Publication:
พฤติกรรมบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ควบคุมน้ำหนักของบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จ.ราชบุรี

dc.contributor.authorศิริวรรณ เลิศสุชาตวนิชen_US
dc.contributor.authorมณฑา เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2021-10-08T02:27:32Z
dc.date.available2021-10-08T02:27:32Z
dc.date.created2564-10-08
dc.date.issued2550
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่ใช้ควบคุมน้ำหนัก ปัจจัยที่สัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของปัจจัยต่างๆ ในบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้จำนวนตัวอย่าง 842 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมุลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยไบนารี่ลอจิสติค ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรเป็นเพศหญิงร้อยละ 82.9 มีพฤติกรรมบริโภคผลิตภัณฑ์แบ่งออก เป็น 3 ระดับ ได้แก่ กำลังบริโภคในปัจจุบัน ร้อยละ 9.7 เคยบริโภคแต่เลิกแล้ว ร้อยละ 16.5 และ ไม่เคยบริโภคเลย ร้อยละ 73.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ (p=0.001) อายุ (p=0.025) รายได้ (0.002) ดัชนีมวลกาย (p=0.001) การรับรู้ เกี่ยวกับรูปร่าง (p=0.001) ความพึงพอใจในรูปร่าง (p=0.001) ค่านิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์ ฯ (p=0.001) ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ฯ (p=0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ (p=0.001) และปัจจัยเสริม ได้แก่ อิทธิพลของสื่อ (p=0.001) เพื่อน (p=0.001) และสมาชิกในครอบครัว (p=0.001) เมื่อวิเคราะห์การ ถดถอยไบนารี่ลอจิสติค พบว่า ตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมบริโภคผลิตภัณฑ์ ฯ คือ รายได้ การรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ค่านิยมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ ฯ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ฯ การเข้าถึง ผลิตภัณฑ์ อิทธิพลของเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปร (Psudo R2) ได้ 0.327 หรือร้อยละ 32.7 ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการประชุมวิชาการและอบรมบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริม อาหารและทางเลือกที่เหมาะสมในการควบคุมน้ำหนัก การมีมาตรการที่เข้มงวดต่อการผลิต การนำเข้า และการจำหน่าย และการศึกษาเชิงคุณภาพถึงสถานการณ์ปัญหาการใช้ยา ทางเลือกในการ ควบคุมน้ำหนักและการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.description.abstractThis study was a cross-sectional survey research aiming to assess food supplement consumption behavior for weight control, related factors, and predictability of those factors among public health personnel. The sample was composed of 843 public health personnel. The data were collected by questionnaire and analyzed by computing descriptive and analytical statistics : percentage, arithmetic means, standard deviation, Chi-square test, and Binary Logistic Regression analysis. The results of the study showed that most of the sample were females (82.9%). There were 3 levels of supplement consumption behavior: “Consuming” (9.7%), “Ever consumed” (16.5), and “Never” (73.8%). The factors that were found significantly related to consumption behavior were: predisposing factors as regards to gender (p=0.001), age (p=0.025), income (0.002), BMI (p=0.001), perceived body image (p=0.001), satisfaction with body image (p=0.001), values regarding food supplement consumption behavior (p=0.001), and knowledge regarding food supplements (p=0.001), enabling factors as regards to accessibility to the food supplements (p=0.001); and reinforcing factors as regards to: media influence (p=0.001) peers influence (p=0.001) and family member influence (p=0.001). According to the Binary Logistic Regression analysis, it was found that the factors that could predict food consumption behavior together were income, perceived body image, values regarding food supplement behavior, knowledge regarding weight control, knowledge regarding food supplements, accessibility to food supplements, peer influence, and family member influence, whereby the variance can be explained by 0.327 (Pesudo R2) or 32.7%. The recommendations are : organizing the conference and training to acknowledge the personnel regarding the food supplement consumption and alternative approach for weight control ; strict measures should be established in regards to production, import, and distribution of food supplements ; and a qualitative study regarding food supplement consumption behavior and impacts, and various methods of weight control, should be carried out.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 30, ฉบับที่ 105 (ม.ค.- เม.ย. 2550), 31-44en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63913
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์เสริมอาหารen_US
dc.subjectควบคุมน้ำหนักen_US
dc.subjectพฤติกรรมการบริโภคen_US
dc.titleพฤติกรรมบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ควบคุมน้ำหนักของบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จ.ราชบุรีen_US
dc.title.alternativeFood Supplement Consumption Behavior for Weight Control of Public Health Personnel in Ratchaburi Provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-montha-2550.pdf
Size:
2.22 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections