Publication:
การรับรู้อย่างมีชั้นเชิงและความยุติธรรมในองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง

dc.contributor.authorน้ำฝน อินทรเทศen_US
dc.contributor.authorภูษิตา อินทรประสงค์en_US
dc.contributor.authorจรรยา ภัทรอาชาชัยen_US
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณen_US
dc.contributor.authorNamfon Intaratateen_US
dc.contributor.authorBhusita Intaraprasongen_US
dc.contributor.authorJunya Pattara-Archachien_US
dc.contributor.authorSaovaluck Jirathummakoonen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุขen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์. เวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐานen_US
dc.date.accessioned2022-07-18T03:48:42Z
dc.date.available2022-07-18T03:48:42Z
dc.date.created2565-07-18
dc.date.issued2557
dc.description.abstractการวิจัยเชิงอรรถาธิบายแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อย่างมีชั้นเชิงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง จำนวน 359 คน คัดเลือกโดยใช้แบบสอบถาม แบบเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมภาวะผู้นำอย่างมีชั้นเชิงของหัวหน้าหอผู้ป่วยอยู่ระดับต่ำ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การของพยาบาลวิชาชีพอยู่ระดับสูง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพอยู่ระดับสูง ภาวะผู้นำอย่างมีชั้นเชิงของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพ เฉพาะภาวะผู้นำอย่างมีชั้นเชิงของหัวหน้าหอผู้ป่วยเท่านั้นที่สามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ12.60 (R2=0.1260) ผลการวิจัยในครั้งนี้ฝ่ายการพยาบาลควรกำหนดนโยบายเพื่อให้มีการพัฒนา ในด้านนโยบาย น่าจะกำหนดนโยบายให้มีการพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย กำหนดเกณฑ์การประเมินผลงานที่เป็นมาตรฐานและสื่อสารให้พยาบาลวิชาชีพทราบอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มความรู้สึกถึงความยุติธรรมของผลลัพธ์ มีวิธีการรักษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การให้คงอยู่ต่อไปและทำให้มีมากขึ้น ด้านวิชาการน่าจะพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพยาบาลระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญ เปิดโอกาสให้สร้างผลงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเป็นกันเองและมีความประทับใจ และเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในองค์การ ด้านปฏิบัติการ น่าจะจัดโครงการ หรือรณรงค์การสื่อสารระหว่างกันอย่างสร้างสรรค์ด้วยการพูดคุยทักทาย แก้ไขข้อขัดแย้งหรือข้อสงสัยในใจให้ตรงกัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย สนิทสนมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างบรรยากาศให้พี่ได้ดูแลน้องอย่างใกล้ชิด มีการมอบหมายงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมคำอธิบายงานให้ชัดเจน วิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ ให้พยาบาลวิชาชีพมีวิธีแสดงความคิดเห็นหรือสร้างความรู้สึกเกี่ยวกับความยุติธรรมของผลลัพธ์ เช่นอาจจัดให้มีการพบปะระหว่างผู้บริหารระดับต่างๆกับผู้ปฏิบัติการเพื่อเป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็น ได้มีโอกาสชี้แจงข้อข้องใจ สอบถามเรื่องที่สงสัยให้เข้าใจตรงกัน อีกทั้งอาจมีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยคนรอบด้าน คือจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารแบบสองทาง และรณรงค์ให้บุคลากรเปิดใจรับมุมมองที่แตกต่างen_US
dc.description.abstractThe research was cross-sectional exploratory research examining abusive leadership of ward chiefs, organizational justice perceptions and organizational citizenship behavior of 359 professional nurses in one tertiary hospital. Data were collected by questionnaires and analyzed using Pearson’s correlation coefficient and multiple regression analysis. The results showed that overall abusive leadership of ward chiefs was at a low level. Organizational justice perceptions were at a high level. Organizational citizenship behavior was at a high level at the tertiary hospital. Hypothesis testing found that abusive leadership of ward chiefs had a negative association with good organizational citizenship behavior of professional nurses. Organizational justice perceptions overall had a positive association with good organizational citizenship behavior of professional nurses. Only abusive leadership could explain the variation of 12.60% of good organizational citizenship behavior of professional nurses at the tertiary hospital. The results suggest 3 kinds of recommendations: Policy, Academic and Operational. Policy: the head of the nursing department should set policies to develop management skills of ward chiefs, especially in communication skills, set policies about assessment standards and communicate to professional nurses so they feel there is justice in results, set policies and methods to sustain the behavior of good organizational citizenship and further foster the behavior because professional nurses who have good behavior also possess good mental well-being. Academic: the head of the nursing department should develop learning networks among administrative nurses and operation nurses to exchange knowledge, expertise, and provide the opportunity for nursing professionals to create results together and create a learning organization climate and friendship as they use their energy to work. Operational: the head of the nursing department should set projects or campaigns to creatively communicate among employees in the organization by responding to and resolving problems or suspicions and foster understanding through efforts such as mentoring projects for nurses who are fresh graduates to make them feel welcome and create a working climate where “sister takes care of sister”, and clearly assign jobs in writing along with the job description and provide constructive criticism. In addition, it is important to find ways for operation nurses to show their opinion and express their feelings of justice in results by setting meetings with the administration to give them the opportunity to express their opinions, doubts or suspicions, and better understand one another, conducting 360 degree assessments to provide the opportunity to communicate from top down and bottom up and encourage employees to open their minds to different points of view.en_US
dc.identifier.citationวารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 44, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2557), 237-249en_US
dc.identifier.issn2697-584X (Print)
dc.identifier.issn2697-5866 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72168
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์en_US
dc.rights.holderภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectภาวะผู้นำอย่างมีชั้นเชิงen_US
dc.subjectการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การen_US
dc.subjectพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การen_US
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.subjectหัวหน้าหอผู้ป่วยen_US
dc.subjectAbusive leadershipen_US
dc.subjectorganizational justiceen_US
dc.subjectorganizational citizenship behavioren_US
dc.subjectprofessional nursesen_US
dc.subjecthead nurseen_US
dc.titleการรับรู้อย่างมีชั้นเชิงและความยุติธรรมในองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งen_US
dc.title.alternativeOrganizational Citizenship Behavior of Professional Nurses in One Tertiary Hospitalen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/51215/42425

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-bhusita-2557.pdf
Size:
824.98 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections