Publication: แนวปฏิบัติที่ดีในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.contributor.author | เกศริน ธารีเทียน | en_US |
dc.contributor.author | ศศิธร ลบล้ำเลิศ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-04-18T06:04:25Z | |
dc.date.available | 2019-04-18T06:04:25Z | |
dc.date.created | 2562-04-18 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการขอตำแหน่ง ทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นจาก การขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนา ประสบการณ์ในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ จากแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ ผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มที่สอง ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 20 คนผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการของ บุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น เริ่มต้นจากการศึกษาระเบียบปฏิบัติจากคู่มือแนวปฏิบัติ และสอบถามจาก บุคลากรที่มีประสบการณ์การขอตำแหน่งวิชาการมาแล้ว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ทำ หน้าที่ในด้านนี้โดยตรง และขั้นตอนต่อไป ผู้ให้ข้อมูลหลักกล่าวว่า คือการตรวจ สอบคุณสมบัติ ผลงาน และชั่วโมงการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ส่วนปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของ บุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้นเกิดจากปัญหาและอุปสรรคภายในของตัวบุคลากรผู้ขอตำแหน่งเอง นั่นคือ การขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ แนวทางปฏิบัติในการขอตำแหน่ง ทางวิชาการ รวมทั้งการขาดความพร้อมในการยื่นหลักฐานต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรง ต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากนี้ ปัญหาและอุปสรรคอีกประการหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในกลุ่มบุคลากร คือภาระงานที่มีจำนวนมาก ส่งผลต่อการเตรียม เอกสารหรือการรวบรวมผลงานทางวิชาการได้ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคที่เกิด ขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้นยังเกิดจากปัญหาและอุปสรรค ภายนอกอีกด้วย นั่นคือระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ส่งผลให้ผู้ที่เตรียมขอตำแหน่งต้องมีการปรับเปลี่ยน การจัดเรียงหรือการรวบรวมผลงานตามไปด้วย และเกิดจากการขาดผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้คำแนะนำอย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการรายใหม่ ไม่สามารถขอรับคำแนะนำได้อย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งเกิดจากระบบ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการขอตำแหน่งทางวิชาการไม่มีความทันสมัย ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไม่สะดวก ไม่รวดเร็ว และข้อมูลที่ได้รับไม่มี ความถูกต้อง/เที่ยงตรง สำหรับพัฒนาประสบการณ์ในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของบุคลากรสายวิชาการ พบว่า บุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ ขอตำแหน่งทางวิชาการควรให้การสนับสนุนผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการทั้งราย ใหม่และรายเก่า โดยเริ่มจากการจัดโครงการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว กับแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งอาจจะให้ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นบุคลากรใน การอบรมด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในการสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการต่อไป นอกจากนี้ ควรมีการจัดทำคู่มือหรือระเบียบการขอ ตำแหน่งทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาปรับปรุงให้มีความทัน สมัยยิ่งขึ้น รวมทั้งควรพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ขอ ตำแหน่งทางวิชาการ และสามารถเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้ขอตำแหน่ง รายใหม่ให้มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.abstract | Faculty of Social Sciences and Humanities is one of the faculty at Mahidol University, which focuses on academic staff development. The faculty has 4 departments: Department of Social Sciences, Department of Humanities, Department of Education and the Department of Social and Health including the Office of the Dean. There are a total of 167 personnel. The results showed that: 1) The principal for obtaining an academic position begins with self-studying manual for guidance and ask for more inquiries from officers who have experience or officers who have direct responsibility. Next is the step of self-checking their own qualifications and hours of operation. 2) Problems within the process for obtaining an academic position has been occurred because of officers lacking of knowledge, understanding and readiness in the proposal process. External obstacle such as regulations changed, unable to obtain instructions correctly and clearly and old information systems also involved. 3) Obtaining an academic position process should be supported by providing training program for understanding the process for obtain academic positions. In addition, there should be an updated manual or regulations and information technology development for serving interested persons. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 98-112 | en_US |
dc.identifier.issn | 2350-983x | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43767 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | แนวปฏิบัติที่ดี | en_US |
dc.subject | ตำแหน่งทางวิชาการ | en_US |
dc.subject | บุคลากรสายวิชาการ | en_US |
dc.subject | วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ | en_US |
dc.subject | Integrated Social Science Journal | en_US |
dc.title | แนวปฏิบัติที่ดีในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.title.alternative | A Good Practice in Applying for Academic Position of Academic Staffs in the Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | http://www.sh.mahidol.ac.th/JOURNAL/ | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/145983/107687 |