Publication: การใช้อุปกรณ์พยุงช่องคลอดในภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Vaginal pessary)
Issued Date
2555
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 35, No. 4 (Oct-Dec 2012), 340-345
Suggested Citation
สมเกียรติ สีตวาริน, Somkiat Sitavarin การใช้อุปกรณ์พยุงช่องคลอดในภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Vaginal pessary). Ramathibodi Medical Journal. Vol. 35, No. 4 (Oct-Dec 2012), 340-345. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79804
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การใช้อุปกรณ์พยุงช่องคลอดในภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Vaginal pessary)
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่พบในสตรีหมดระดู ซึ่งอาจพบร่วมกับความผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น อาการปัสสาวะเล็ดหรือปัสสาวะราด ปัญหานี้มีแนวโน้มที่จะพบสูงขึ้นในสตรีไทย เนื่องจากสตรีไทยวัยหมดระดูมีอายุขัยเฉลี่ยยาวนานขึ้น และมีความสนใจในการดูแลสุขภาพตัวเองมกขึ้น แนวทางการรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Pelvic organ prolapses) ซึ่งมีหรือไม่มีอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย มี 2 แนวทางคือ แบบผ่าตัดและแบบไม่ผ่าตัด ซึ่งทั้งสองวิธีทำไปร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic floor exercises) การรักษาแบบไม่ผ่าตัดใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการผ่าตัด กลัวการผ่าตัด มีโรคทางอายุรกรรมหรือสภาพร่างกาบไม่สมบูรณ์แข็งแรงพอ มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัด หรือวางยาสลบ ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวของการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงช่องคลอดในภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Vaginal pessary) คือ กรณีที่ช่องเชิงกรานด้านหลังหย่อนและกว้างมาก และกรณีที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนรุนแรง