Publication: ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลในการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
Issued Date
2555
Resource Type
Language
tha
ISSN
0858-9739 (Print)
2672-9784 (Online)
2672-9784 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 18, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2555), 207-222
Suggested Citation
สุมิตรา ชูแก้ว, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, วรรณภา ประไพพานิช, Sumitra Chukaew, Yupapin Sirapo-ngam, Wonnapha Prapaipanich ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลในการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 18, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2555), 207-222. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48450
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลในการช่วยเหลือ และสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
Alternative Title(s)
Knowledge, Attitude, and Practice Perceived by Nurses in Helping and Promoting Caregivers’ Health
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้
ทัศนคติ และการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลในการช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพของญาติ
ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวความคิดของบลูม ซึ่งผู้วิจัยขออนุญาตหัวหน้าโครงการใน
การนำข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) บางส่วนจากโครงการวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์สถานการณ์การ
ช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาล และศูนย์สุขภาพชุมชนใน
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 83 คน เป็นพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วย
โรคเรื้อรังและครอบครัวมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 4 ชุด ได้แก่ แบบบันทึก
ข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และแบบสอบถามการปฏิบัติตามการ
รับรู้ของพยาบาลในการช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์
พบว่า ในการช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของพยาบาลในกลุ่มตัวอย่าง
มีความรู้อยู่ในระดับมาก ทัศนคติอยู่ในระดับดี และการปฏิบัติตามการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง ผล
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาล
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับทัศนคติ และการปฏิบัติ เมื่อวิเคราะห์
รายข้อ แบบสอบถามทัศนคติและการปฏิบัติพบว่า พยาบาลยังต้องปรับทัศนคติด้านการเข้าไปมีส่วน
ช่วยเหลือญาติผู้ดูแล และครอบครัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการจัดการปัญหาของครอบครัว รวมทั้งการ
ประเมินความเข้มแข็งของครอบครัวให้มากขึ้น ส่วนด้านการปฏิบัติพบว่า พยาบาลยังต้องค้นคว้าและ
อบรมเพิ่มเติม เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแล และให้การช่วยเหลือญาติผู้ดูแลในการจัดการ
กับความเครียดที่เกิดจากการดูแลให้มากขึ้น รวมทั้งนำผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการช่วยเหลือญาติ
ผู้ดูแล
The purposes of this descriptive research were to describe knowledge, attitude, and practice perceived by nurses in helping and promoting caregivers’ health, and to examine the relationships among those three variables. Bloom’s taxonomy was used as a framework for the study. A purposive sample of 83 nurses who had at least one year experience working with chronically ill patients and their families were included. All sample nurses completed four questionnaires developed for the project: one demographic questionnaire and three separated questionnaires of knowledge, attitude, and practice related to helping and promoting caregivers’ health. Statistical analyses used were descriptive statistics and Pearson product moment correlation. Results revealed that the average score of nurses’ knowledge, attitude, and practice related to helping and promoting caregivers’ health are at a high level of knowledge, a good attitude, and a moderate level of practice. There was a significant relationship between attitude and practice. However, there were no significant relationship between knowledge and attitude, nor between knowledge and practice. When item analysis for the attitude and practice questionnaires was performed, findings suggested that nurses should adjust attitude directed toward helping family of patients with chronic illness and caregivers to manage family problems as well as assess strength of the family. For practice, nurses need more support for assessment of caregiver’s health, training and helping caregivers during stress, and also applying research for helping and promoting caregivers’ health.
The purposes of this descriptive research were to describe knowledge, attitude, and practice perceived by nurses in helping and promoting caregivers’ health, and to examine the relationships among those three variables. Bloom’s taxonomy was used as a framework for the study. A purposive sample of 83 nurses who had at least one year experience working with chronically ill patients and their families were included. All sample nurses completed four questionnaires developed for the project: one demographic questionnaire and three separated questionnaires of knowledge, attitude, and practice related to helping and promoting caregivers’ health. Statistical analyses used were descriptive statistics and Pearson product moment correlation. Results revealed that the average score of nurses’ knowledge, attitude, and practice related to helping and promoting caregivers’ health are at a high level of knowledge, a good attitude, and a moderate level of practice. There was a significant relationship between attitude and practice. However, there were no significant relationship between knowledge and attitude, nor between knowledge and practice. When item analysis for the attitude and practice questionnaires was performed, findings suggested that nurses should adjust attitude directed toward helping family of patients with chronic illness and caregivers to manage family problems as well as assess strength of the family. For practice, nurses need more support for assessment of caregiver’s health, training and helping caregivers during stress, and also applying research for helping and promoting caregivers’ health.