Publication: ความพึงพอใจของแพทย์ผู้แปลผลต่อคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของเด็ก
Issued Date
2556
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2556), 65-68
Suggested Citation
อรุณ เจ็งที, โยธิน คำแสง, สุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐ, นิชนันท์ เรืองวัฒนไพศาล, รัตนพร พรกุล, จันทร์จิรา ชัชวาลา, Aroon Jengtee, Yothin Kumsang, Suphaneewan Jaovisidha, Nichanan Ruangwattanapaisarn, Ratanaporn Pornkul, Janjira Jatchavala ความพึงพอใจของแพทย์ผู้แปลผลต่อคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของเด็ก. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2556), 65-68. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79721
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความพึงพอใจของแพทย์ผู้แปลผลต่อคุณภาพของภาพรังสีทรวงอกของเด็ก
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อใช้งานการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของเด็กมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานรังสีเทคนิค ส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ และเพื่อให้ผู้ป่วยเด็กได้รับประโยชน์สูงสุด
วิธีวิจัย: แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจารย์แพทย์สาขารังสีวิทยาเด็ก ภาควิชารังสีวิทยา ปีการศึกษา พ.ศ. 2555-2556 จำนวน 28 คน ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม การศึกษาความพึงพอใจต่อภาพรังสีทรวงอกของเด็กที่ได้รับ และการศึกษาปัญหาในการแปลผลภาพรังสีนั้น โดยแบ่งการตอบคำถามเป็นระดับ 1-5 แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ยรวมทั้งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA 11.0
ผลการวิจัย: พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 71.43 เป็นแพทย์ประจำบ้าน ร้อยละ 17.86 เป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และร้อยละ 10.71 เป็นอาจารย์แพทย์สาขารังสีวิทยาเด็ก จากคำถามความพึงพอใจต่อภาพรังสีทรวงอกของเด็กที่ได้รับ พบว่า ค่าเฉลี่ยของแต่ละตัวแปรอยู่ระหว่าง 3.51-4.29 และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 3.81 จาก 5.00 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยความพึงพอใจสูงสุด (4.29) คือ การที่ภาพรังสีนั้นครอบคลุมกายวิภาค (Anatomy) ได้ครบ รองลงมา (3.76) คือ ถ่ายภาพได้คมชัด (Sharpness definition) จากคำถามเกี่ยวกับปัญหาในการแปลผลภาพรังสีทรวงอกของเด็ก พบว่า ว่าเฉลี่ยของแต่ละตัวแปรอยู่ระหว่าง 2.29-1.66 และมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 1.98 จาก 5.00 อยู่ในระดับน้อย โดยปัญหาที่พบมากที่สุดในการแปลผล (2.29) คือ การจัดท่า (Positioning) รองลงมา (2.14) คือ การที่ผู้ป่วยเด็กหายใจเข้าไม่เต็มที่ขณะถ่ายภาพรังสี (Inspiration)
ข้อสรุป: แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจารย์แพทย์สาขารังสีวิทยาเด็ก ภาครังสีวิทยา มีความพึงพอใจโดยรวมต่อภาพรังสีทรวงอกของเด็กที่ได้รับ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และปัญหาในการแปลผลภาพรังสีทรวงอกของเด็กโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ เรื่องการจัดท่าและการที่ผู้ป่วยเด็กหายใจเข้าไม่เต็มที่ขณะถ่ายภาพทางรังสี