Publication:
ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ดูแลในการมีส่วนร่วมเพื่อบรรเทาความปวดจากหัตถการที่ใช้เข็มของผู้ป่วยเด็กในหออภิบาลกุมารเวชกรรม

dc.contributor.authorเพ็ญรัชต์ โค้วไพโรจน์en_US
dc.contributor.authorสุดาภรณ์ พยัคฆเรืองen_US
dc.contributor.authorอาภาวรรณ หนูคงen_US
dc.contributor.authorPenrat Kowpairojen_US
dc.contributor.authorSudaporn Payakkaraungen_US
dc.contributor.authorApawan Nookongen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-03-29T08:45:40Z
dc.date.available2022-03-29T08:45:40Z
dc.date.created2565-03-29
dc.date.issued2564
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการในการมีส่วนร่วมเพื่อบรรเทาความปวดจากหัตถการที่ใช้เข็มของผู้ป่วยเด็กวิกฤต ในหออภิบาลกุมารเวชกรรม ตามการรับรู้ของผู้ดูแลและพยาบาลวิชาชีพ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ดูแลจำนวน 68 คน พยาบาลจำนวน 72 คน จากโรงพยาบาล 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลและผู้ป่วยเด็กวิกฤต แบบบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วยเด็กวิกฤต แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาล แบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการในการมีส่วนร่วมเพื่อบรรเทาความปวดจากหัตถการที่ใช้เข็มของผู้ป่วยเด็กวิกฤตตามการรับรู้ของผู้ดูแลและพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัย: การรับรู้ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการในการมีส่วนร่วมเพื่อบรรเทาความปวดจากหัตถการที่ใช้เข็มของผู้ป่วยเด็กวิกฤตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามการรับรู้ของผู้ดูแล (t = 8.17, p < .001) และของพยาบาล (t = 7.38, p < .001) ส่วนการรับรู้ความต้องการและการรับรู้การได้รับการตอบสนองความต้องการ ระหว่างผู้ดูแลและพยาบาลไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญ .05 (t = .27, p > .05; t = - 1.29, p > .05 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ดูแลและพยาบาลมีการรับรู้ในทิศทางเดียวกัน โดยรับรู้ความต้องการสูงกว่าการรับรู้การได้รับการตอบสนองความต้องการ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรมีแนวปฏิบัติการจัดการความปวดจากหัตถการในผู้ป่วยเด็กวิกฤตโดยให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบรรเทาความปวดทุกช่วงระยะเวลาของการทำหัตถการที่ใช้เข็มen_US
dc.description.abstractPurpose: To compare needs and met needs of caregiver involvement for pain relief from needle-related medical procedure in critically ill pediatric patients admitted in pediatric intensive care units as perceived by caregivers and professional nurses. Design: Descriptive comparative design. Methods: The sample comprised 68 caregivers and 72 nurses from 3 hospitals in Bangkok with the use of convenience sampling technique. Tools for data collection included a general information questionnaire for caregivers and critically ill pediatric patients, a record form about medical treatment for critically ill pediatric patients, a general information questionnaire for nurse, questionnaires of needs and met needs for caregiver’s involvement in pain relief from needle-related medical procedure perceived by caregivers and nurses. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. Main findings: Caregivers’ needs and met needs for involvement in pain relief from needle-related medical procedure in critically ill pediatric patients were significantly different as perceived by caregivers (t = 8.17, p < .001) and by nurses (t = 7.38, p < .001). Perceived needs and perceived met needs between caregivers and nurses were not different at significance level .05 (t = .27, p > .05; t = - 1.29, p > .05, respectively). Conclusion and recommendations: Perceptions of caregivers are in line with that of the nurses; that is, needs are greater than met needs. The results suggest that healthcare professionals should have a practice guideline of procedural pain management for the critically ill pediatric patients, with involvement of caregivers in pain relief activities at every stage of needle-related medical procedure.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค. 2564), 55-69en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64407
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectความต้องการen_US
dc.subjectความปวดen_US
dc.subjectหออภิบาลกุมารเวชกรรมen_US
dc.subjectcaregiveren_US
dc.subjectneedsen_US
dc.subjectpainen_US
dc.subjectpediatric intensive care uniten_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.titleความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ดูแลในการมีส่วนร่วมเพื่อบรรเทาความปวดจากหัตถการที่ใช้เข็มของผู้ป่วยเด็กในหออภิบาลกุมารเวชกรรมen_US
dc.title.alternativeCaregivers’ Needs and Met Needs for Involvement in Pain Relief from Needle-related Medical Procedure in Children at PICUen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/248110

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-sudaporn-2564.pdf
Size:
1.39 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections