Publication: ความสัมพันธ์ระหว่าแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 44, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2564), 156-170
Suggested Citation
อ่อนอุษา ขันธรักษา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี ความสัมพันธ์ระหว่าแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 44, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2564), 156-170. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72232
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความสัมพันธ์ระหว่าแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Alternative Title(s)
Association between Social Support, Self-Efficacy, and Blood Sugar Control Behaviors of Type II Diabetic Patients
Abstract
โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย การส่งเสริมให้
ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมนั้น สามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่
อันตรายต่อสุขภาพได้ การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุน
ทางสังคมและการรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการ ณ สถานบริการสาธารณสุขเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัด
อุบลราชธานี จำนวน 321 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่
การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติทดสอบ
ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน
เลือด แต่ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน
เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา สถานบริการ
สาธารณสุขควรมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้
ผู้ป่วยเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการฝึกทักษะเชิงพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้ง 3 พฤติกรรม ได้แก่
การรับประทานยาที่ถูกต้อง การบริโภคอาหารที่เหมาะสม และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วย
เบาหวานปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างเหมาะสม
Diabetes mellitus is one of the serious chronic diseases and is the important public health problem of Thailand. Therefore, promoting the diabetic patients to be able to do self-care and perform blood sugar control behaviors will be helpful for lowering dangerous complications. This cross- sectional survey research was aimed to study the association between social support, selfefficacy, and blood sugar control behaviors of Type 2 diabetic patients. The sample were 321 Type 2 diabetes patients who received the health services at Srimuangmai District Public Health Center, Ubon Ratchathani Province. Data collection was done by self-administered questionnaires. The data was analyzed by descriptive statistics, Chi- square test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The research results reveled that the perceived self- efficacy was significantly related to the blood sugar control behaviors ( p<0. 05) . For social support, no significant relationship was found with the blood sugar control behaviors. This finding can be applied in organizing the activities to promote the perceived self- efficacy in the diabetes patients to enable them to control the blood sugar levels for appropriate complications prevention.
Diabetes mellitus is one of the serious chronic diseases and is the important public health problem of Thailand. Therefore, promoting the diabetic patients to be able to do self-care and perform blood sugar control behaviors will be helpful for lowering dangerous complications. This cross- sectional survey research was aimed to study the association between social support, selfefficacy, and blood sugar control behaviors of Type 2 diabetic patients. The sample were 321 Type 2 diabetes patients who received the health services at Srimuangmai District Public Health Center, Ubon Ratchathani Province. Data collection was done by self-administered questionnaires. The data was analyzed by descriptive statistics, Chi- square test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The research results reveled that the perceived self- efficacy was significantly related to the blood sugar control behaviors ( p<0. 05) . For social support, no significant relationship was found with the blood sugar control behaviors. This finding can be applied in organizing the activities to promote the perceived self- efficacy in the diabetes patients to enable them to control the blood sugar levels for appropriate complications prevention.