ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญา ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 62 คน ตัวอย่างขนาด 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และผ่านการทดลองใช้กับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ชั้นปี 6 จำนวน 10 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยได้ค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-test) การทดสอบเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการสำเร็จของนักศึกษา และด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาอยู่ในระดับมาก โดยด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ และด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการสำเร็จของนักศึกษา และด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอนมีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศมีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p<0.05) ส่วนอายุ สาขาที่ศึกษาต่อ หลักสูตรที่ศึกษาต่อ สังกัดในการทำงานปัจจุบัน และประสบการณ์ในการทำงาน มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p>0.05)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การทบทวนวรรณกรรมเรื่องผลของยาสูบไร้ควันต่อสุขภาพ
    (2557) วรนัติ วีระประดิษฐ์; สิริบังอร พิบูลนิยม; วรานันท์ บัวจีบ; กนกพร สุทธิสัณหกุล; วิกุล วิสาลเสสถ์; Woranut Weerapradist; Siribang-on Pibooniyom; Waranun Buajeeb; Kanokporn Suttisunhakul; Wikul Visalseth; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.); กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. กองทันตสาธารณสุข
    ยาสูบไร้ควัน เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ปราศจากการเผาไหม้ ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในต่างประเทศ จึงมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยาสูบไร้ควันอย่างกว้างขวาง สาหรับการศึกษาในครั้ง นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับยาสูบไร้ควันต่อสุขภาพ โดยรวบรวมจากตำราและวารสารวิชาการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2554 ได้จำแนกผลการศึกษาออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในยาสูบไร้ควัน 2) ผลของยาสูบไร้ควันต่อสุขภาพ 3) ผลของยาสูบไร้ควันต่อสาธารณสุข และ 4) บทบาทของสาธารณสุขต่อยาสูบไร้ควัน ผลการศึกษา พบว่านิโคตินและสารก่อมะเร็งที่มีในยาสูบไร้ควันก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ รอยโรคในช่อง ปาก โรคเหงือกร่นและการสูญเสียการยึด แต่สาหรับโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ โรคมะเร็งหลอด เอาหาร และมะเร็งตับอ่อน ยังมีหลักฐานที่ค่อนข้างจำกัดในการสนับสนุนถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ทัศนคติและความคาดหวังของบุคลากรภายในคณะต่อการปฏิบัติงานของหน่วยอำนวยการและเลขานุการผู้บริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2562) ศศิธร นิลเลิศ; วชิราวรรณ พรพิมลเทพ; พีรพงษ์ ตัวงาม; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. สำนักงานคณบดี
    เลขานุการผู้บริหารเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในแต่ละองค์กร เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ต้องประสานงานกันระหว่างผู้บริหารที่เป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์กรไปยังตัวผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร การศึกษาถึงทัศนคติและความคาดหวังของบุคลากรภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาใช้บริการภายในหน่วยอำนวยการและเลขานุการผู้บริหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์แบบสอบถามโดยใช้โปรแกรม SPSS ตั้งเกณฑ์ทัศนคติและความคาดหวังจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดโดยใช้ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 300 คน มีทัศนคติความคิดเห็นด้านสารบรรณ ด้านการต้อนรับและการนัดหมาย ด้านการประสานงาน/การติดต่อทางโทรศัพท์ ด้านการสร้างภาพลักษณ์ในระดับพึงพอใจและความคาดหวังอยู่ในระดับมากทั้งหมด (ค่าเฉลี่ยน 3.51-4.50)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    แนวทางการพัฒนาการให้บริการด้านข้อมูลและบริการอื่นของ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ภาควิชาวิทยาระบบคดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2560) เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์; Chertchavee Kittikulphan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้องและชัดเจน ความสะดวกรวดเร็วในการได้รับข้อมูลหรือบริการจากผู้ให้บริการ ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ ด้านผู้รับบริการ ด้านสภาพแวดล้อมและความพร้อมของอุปกรณ์ในการติดต่องาน รวมทั้งศึกษาข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางพัฒนาการให้บริการข้อมูลและบริการอื่นของผู้ให้บริการ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ติดต่อขอข้อมูลหรือรับบริการ จำนวน 514 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ สถิติทดสอบแบบเอฟ (F – test) ค่าความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (LSD) ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 71.80 ช่วงอายุที่มารับบริการมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 20 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 79.40 กว่าร้อยละ 92 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ากว่า ร้อยละ 78 มีอาชีพเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานบริการของผู้ให้บริการอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย( ¯x ) ความพึงพอใจอยู่ระหว่าง 3.68 – 4.08 โดยเฉพาะความสะอาดเรียบร้อยบริเวณที่มาติดต่องาน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.08 ± 0.68) ส่วนการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พูดจาสุภาพ และให้บริการด้วยความยิ้มแย้มของผู้ให้บริการพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด (¯x = 3.68 ± 0.89) จากการวิจัยพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นนักศึกษาทันตแพทย์มีความพึงพอใจในการได้รับบริการแตกต่างจากเจ้าหน้าที่ภายในและบุคลากรภายนอกส่วนงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อแบ่งตามระดับการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาส่วนใหญ่จะมีความพึงพอใจในการได้รับบริการแตกต่างจากผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ด้านสภาพแวดล้อมและความพร้อมของอุปกรณ์ในการติดต่องานกลับพบว่า กลุ่มประชากรและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาจากช่วงอายุกลับพบว่า ช่วงอายุที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการแตกต่างกันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรและระดับการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่มีช่วงอายุระหว่าง 41 – 50 ปี
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2559) จุฑาภรณ์ คำโยค; วลัยพร ราชคมน์; วรัญญา เขยตุ้ย; Chuthaporn Khamyok; Walaiporn Ratchakom; Warunya Kheytui; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. หน่วยบริหารความเสี่ยง
    การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้มารับบริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บข้อมูลจากผู้มารับบริการทันตกรรมจาก 9 คลินิกภายในโรงพยาบาลทันตกรรม ในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2557 จำนวน 440 ราย โดยศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการสอบถามหรือนัดหมายทางโทรศัพท์ ด้านการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ ด้านการบริการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ด้านระยะเวลาในการรอตรวจ ด้านการบริการของผู้ช่วยทันตแพทย์ ด้านการบริการของทันตแพทย์ ด้านการรักษาความลับ และการดูแลสุขภาพช่องปากหลังการรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลการรับบริการทางทันตกรรม ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจต่อการให้บริการ และส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่าผู้มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมละรายด้านทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมากโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสถานที่ (¯x = 4.43, SD = 0.65) รองลงมาคือ ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากหลังการรักษา (¯x = 4.29, SD = 0.57) ด้านการตอบรับจากเจ้าหน้าที่ (¯x = 4.28, SD = 0.65) ด้านการบริการของทันตแพทย์ (¯x = 4.27, SD = 0.52) ด้านการรักษาความลับ (¯x = 4.23, SD = 0.65) ด้านการบริการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ (¯x = 4.19, SD = 0.66) ด้านการบริการของผู้ช่วยทันตแพทย์ (¯x = 4.18, SD = 0.62) ด้านการสอบถามหรือนัดหมายทางโทรศัพท์ (¯x = 4.11, SD = 0.73) และด้านระยะเวลาในการรอตรวจ (¯x = 3.93, SD = 0.82) ตามลำดับ การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อระบบความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย พบว่า ผู้รับบริการที่มีเพศชายมีความพึงพอใจมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.16) สำหรับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และสิทธิการรักษา มีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่แตกต่างกัน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์
    (2559) พชร รุทระกาญจน์; พีรพงษ์ ตัวงาม; Pachara Rudrakanjana; Peerapong Tua-Ngam; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. งานประยุกต์ผลงานวิจัย
    วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาระยะเวลาการเก็บที่เหมาะสมของสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ที่ยังสามารถนำมาทำ Calibration Curve ได้จาก Expandable Ion Analyzer EA 940 โดยเตรียมจากสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ความเข้มข้น 100 ppm โดยปกติการเตรียมสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์สำหรับค่า Calibration Curve จะต้องเตรียมใหม่เสมอ ทุกครั้งที่เตรียม Calibration Curve ทำให้เกิดปัญหาการสิ้นเปลืองทั้งสารเคมีและเวลาในช่วงการเตรียมสารมาตรฐานฟลูออไรด์มี่ความเข้มข้นต่าง ๆ สำหรับทำ Calibration Curve ในกรณีที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา ตัวอย่างความเข้มข้นของปริมาณฟลูออไรด์ 0.1 1.0 และ 10.0 ppm ซึ่งเก็บในตู้เย็น 4 องศาเซลเซียส นำมาวัดปริมาณฟลูออไรด์ในแต่ละสัปดาห์จนครบ 9 สัปดาห์ วิเคราะห์ปริมาณฟลูออไรด์ออกมาทุกตัวอย่างด้วย Expandable Ion Analyzer EA 940 โดยทำการเตรียมสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ขึ้นใหม่ทุกครั้งที่ทำการ Calibration Curve เครื่อง วัดปริมาณฟลูออไรด์จากตัวอย่างที่เก็บไว้ บันทึกค่าไว้ เพื่อหาค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์ จากนั้นทำการวัดปริมาณฟลูออไรด์ซ้ำในทุกสัปดาห์จนครบกำหนด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS Version 16 ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 0.1, 1.0 และ 10.0 ppm ในสภาวะอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน พบว่าเมื่อวัดปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์ตั้งแต่ตั้งต้น จนถึงสัปดาห์ที่ 9 ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ทั้ง 3 ค่า (0.1, 1.0 และ 10.0 ppm) เมื่อดูจากค่า Mean ± SD พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 1 ถึงสัปดาห์ที่ 4 และจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในสัปดาห์ที่ 5 และ 9 ของความเข้มข้นฟลูออไรด์ที่ 10.0 ppm โดยมีค่า Mean ± SD เท่ากับ 10.94 ± .055 และ 10.78 ± .045 ตามลำดับ บทสรุป ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบค่าความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ 0.1, 1.0 และ 10.0 ppm พบว่าเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย และกราฟพบว่าค่าในช่วงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ในสภาวะอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะนำใช้ในการสร้าง Calibration Curve เพื่อการวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบที่ควรต้องควบคุมปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วม โครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2559) นันธิดา ทีฆภาคย์วิศิษฏ์; จินดานนท์ ศิริรัตน์; สุภาภรณ์ นักฟ้อน; Nantida Teekapakvisit; Jindanon Sirirattana; Suphaphorn Nakfon; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์.งานทรัพยากรบุคคล
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) ระดับความพึงพอใจต่อการลงทะเบียนในระบบออรไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษษครั้งนี้คือ บุคลากรสังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เคยลงทะเบียนในระบบออนไลน์เพื่อเข้าอบรมโครงการที่หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลจัดในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 106 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของ Taro Yamané ผู้วิจัยได้แบบสอบถามคืน 96 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.56 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ 3 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และด้านการใช้งานอุปกรณ์เข้าถึงระบบสารสนเทศ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Window ในการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ อายุงาน ประเภทการจ้าง สังกัด และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน พบว่าไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมแตกต่างกัน แต่ปัจจัยอื่น ๆ ในด้านจำนวนชั่วโมงที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อวันที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Sig. = 0.018) ส่วนบุคลากรมีระดับความพึงพอใจต่อการลงทะเบียนออนไลน์เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ (¯x = 4.12, SD = 0.74) รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (¯x = 3.90, SD = 0.83) และด้านการใช้งานอุปกรณ์เข้าถึงระบบสารสนเทศ (¯x = 3.60, SD = 0.94) ตามลำดับ
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย กรณีศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2559) พัชรนินท์ ธนทรัพย์บุรโชติ; ศศิธร สำราญจิต; Patchatanin Thanasapburachot; Sasithorn Samranchit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. สำนักงานการวิจัย
    การวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการเก็บรวมรวมข้อมูลและวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของอาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางศึกษาผลสำเร็จในกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย และตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของบุคลากร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารในการวางแฟนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย ดังนั้นการสำรวจความพึงพอใจในครั้งนี้จึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยดำเนินการเก็บข้อมูลความพึงพอใจจากกลุ่มประชากร จำนวน 277 คน พบว่าร้อยละ 58.1 ของอาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือโดยการให้ความคิดเห็นในการสำรวจความพึงพอใจเป็นมาตรส่วนประมาณ 5 ค่า ระบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) จากแบบสอบถาม และพบว่าระดับความพึงพอใจของแต่ละหัวข้อมีดังนี้ การวางแผนการจัดเก็บข้อมูลวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 3.28 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจต่อกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คะแนนเฉลี่ย 3.15 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โอการในการพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย คะแนนเฉลี่ย 3.74 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก การเผยแพร่ข้อมูลด้านการวิจัย คะแนนเฉลี่ย 3.35 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง จากภาพรวมทุกหัวข้อการประเมินระดับความพึงพอใจได้คะแนนเฉลี่ย 3.45 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาพบว่า ตำแหน่งทางวิชาการของสายวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ส่งผลต่อตัวแปรด้านการวางแผนการจัดเก็บข้อมูลวิจัยของ คณะทันตแพทยศาสตร์ ความพึงพอใจต่อกระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย และโอกาสในการพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัยอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p< 0.05)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ทัศนคติของบุคลากรสายสนับสนุนที่มีต่อระบบการรักษาความปลอดภัยของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2559) วชิราวรรณ พรพิมลเทพ; Wachirawan Ponpimontep; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์.
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาทัศนคติของบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท ต่อระบบการรักษาความปลอดภัยของบุคลากรในด้านต่าง ๆ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 300 คน ประกอบด้วยเพศหญิง จำนวน 241 คน คิดเป็น 80.3 % และเพศชาย จำนวน 59 คน คิดเป็น 19.7 % มีระดับความคิดเห็นด้านความรู้สึกปลอดภัยในสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในอาคารของคณะทันตแพทยศาสตร์ในระดับมากทั้งหมด ระดับความรู้สึกปลอดภัยด้านการจราจรและบุคลากรที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานจราจรของคณะทันตแพทยศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง และมาก และด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยของคณะทันตแพทยศาสตร์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และดี
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนาโปรแกรม RE Management เพื่อการจัดการฐานข้อมูลเครื่องมือ/อุปกรณ์วิจัย
    (2559) สุนิษา คงพิพัฒน์; ณัฑฐา ภัทรวิสิฐเศรษฐ์; ณฐมน ทองใบอ่อน; Sunisa Kongpipat; Nattha Pattaravisitsate; Nathamon Thongbai-on; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์
    โปรแกรม RE Management เพื่อการจัดการฐานข้อมูลเครื่องมือ/อุปกรณ์วิจัย จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานประจำ โดยพัฒนามาจากโปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010 ด้วยการออกแบบและพัฒนา Object ทั้งหมด 5 ประเภท คือ Table, Query, Form, Report และ Macro เพื่อจัดเก็บข้อมูลของเครื่องมือ/อุปกรณ์วิจัยให้ครอบคลุมตั้งแต่ประวัติการซื้อ การซ่อม การสอบเทียบ การบำรุงรักษา และความถี่ในการใช้งานเครื่องมือและปี และจัดเก็บข้อมูลของบริษัทที่ใช้ติดต่อประสานงานให้เป็นระบบ เป็นส่วนกลาง และสามารถใช้งานร่วมกันได้ด้วยการแชร์โปรแกรมผ่านระบบ Local Area Network ของสำนักงานการวิจัย การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมทำโดยให้เจ้าหน้าที่ของงานบริการเพื่อการวิจัย จำนวน 11 ท่าน ได้ทดลองใช้งานโปรแกรมเป็นเวลา 1 เดือนและทำแบบประเมินผลความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรม RE Management เพื่อการจัดการฐานข้อมูลเครื่องมือ/อุปกรณ์วิจัย สามารถอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในด้านการเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้น ค้นหาข้อมูลได้ง่าย การรายงานผลถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วขึ้น ช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงาน และช่วยลดการใช้กระดาษในการสำเนาเอกสาร และนอกจากนี้บุคลากรยังสามารถเปิดใช้งานโปรแกรมพร้อมกันได้ ผลการประเมินความพึงพอใจสรุปได้ว่าอยู่ในระดับ “ดี” (¯x = 4.50, SD = 0.56)