Publication: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งของชมรมผู้ติดเชื้อเอชไอวี จังหวัดเพชรบุรี
Issued Date
2553
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 33, ฉบับที่ 116 (ก.ย.- ธ.ค. 2553), 19-
Suggested Citation
สิริลักษณ์ รังษีวงศ์, นิรัตน์ อิมามี, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, มันทนา ประทีปะเสน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งของชมรมผู้ติดเชื้อเอชไอวี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 33, ฉบับที่ 116 (ก.ย.- ธ.ค. 2553), 19-. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72012
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งของชมรมผู้ติดเชื้อเอชไอวี จังหวัดเพชรบุรี
Alternative Title(s)
Factors Related to Capabilities of HIV Clubs in Petchaburi Province
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของกลุ่มหรือชมรมผู้ติดเชื้อเอชไอวี
และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งของกลุ่มหรือชมรม กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำกลุ่มหรือชมรม
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีของโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบุรี ที่ให้บริการในลักษณะ
ศูนย์บริการแบบองค์รวมและลักษณะกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกสูงสุด 2 อันดับแรก รวม 3 แห่ง คัดเลือก
แกนนำผู้ติดเชื้อตัวอย่างตามเกณฑ์ได้ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ 10 คน
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มตามประเด็นในกรอบแนวคิดการวิจัยด้วย
สถิติความถี่
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะกลุ่มหรือชมรมที่มีความเข้มแข็ง มีระยะเวลาการดำเนินงาน
มากกว่า5 ปี มีการให้บริการลักษณะศูนย์บริการแบบองค์รวม ณ ที่ตั้งของโรงพยาบาล มีโครงสร้าง
การบริหารในรูปคณะกรรมการ มีแกนนำผู้ติดเชื้อที่อาสามาทำงานประจำที่กลุ่มหรือชมรม
มีการบริหารจัดการกลุ่มหรือชมรมด้วยตนเอง ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากโรงพยาบาล
จากกองทุนโลก และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต และมีรายได้ของตนเองจากการจำหน่าย
ถุงยางอนามัยและพิมเสนน้ำ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแกนนำผู้ติดเชื้อคือ การจบการศึกษาในระดับ
มัธยมศึกษาขึ้นไป มีอาชีพหลักเป็นของตนเอง มีความพร้อมในการทำงานให้กลุ่มหรือชมรม
เป็นแกนนำผู้ติดเชื้อตั้งแต่การก่อตั้งกลุ่มหรือชมรม เคยเจ็บป่วยหนักจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
หลังรับยาต้านไวรัสเอดส์มีอาการดีขึ้นจึงเกิดพลังที่จะให้การดูแลเพื่อนผู้ติดเชื้อด้วยกัน
ได้รับการอบรมและศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ มากกว่า 10 ครั้งขึ้นไป
เป็นแกนนำที่มีจุดยืนในการเป็นปากเสียงให้เพื่อนสมาชิกมากกว่าการเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่
โรงพยาบาลอย่างชัดเจน มีเครือข่ายผู้ติดเชื้อระดับจังหวัดที่เป็นคณะอนุกรรมการเอดส์จังหวัด
และเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและผู้บริหารของโรงพยาบาลเสมือนเป็นบุคลากรส่วนหนึ่งของโรงพยาบาล ในส่วนของการดำเนินงานของกลุ่มหรือชมรมพบว่า แกนนำ
ผู้ติดเชื้อมีการประสานการทำงาน ร่วมคิด วิเคราะห์งาน วางแผน ร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
มีการพัฒนาระบบการทำงานของกลุ่มหรือชมรมอย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ยาต้านไวรัสเอดส์ การดูแลสุขภาพทางเลือก การปฏิบัติตนในด้านการป้องกัน
การติดเชื้อเพิ่มและการสร้างเสริมสุขภาพ มีการให้คำปรึกษา การเยี่ยมบ้านสมาชิก การพบกลุ่ม รวมทั้ง
การช่วยงานบริการคลินิกยาต้านไวรัสของโรงพยาบาล การจัดกิจกรรมด้านเอดส์เพื่อชุมชน และช่วย
ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกับผู้ติดเชื้อ และกับหน่วยงานที่ช่วยเหลือ ด้านสังคม
เศรษฐกิจ สำหรับผู้ติดเชื้อที่เป็นสมาชิก ด้านปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงานคือการขาด
แกนนำผู้ติดเชื้อทดแทน ไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลเท่าที่
ควรและปัญหาการดื้อยาต้านไวรัสของสมาชิก
ผลวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ การกำหนดแนวทางในการพัฒนาหรือจัดตั้งกลุ่มหรือชมรม
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ให้เกิดความเข้มแข็ง ครอบคลุมทุกสถานบริการสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิผล
รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง
This survey research was aimed to study activities of HIV clubs and factors related to capabilities of the clubs. Samples were ten core leaders of the four HIV clubs in Petchaburi province that provided services in the forms of holistic or group services in the hospitals. The core leaders were selected from each club in accordance with the criteria set. Data were collected by in-depth interviews and the data analysis were done by performing content analysis and the grouping was made in accordance with the issues in the research conceptual framework by using frequency. The results of the study showed that the factors related to the capabilities of the core leaders were : they had an educational level of secondary education or higher, they had their own main occupation, they were ready to work for the clubs, they had been the core leaders since the establishment of the HIV clubs, have had severe symptoms from opportunistic diseases, they had a good recovery after receiving antiretroviral therapy (ART) so they felt empowered to take care of their HIV-infected friends, they had been trained or participated more than ten times in field-studies on taking care of HIV patients, they had a network of HIV infected people at the provincial level who were members of the Provincial
This survey research was aimed to study activities of HIV clubs and factors related to capabilities of the clubs. Samples were ten core leaders of the four HIV clubs in Petchaburi province that provided services in the forms of holistic or group services in the hospitals. The core leaders were selected from each club in accordance with the criteria set. Data were collected by in-depth interviews and the data analysis were done by performing content analysis and the grouping was made in accordance with the issues in the research conceptual framework by using frequency. The results of the study showed that the factors related to the capabilities of the core leaders were : they had an educational level of secondary education or higher, they had their own main occupation, they were ready to work for the clubs, they had been the core leaders since the establishment of the HIV clubs, have had severe symptoms from opportunistic diseases, they had a good recovery after receiving antiretroviral therapy (ART) so they felt empowered to take care of their HIV-infected friends, they had been trained or participated more than ten times in field-studies on taking care of HIV patients, they had a network of HIV infected people at the provincial level who were members of the Provincial
Description
Fulltext is not available.