Publication: ประสิทธิผลการสอนโดยการสังเคราะห์ความรู้จากข้อมูลเชิงประจักษ์ในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ.เพิ่มเติม 1), ฉบับที่ 1 (เม.ย. - มิ.ย. 2554), 37- 46
Suggested Citation
ยุวดี วัฒนานนท์, Yuwadee Wattananon, วชิรา วรรณสถิตย์, Vachira Vonnasathid, วาสนา จิติมา, Vassana Jithima, บุญมี วัฒนานนท์, Boonmee Wattananon ประสิทธิผลการสอนโดยการสังเคราะห์ความรู้จากข้อมูลเชิงประจักษ์ในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ.เพิ่มเติม 1), ฉบับที่ 1 (เม.ย. - มิ.ย. 2554), 37- 46. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3358
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ประสิทธิผลการสอนโดยการสังเคราะห์ความรู้จากข้อมูลเชิงประจักษ์ในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Effectiveness of Teaching Method by Synthesis Knowledge from Evidenced Based Data in Baccalaureate Nursing Students, Mahidol University
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อประเมินประสิทธิผลของวิธีการสอนโดยการสังเคราะห์ความรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อประเมินด้านความเก่ง ด้านความดี และความสุขในการเรียนของนักศึกษา รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปี ที่ 3 จำนวน 281 คนที่กำลังศึกษาในหัวข้อ “การพยาบาลผู้คลอดที่เกิดภาวะวิกฤติในระยะคลอด” ประกอบด้วย 9 หัวข้อย่อยดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยแบ่งกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มย่อยรับผิดชอบเนื้อหา 1 หัวข้อย่อย ให้นักศึกษาทำงานเป็นทีมในการฝึกทักษะคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบร่วมกันวางแผนรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามข้อคำถามที่ผู้วิจัยมอบหมายทำการสืบค้นข้อมูลตามเนื้อหาวิชาร่วมกันแจกแจงวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามาแล้วนำมาสังเคราะห์เป็นบทสรุปความรู้นำไปสู่การสร้างกรณีศึกษาสมมติ 1 ราย แล้วร่วมกันคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการวินิจฉัยปัญหาและหาแนวทางการแก้ปัญหาตามกระบวนการพยาบาล จากนั้นผู้วิจัยทบทวนและเสริมความรู้ นำมาจัดทำเป็นเอกสารบทสรุปให้กับนักศึกษา ผลการวิจัย: จากการสอนโดยการสังเคราะห์ความรู้ฯ พบว่า นักศึกษาเกิด ประสิทธิผล 1) ด้านความเก่ง มีจำนวนนักศึกษาที่สอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 54.3 2) ด้านความดี มีนักศึกษาที่กล้าแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ร้อยละ 97.5 โดยมีความคิดเห็นทางด้านบวก เช่น ได้รับความรู้จากการสืบค้นและการคิดวิเคราะห์ และทางด้านลบ เช่น ยังปรับตัวในวิธีการเรียนการสอนได้ไม่ดีพอยังรับความรู้ได้ไม่มากพอ 3) ด้านความสุขในการเรียน มีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนโดยวิธีการสืบค้นและสังเคราะห์ความรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 67.9 สรุปและข้อเสนอแนะ: 1.ผู้สอนควรเตรียมผู้เรียนและปัจจัยเกื้อหนุนมีสื่อสารข้อมูล ขั้นตอน และวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจนและหลายช่องทางแก่นักศึกษาเป็นระยะ เพื่อเพิ่มความพร้อมในการเรียนโดยวิธีการสังเคราะห์ความรู้จากหลักฐาน เชิงประจักษ์ มีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียนยกย่องชมเชยให้กำลังใจในสิ่งที่ทำถูก ทำดี สนใจ ใฝ่รู้ การทำงานเป็นทีม มีความรับ ผิดชอบ เป็นต้น เพื่อเพิ่มความเก่ง ความดี และความสุขในการเรียน 2.นำวิธีการสอน โดยการสังเคราะห์ความรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้โดยปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดเรียนสอนอย่างต่อเนื่องและปรับใช้ให้แพร่หลายในโอกาสต่อไป
Purpose: To evaluate the effectiveness of the teaching method of synthesizing knowledge from evidence based data in baccalaureate students, Faculty of Nursing, Mahidol University. Design: A classroom action research. Methods: Sample consisted of 281 third year nursing students in the year 2009, who were studying the topic of “The critical nursing care during labor” in Maternal-Child Nursing and Midwifery II course.This topic contained 9 subgroups. Students were divided into 18 small groups. Each group was responsible for 1 subtopic and they had to plan for methods of data collection and identify the best data that should be collected. Towards the end of their work, students synthesized knowledge into a case study which matched with their subtopic. Main findings: The result showed that the effectiveness of this teaching method is categorized into three aspects: achievement, goodness, and happiness. Approximately 54% of the students had good achievement, 97% could present their ideas and open their mind to the class, and about 68% were happy to learn with this teaching technique. Conclusion and recommendations: Results of the research suggested that teachers should give clear information about the learning process and content of the topic by using multiple channels of communication, and empower students during learning. This will no doubt ensure a better experience for nursing students when learning this topic.
Purpose: To evaluate the effectiveness of the teaching method of synthesizing knowledge from evidence based data in baccalaureate students, Faculty of Nursing, Mahidol University. Design: A classroom action research. Methods: Sample consisted of 281 third year nursing students in the year 2009, who were studying the topic of “The critical nursing care during labor” in Maternal-Child Nursing and Midwifery II course.This topic contained 9 subgroups. Students were divided into 18 small groups. Each group was responsible for 1 subtopic and they had to plan for methods of data collection and identify the best data that should be collected. Towards the end of their work, students synthesized knowledge into a case study which matched with their subtopic. Main findings: The result showed that the effectiveness of this teaching method is categorized into three aspects: achievement, goodness, and happiness. Approximately 54% of the students had good achievement, 97% could present their ideas and open their mind to the class, and about 68% were happy to learn with this teaching technique. Conclusion and recommendations: Results of the research suggested that teachers should give clear information about the learning process and content of the topic by using multiple channels of communication, and empower students during learning. This will no doubt ensure a better experience for nursing students when learning this topic.
Sponsorship
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก CMB คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล