Publication: Effectiveness of Domperidone in Augmenting Breastmilk Production Measured by Manual Expression in Postpartum Women in Charoenkrung Pracharak Hospital
Issued Date
2018
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 41, No. 1 (Jan-Mar 2018), 17-26
Suggested Citation
Maneenin Wannapat, Somsak Suthutvoravut, Sawittri Suwikrom, มณีนิล วรรณพัฒน์, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, สาวิตรี สุวิกรม Effectiveness of Domperidone in Augmenting Breastmilk Production Measured by Manual Expression in Postpartum Women in Charoenkrung Pracharak Hospital. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 41, No. 1 (Jan-Mar 2018), 17-26. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79501
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Effectiveness of Domperidone in Augmenting Breastmilk Production Measured by Manual Expression in Postpartum Women in Charoenkrung Pracharak Hospital
Alternative Title(s)
ประสิทธิผลของยาดอมเพอริโดนต่อการเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด โดยการบีบน้ำนมด้วยมือในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
Abstract
Background: Breastmilk is the ideal food for infants. Domperidone was found to increase breastmilk production but its use is still controversial. Most of the studies used electric breast pump to collect breastmilk. However, manual expression of breastmilk has some advantages over electric breast pump.
Objective: To study effectiveness of domperidone in increasing breastmilk production among postpartum women by using manual expression to collect breastmilk.
Methods: This study recruited 50 postpartum women who had term spontaneous normal vaginal delivery in Charoenkrung Pracharak Hospital from September 1, 2015 to November 30, 2015. The participants were randomly assigned to receive domperidone or placebo, 25 women in each group. Drugs were first given to postpartum women at 24 hours after delivery. Breastmilk was collected by manually expression at 24 hours after delivery before receiving drugs, then at 48 hours, 72 hours and 96 hours after delivery. Chi-Square test and Mann-Whitney U test were used for hypothesis testing and the statistical significance was set at P < 0.05.
Results: The median volume of breastmilk in both groups at 24 hours after delivery and before receiving drugs were 2 milliliters in domperidone group and 1 milliliter in placebo group. Breastmilk median volume increased in both groups afterwards. At 48 hours after delivery, the volumes were 8 and 3 milliliters in domperidone and placebo group respectively. At 72 hours, the volumes were 15 and 10 milliliters, at 96 hours, the volumes were 35 and 15 milliliters in groups respectively. The differences were statistically significant (P < 0.05). There was no side effect of domperidone among the postpartum women in the domperidone group.
Conclusion: Domperidone effectively increased more breastmilk production measured by manual expression than placebo.
บทนำ: น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารก และยาดอมเพอริโดนสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ได้ แต่การนำไปใช้ยังมีข้อถกเถียงกัน การศึกษาวิจัยในอดีตส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องปั๊มน้ำนมไฟฟ้าในการเก็บน้ำนมแม่ แต่การบีบน้ำนมด้วยมือมีข้อดีกว่าเครื่องปั๊มน้ำนมไฟฟ้าบางประการ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาดอมเพอริโดนต่อการเพิ่มปริมาณน้ำนมในสตรีหลังคลอดโดยการประเมินด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบทดลองโดยผู้เข้าร่วมวิจัยไม่ทราบชนิดของยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สตรีหลังคลอดครรภ์ครบกำหนดที่คลอดปกติ ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จำนวน 50 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มโดยวิธีจับสลากเข้าสู่กลุ่มที่ได้รับยาดอมเพอริโดนและยาหลอก กลุ่มละ 25 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับยาครั้งแรกเมื่อครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด เก็บปริมาณน้ำนมโดยวิธีใช้มือบีบ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Chi-Square test และ Mann-Whitney U test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา: ค่ามัธยฐานปริมาณน้ำนมแม่ที่บีบได้จากสตรีหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับยาดอมเพอริโดนและกลุ่มยาหลอกเมื่อเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด ก่อนได้รับยาเท่ากับ 2 และ 1 มิลลิลิตร ตามลำดับ และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากนั้นน้ำนมแม่เพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มเมื่อเวลา 48 ชั่วโมงหลังคลอดปริมาณน้ำนมแม่เท่ากับ 8 และ 3 มิลลิลิตร เมื่อเวลา 72 ชั่วโมงหลังคลอด ปริมาณน้ำนมแม่เท่ากับ 15 และ 10 มิลลิลิตร และเมื่อเวลา 96 ชั่วโมงหลังคลอด ปริมาณน้ำนมแม่เท่ากับ 35 และ 15 มิลลิลิตร ตามลำดับ ความแตกต่างของปริมาณน้ำนมแม่หลังได้รับยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ ของยาดอมเพอริโดนในสตรีหลังคลอดที่รับประทานยาดอมเพอริโดน สรุป: ยาดอมเพอริโดนมีประสิทธิผลดีในการกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่ในระยะ 4 วันแรกหลังคลอดได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวัดปริมาณน้ำนมจากการใช้มือบีบเต้านม
บทนำ: น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารก และยาดอมเพอริโดนสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ได้ แต่การนำไปใช้ยังมีข้อถกเถียงกัน การศึกษาวิจัยในอดีตส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องปั๊มน้ำนมไฟฟ้าในการเก็บน้ำนมแม่ แต่การบีบน้ำนมด้วยมือมีข้อดีกว่าเครื่องปั๊มน้ำนมไฟฟ้าบางประการ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาดอมเพอริโดนต่อการเพิ่มปริมาณน้ำนมในสตรีหลังคลอดโดยการประเมินด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบทดลองโดยผู้เข้าร่วมวิจัยไม่ทราบชนิดของยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สตรีหลังคลอดครรภ์ครบกำหนดที่คลอดปกติ ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จำนวน 50 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มโดยวิธีจับสลากเข้าสู่กลุ่มที่ได้รับยาดอมเพอริโดนและยาหลอก กลุ่มละ 25 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับยาครั้งแรกเมื่อครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด เก็บปริมาณน้ำนมโดยวิธีใช้มือบีบ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Chi-Square test และ Mann-Whitney U test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา: ค่ามัธยฐานปริมาณน้ำนมแม่ที่บีบได้จากสตรีหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับยาดอมเพอริโดนและกลุ่มยาหลอกเมื่อเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด ก่อนได้รับยาเท่ากับ 2 และ 1 มิลลิลิตร ตามลำดับ และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากนั้นน้ำนมแม่เพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มเมื่อเวลา 48 ชั่วโมงหลังคลอดปริมาณน้ำนมแม่เท่ากับ 8 และ 3 มิลลิลิตร เมื่อเวลา 72 ชั่วโมงหลังคลอด ปริมาณน้ำนมแม่เท่ากับ 15 และ 10 มิลลิลิตร และเมื่อเวลา 96 ชั่วโมงหลังคลอด ปริมาณน้ำนมแม่เท่ากับ 35 และ 15 มิลลิลิตร ตามลำดับ ความแตกต่างของปริมาณน้ำนมแม่หลังได้รับยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ ของยาดอมเพอริโดนในสตรีหลังคลอดที่รับประทานยาดอมเพอริโดน สรุป: ยาดอมเพอริโดนมีประสิทธิผลดีในการกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่ในระยะ 4 วันแรกหลังคลอดได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวัดปริมาณน้ำนมจากการใช้มือบีบเต้านม