Publication: การตอบสนองต่อการทดสอบความตึงตัวของเส้นประสาท 2 (radial bias) ในคนไทยสุขภาพดี อายุ 18-30 ปี
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
ISSN
0857-6653
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Bibliographic Citation
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. ปีที่ 23, ฉบับที่ 3 (2554), 284-296
Suggested Citation
ชมพูนุท สุวรรณศรี, จิตวรี ขำเดช การตอบสนองต่อการทดสอบความตึงตัวของเส้นประสาท 2 (radial bias) ในคนไทยสุขภาพดี อายุ 18-30 ปี. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. ปีที่ 23, ฉบับที่ 3 (2554), 284-296. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10549
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การตอบสนองต่อการทดสอบความตึงตัวของเส้นประสาท 2 (radial bias) ในคนไทยสุขภาพดี อายุ 18-30 ปี
Alternative Title(s)
The responses of upper limb neurodynamic tension test 2 (radial bias) in Thai healthy people aged 18-30 years
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองความตึงตัวของเส้นประสาท radial ด้วยการทดสอบ upper limb neurodynamic 2 [ULNT 2 (radial bias)] ของแขนทั้งสองข้าง ในคนไทยสุขภาพดี ช่วงอายุ 18-30 ปี โดยวัดองศาการเหยียดข้อศอก บริเวณที่แสดงอาการ และ ลักษณะอาการที่ตอบสนองต่อการทดสอบ ในระดับเริ่มรู้สึก (threshold level) และระดับทนแทบไม่ไหว (tolerance level) ผู้ถูกทดสอบเป็นชายไทยสุขภาพดี จำนวน 70 คน และ หญิงสุขภาพดี จำนวน 70 คน มีลำดับขั้นตอนของการทดสอบด้วย ULNT 2 คือ การดึงสะบักลง, หมุนหัวไหล่เข้าข้างในพร้อมกับควํ่ามือ กระดกข้อมือลง และกำนิ้วมือขณะข้อมือมี ulnar deviation และ เหยียดข้อศอก ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานขององศาการเหยียดศอก ระดับเริ่มรู้สึก (threshold level) ของแขนขวา และ แขนซ้าย กลุ่มผู้ถูกทดสอบชาย เท่ากับ 112.99°+ 3.92°, 112.86°+ 3.72° ตามลำดับ หรือ เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 20 (หรือประมาณร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมวิจัย) เท่ากับ 110° กลุ่มผู้ถูกทดสอบหญิง เท่ากับ 113.50°+ 3.09°, 113.07°+ 3.26° ตามลำดับ หรือ เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 20 เท่ากับ 111° มุมการเหยียดศอกของแขนขวา และ ซ้าย ระดับทนแทบไม่ไหว (tolerance level) ของกลุ่มผู้ถูกทดสอบชาย เท่ากับ 165.41°+ 10.52°, 164.98°+ 11.25° หรือ เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 20 เท่ากับ 157°-154°(ขวา-ซ้าย) หญิง เท่ากับ 168.83°+ 10.23°, 169.57°+ 9.22° ตามลำดับ หรือ เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 20 เท่ากับ 165° จากการศึกษาครั้งนี้ อาการตึงพบมากที่สุด บริเวณด้านหน้าหัวไหล่ และ ด้านหน้าของต้นแขน ในชาย-หญิง ต่อการทดสอบ ULNT 2 ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดที่มีปัญหาเกี่ยวกับความตึงตัวของเส้นประสาท radial ทั้งชายและหญิง
ช่วงอายุ 18-30 ปี