Publication: ความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช
Issued Date
2555
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2555), 67-69
Suggested Citation
พิชัย อิฏฐสกุล, Pichai Ittasakul ความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2555), 67-69. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79757
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข เนื่องจากทำให้อัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายในประชากรสูงขึ้น และยังพบว่าความชุกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้ป่วยจิตเวชนั้น พบภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้บ่อย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าประชากรทั่วไป ปัญหาเหล่านี้นำไปสู่ความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมที่เรียกว่า metabolic syndrome ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น
กลไกในการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับหลายกลไก เช่น พันธุกรรม พฤติกรรมการกินของผู้ป่วย และปริมาณการเคลื่อนไหวร่างกาย ปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ โรคที่ผู้ป่วยเป็น ได้แก่ โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้วและยาที่ผู้ป่วยได้รับ เช่น ยารักษาโรคจิต ยาแก้ซึมเศร้า และยาควบคุมอารมณ์
การรักษาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวชนั้น มีวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเลือกใช้ยารักษาโรคที่มีผลต่อน้ำหนักตัวน้อย การปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการให้ยาเพิ่มสำหรับช่วยลดน้ำหนัก เช่น topiramate, metformin อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการให้การรักษา และป้องกันตั้งแต่ระยะแรกๆ ดังนั้นในการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชแพทย์ผู้ดูแลควรตระหนักถึงความเสี่ยงต่างๆ เฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนไว้เสมอ ควรประเมินส่วนสูง น้ำหนัก และรอบเอวของผู้ป่วย และบันทึกไว้เป็นระยะๆ เพื่อติดตามผล ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่ายาที่ได้รับมีโอกาสทำให้นำหนักเพิ่มขึ้นและเกิดโรคอ้วนได้ ควรเน้นให้ผู้ป่วยสังเกตน้ำหนักของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และให้คำปรึกษาเรื่องอาหาร และการทำกิจกรรมต่างๆ ในผู้ป่วยทุกรายที่มีน้ำหนักตัวมาก และเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาที่อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการเกิด metabolic syndrome ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดตามมาได้