Publication:
ปัจจัยทำนายการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน

dc.contributor.authorจารุวรรณ ไทยบัณฑิตen_US
dc.contributor.authorอาภาวรรณ หนูคงen_US
dc.contributor.authorอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์en_US
dc.contributor.authorJaruwan Thaibanditen_US
dc.contributor.authorApawan Nookongen_US
dc.contributor.authorArunrat Srichantaraniten_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2021-04-20T03:25:22Z
dc.date.available2021-04-20T03:25:22Z
dc.date.created2564-04-20
dc.date.issued2564
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของโรคร่วม พฤติกรรมการจัดการตนเอง พฤติกรรมการจัดการของผู้ดูแล และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล ต่อการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลและเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ จำนวน 124 คู่ ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกภูมิแพ้ของโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล 2) แบบบันทึกข้อมูลของเด็กโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการของเด็กโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการของผู้ดูแลเด็กโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ 5) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และ 6) แบบสอบถามการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ วิเคราะห์ความสามารถในการทำนายด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: การควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ อยู่ในระดับควบคุมได้ร้อยละ 71.8 และไม่สามารถควบคุมได้ร้อยละ 28.2 พฤติกรรมการจัดการตนเอง พฤติกรรมการจัดการของผู้ดูแล และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลร่วมกันทำนายความผันแปรของการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียนได้ร้อยละ 33.5 (Nagelkerke R2 = .34) โดยพฤติกรรมการจัดการตนเองและพฤติกรรมการจัดการของผู้ดูแลทำนายการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 1.09, 95%CI = 1.03, 1.15; OR = 1.07, 95%CI = 1.01, 1.14 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: พฤติกรรมการจัดการตนเอง และพฤติกรรมการจัดการของผู้ดูแลสามารถทำนายการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียนได้ ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพควรจัดโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการให้กับเด็กและผู้ดูแล เพื่อสนับสนุนให้เด็กวัยเรียนสามารถควบคุมอาการของโรคได้ดียิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractPurpose: To examine the factors predicting allergic rhinitis control which were co-morbidity, self-management behaviors, caregiver’s management behaviors and caregiver’s health literacy. Design: The correlational predictive research design. Methods: The subject consisted of 124 pairs of caregivers and school-aged children with allergic rhinitis who were treated from Allergy clinics at two tertiary hospitals in Bangkok. The research instruments composed of 1) Demographic Data Questionnaire 2) Data Record Form 3) Children’s Management Behavior for Allergic Rhinitis Questionnaire 4) Caregiver’s Management Behavior for Allergic Rhinitis Questionnaire 5) Caregiver’s Health Literacy for Allergic Rhinitis Questionnaire and 6) Control of Allergic Rhinitis and Asthma Test for Children (Thai version). Data were analyzed using logistic regression. Main findings: School-aged children with allergic rhinitis were classified in controlled level (71.8%) and uncontrolled level (28.2%). The model of self-management behaviors, caregiver-management behaviors and caregiver’s health literacy explained 33.5% of variance on allergic rhinitis control (Nagelkerke R2 = .34). The predictive factors of allergic rhinitis control were self-management behaviors and caregiver-management behaviors (OR = 1.09, 95%CI = 1.03, 1.15; OR = 1.07, 95%CI = 1.01, 1.14). Conclusion and recommendations: The self-management behaviors and caregiver’s management behaviors can significantly predict allergic rhinitis control in school-aged children. Therefore, health care team should organize the programs to promote child management behaviors and caregiver management behaviors, in order to achieve the goal of allergic rhinitis control.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2564), 36-49en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61983
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้en_US
dc.subjectพฤติกรรมการจัดการของผู้ดูแลen_US
dc.subjectเด็กวัยเรียนen_US
dc.subjectพฤติกรรมการจัดการตนเองen_US
dc.subjectallergic rhinitis controlen_US
dc.subjectcaregiver-management behaviorsen_US
dc.subjectchildrenen_US
dc.subjectself-managementen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleปัจจัยทำนายการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียนen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Allergic Rhinitis Control in School–age Childrenen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/244121

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-apawa-2563.pdf
Size:
574.08 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections