Publication: การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ห้องฉุกเฉิน
dc.contributor.author | ปัญญ์ชัจจ์ พรหมนุรักษ์ | en_US |
dc.contributor.author | มาโนช หล่อตระกูล | en_US |
dc.contributor.author | Panchat Promnurak | en_US |
dc.contributor.author | Manote Lotrakul | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-10-10T03:07:56Z | |
dc.date.available | 2022-10-10T03:07:56Z | |
dc.date.created | 2565-10-10 | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพื่อช่วยในการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน วัสดุการศึกษา: แบบประเมินข้อต่างๆ พัฒนาจากการทบทวนข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในการศึกษาก่อนหน้านี้ โดยมีลักษณะเป็นรายงานตรวจสอบ (Checklist) ปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายระยะเฉพาะหน้าจำนวน 13 ข้อ หลังตรวจสอบและปรับแก้ความตรงเชิงเนื้อหา โดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์แล้ว ได้นำไปใช้ในแผนกฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยนักศึกษาแพทย์ปี 6 เป็นผู้กรอกแบบประเมินในผู้ป่วยที่แพทย์ส่งปรึกษาจิตเวช และแพทย์ประจำบ้านจิตเวชปีที่ 2- 4 ประมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโดยไม่ทราบค่าคะแนนของแบบประเมิน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 60 รายได้รับการประเมินโดยแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ผลการวิเคราะห์รายข้อโดยวิธี item-total correlation ของแบบประเมินอยู่ระหว่าง 0.32 – 0.72 ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องภายใน (Cronbach’s alpha coefficients) เท่ากับ 0.70 จุดตัดที่เหมาะสมคือ ค่าคะแนนของแบบประเมินตั้งแต่ 5 ขึ้นไป โดยมีความไว (sensitivity) 1.00, ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 0.57 การพยากรณ์ผลบวก (positive predictive value) 0.29 และการพยากรณ์ผลลบ (negative predictive value) 1.00 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในระดับน้อย ปานกลางและรุนแรง มีค่าคะแนนของแบบประเมินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.003) สรุป: แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสามารถนำไปใช้เฝ้าระวัง วางแผนการรักษา และประกอบการวงแผนจำหน่ายผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ควรมีการศึกษาจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นเพื่อประเมินการใช้งานของแบบประเมินความเสี่ยงในสถานพยาบาลที่มีลักษณะต่างกันออกไป | en_US |
dc.description.abstract | Objective: To develop the suicide risk assessment tool in order to improve screening of at risk patients in an emergency unit. Method: Checklist items were developed from previous suicidal risk studies. The scale contains 13 items assessing imminent suicide risks. After examined and re-corrected some contents by the experts, the assessment was tested at an emergency unit, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. A patient at an emergency unit who was considered by an internist that psychiatric consultation was needed was examined by a sixth-year medical student using the suicide risk assessment scale. Second to fourth year psychiatric residents evaluated patient’s suicide risk without knowing the result of the scale. Results: Sixty patients were assessed by the scale. Item-total correlation of each item ranged from 0.32 to 0.72. The internal consistency reliability of the scale was demonstrated with Cronbach’s alpha coefficients of 0.70. The optimal cut-off score of scale ³ 5 revealed a sensitivity of 1.00, specificity of 0.57, positive predictive value (PPV) of 0.29, negative predictive value (NPV) of 1.00. The area under the curve (AUC) in this study was 0.80. The total score of patients with low, moderate and high risk were significantly different (P = 0.003). Conclusion: The suicide risk assessment scale is a valid measure for using in monitoring, management and discharge planning of patients at an Emergency Units. Further studies with more samples are suggested to explore the applicability of the scale in various clinical settings. | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 34, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2554), 199-206 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-3611 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2651-0561 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79841 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย | en_US |
dc.subject | แบบประเมิน | en_US |
dc.subject | Suicide risk | en_US |
dc.subject | Assessment scale | en_US |
dc.title | การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ห้องฉุกเฉิน | en_US |
dc.title.alternative | Development of the Suicide Risk Assessment Scale for at-risk Patients in an Emergency Unit | en_US |
dc.type | Original Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/137878/102528 |