Publication: ประสิทธิผลของการจัดท่านอนตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกําหนด
dc.contributor.author | มณีรัตน์ รุ่งทวีชัย | en_US |
dc.contributor.author | Maneerat Roongtaweecha | en_US |
dc.contributor.author | ฟองคํา ติลกสกุลชัย | en_US |
dc.contributor.author | Fongcum Tilokskulchai | en_US |
dc.contributor.author | กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์ | en_US |
dc.contributor.author | Kannikar Vichitsukon | en_US |
dc.contributor.author | ไล เลิศธรรมเทวี | en_US |
dc.contributor.author | Wilai Lerthamtewe | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | จังหวัดนครปฐม. โรงพยาบาลนครปฐม. พยาบาลชํานาญการ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-09-10T02:51:34Z | |
dc.date.available | 2018-09-10T02:51:34Z | |
dc.date.created | 2561-09-10 | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการจัดท่านอนตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกและการจัดท่านอนตามการพยาบาลปกติต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกําหนด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกําหนดที่มารดามีอายุครรภ์ตั้งแต่ 24 สัปดาห์ ถึง 36 สัปดาห์ รับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครปฐม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 30 ราย ทําการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีจับฉลากเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จํานวนกลุ่มละ 15 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบแมนวิทนีย์ ยู และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัย: ทารกเกิดก่อนกําหนดที่ได้รับการจัดท่านอนตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก มีค่าเฉลี่ยความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่าทารกเกิดก่อนกําหนดที่ได้รับการจัดท่านอนตามการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .05) แต่ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p>.05)สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดควรนําวิธีการจัดท่านอนตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมาใช้เป็นแนวทางการจัดท่านอนทารกเกิดก่อนกําหนดขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยให้ทารกเกิดก่อนกําหนดมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนเพิ่มขึ้น | en_US |
dc.description.abstract | Purpose: This experimental study aimed to investigate the effects of infant positioning based on a clinical nursing practice guideline for oxygen saturation, heart rate, respiration rate and duration of weaning from a mechanical ventilator in preterm infants. Design: Experimental research design Methods: Subjects were 30 preterm infants with gestational age between 24 and 36 weeks, who had been admitted into the Pediatric Intensive Care Unit, Nakhonpathom Hospital, Thailand. All subjects were randomly assigned to either experimental or control group, with 15 in each group. Data were collected from November 2008 through to September 2009. Statistical analyses used were descriptive statistics, Mann-Whitney U test and Analysis of Covariance (ANCOVA). Main findings: The results showed that the mean oxygen saturation levels in preterm infants, when receiving positioning based on the clinical nursing practice guideline, were significantly higher than in preterm infants receiving regular positioning(p< .05). Mean heart rate, mean respiration rate and mean duration of weaning from a mechanical ventilator were not significantly different between the two groups (p>.05). Conclusion and recommendations: These findings suggest that positioning based on the clinical nursing practice guideline does contribute to a higher mean oxygen saturation in preterm infants than does regular positioning. These results provide useful information for nurses about the benefits in following the clinical nursing practice guideline for positioning preterm infants during weaning from a mechanical ventilation. | en_US |
dc.description.sponsorship | วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยบางส่วนจาก สมาคมศิษย์เก่า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลและสมาคมเวชศาสตร์ปริกําเนิดแห่งประเทศไทย | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ.เพิ่มเติม 1), ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2554), 56-64 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/26918 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก | en_US |
dc.subject | การจัดท่านอน | en_US |
dc.subject | ทารกเกิดก่อนกําหนด | en_US |
dc.subject | การหย่าเครื่องช่วยหายใจ | en_US |
dc.subject | Journal of Nursing Science | en_US |
dc.subject | วารสารพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.subject | Open Access article | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการจัดท่านอนตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกําหนด | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Positioning Based on Clinical NursingPractice Guideline on Oxygen Saturation, Heart Rate,Respiration Rate and Duration of Weaning MechanicalVentilation in Preterm Infants | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/2817 |