Publication:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอายุครรภ์เมื่อคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

dc.contributor.authorอาทิตยา แก้วน้อยen_US
dc.contributor.authorศรีสมร ภูมนสกุลen_US
dc.contributor.authorสายลม เกิดประเสริฐen_US
dc.contributor.authorArthitaya Kaeonoien_US
dc.contributor.authorSrisamorn Phumonsakulen_US
dc.contributor.authorSailom Gerdpraserten_US
dc.contributor.authorมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
dc.date.accessioned2019-08-19T06:16:53Z
dc.date.available2019-08-19T06:16:53Z
dc.date.created2562-08-19
dc.date.issued2561
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ ของการกระทำ การรับรู้อุปสรรคของการกระทำ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนจากสามี การสนับสนุนจากพยาบาล กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอายุครรภ์เมื่อคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยง ต่อการคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด จำนวน 162 ราย ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีและโรงพยาบาลภูมิพลอดลุยเดช ระหว่าง เดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ การสนับสนุนจากสามี และการสนับสนุนจากพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับ ปานกลาง และการรับรู้อุปสรรคของการกระทำมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามการ รับรู้ประโยชน์ของการกระทำ การรับรู้อุปสรรคของการกระทำ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุน จากสามี การสนับสนุนจากพยาบาลและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับอายุครรภ์เมื่อ คลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของสตรี ตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด พยาบาลควรสนับสนุนการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมให้มีสมรรถนะแห่งตน และส่งเสริมให้สามีมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ ตลอดจนควรลดอุปสรรคของการปฏิบัติ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการ ปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอายุครรภ์เมื่อคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยง ต่อการคลอดก่อนกำหนดนั้น แม้ยังไม่พบความสัมพันธ์ในการวิจัยครั้งนี้ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมใน ประเด็นนี้ต่อไปen_US
dc.description.abstractThis descriptive research was conducted with the objective of examining the correlations between perceived benefits of action, perceived barriers to action, perceived self efficacy, spouse support, nurse support and health promoting behavior and gestational age at birth in pregnant women at risk for preterm birth. The sample was composed of 162 pregnant women at risk for preterm birth receiving services in the antenatal care departments of Nopparatrajathanee Hospital and Bhumibol Adulyadej Hospital between January and May 2018. The sample was selected by purposive sampling based on set inclusion criteria. Data were analyzed using descriptive statistics and determining correlations among the variables with Pearson’s Correlation Coefficient and Spearman’s rank correlation. Findings revealed that perceived benefits of action, spouse support, and nurse support were significantly positively correlated at a low level with health promoting behaviors. Perceived self-efficacy were significantly positively correlated at a moderate level with health promoting behaviors. Furthermore, perceived barriers to action were significantly negatively correlated at a low level with health promoting behaviors. However, perceived benefit of action, perceived barriers to action, perceived self-efficacy, spousal support, nurse support, and a health promoting behaviors were not significantly correlated with gestational age at birth of pregnant women at risk for preterm birth. Therefore, nurses should support the practicing of health promoting behaviors in pregnant women at risk for preterm birth by promoting the perceived benefit of action, strengthening self-efficacy, encouraging spousal support, and minimizing barriers to action. However, the relationships of health promoting behaviors and their antecedents to gestational age at birth in pregnant women at risk for preterm birth was not supported by this study. Hence, additional studies should be conducted in this area.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 24, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561), 264-278en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44586
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectอายุครรภ์เมื่อคลอดen_US
dc.subjectการคลอดก่อนกำหนดen_US
dc.subjectสตรีตั้งครรภ์en_US
dc.subjectHealth promoting behaviorsen_US
dc.subjectGestational age at birthen_US
dc.subjectPreterm birthen_US
dc.subjectPregnant womenen_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอายุครรภ์เมื่อคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/141659/119681

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-srisamor-2561.pdf
Size:
492.62 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections