Publication:
ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสมาชิกในครอบครัว

dc.contributor.authorเพียงหทัย กิ่งสังวาล
dc.contributor.authorยุพา จิ๋วพัฒนกุล
dc.contributor.authorปิยะธิดา นาคะเกษียร
dc.contributor.authorPianghathai Kingsangval
dc.contributor.authorYupa Jewpattanakul
dc.contributor.authorPiyatida Nakagasien
dc.date.accessioned2024-10-04T04:42:18Z
dc.date.available2024-10-04T04:42:18Z
dc.date.created2567-10-04
dc.date.issued2567
dc.date.received2567-04-19
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงของสมาชิกในครอบครัว รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 86 คน เป็นสมาชิกในครอบครัว ซึ่งทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อาศัยอยู่ในชุมชน กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 43 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจที่ประยุกต์จากมโนมติการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson โดยได้ค้นพบสภาพการณ์จริงจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแล ได้รับคำแนะนำ คู่มือการดูแล และคลิปวิดีโอสั้นการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การโทรศัพท์กระตุ้นการตัดสินใจเลือกวิธีการดูแลที่เหมาะสมและลงมือปฏิบัติดูแลผู้ป่วยด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การผ่อนคลายความเครียด และการมาตรวจตามนัด นอกจากนั้นยังได้รับข้อความสั้น 6 ครั้ง และการโทรศัพท์ติดตาม 4 ครั้ง เพื่อให้เกิดการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเยี่ยมบ้านและคำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั่วไป ประเมินพฤติกรรมการดูแลก่อนและหลังให้โปรแกรม 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้พลังอำนาจของสมาชิกในครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระ และแบบสองกลุ่มไม่อิสระ ผลการวิจัย: หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(84) = 10.75, p < .001) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงก่อนได้รับโปรแกรม พบว่า คะแนนภายหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (t(42) = 10.28, p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสมาชิกในครอบครัวได้ ซึ่งควรออกแบบโปรแกรมสำหรับกลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและสมาชิกในครอบครัว อีกทั้งควรนำโปรแกรมไปปรับใช้กับสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ
dc.description.abstractPurpose: To study the effects of a family member empowerment program on family members’ caring behaviors for patients with hypertension. Design: Quasi-experimental. Methods: The sample was consisted of 86 family members mainly responsible for the care of patients with hypertension living in communities, Bangkok, divided into experimental and control groups with 43 each. The experimental group received the empowerment program applied from Gibson’s empowerment concept, which contained the following activities: discovering the reality by exchanging experiences of care among caregivers, obtaining advices through handbook and short video clips about care for patients with hypertension, and receiving phone calls encouraging proper decision making and practices in care with respect to dietary intake, exercise, medication adherence, stress relief, and keeping appointments. Moreover, 6 short messages and 4 callings were offered to the experimental group for maintaining efficient practice. The control group received home visit and general health education. Caring behaviors were assessed before and 8 weeks after the program. Data were collected by using a demographic questionnaire, a questionnaire on family members’ perceived empowerment, and a questionnaire on caring behavior for patients with hypertension. Data were analyzed using independent t-test and paired t-test. Main findings: After participating in the program, the experimental group had significantly higher mean scores of caring behaviors for patients with hypertension than the control group (t(84) = 10.75, p < .001). Compared to means scores of family members’ caring behaviors for patients with hypertension in the experimental group prior to the program, the scores after the program were significantly higher (t(42) = 10.28, p < .001). Conclusion and recommendations: The empowerment program was effective in improving family members' caring behaviors for patients with hypertension. An empowerment program should be designed for both patients with hypertension and their family members. Moreover, the program should be adapted for family members in caring for patients with others chronic diseases.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/101445
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectพฤติกรรมการดูแล
dc.subjectเสริมสร้างพลังอำนาจ
dc.subjectสมาชิกในครอบครัว
dc.subjectโรคความดันโลหิตสูง
dc.subjectcaring behaviors
dc.subjectempowerment
dc.subjectfamily members
dc.subjecthypertension
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์
dc.subjectJournal of Nursing Science
dc.titleผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสมาชิกในครอบครัว
dc.title.alternativeThe Effect of Empowerment Program on Family Members' Caring Behaviors for Patients with Hypertension
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dcterms.dateAccepted2567-06-04
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/267781
oaire.citation.endPage57
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage44
oaire.citation.titleวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2567), 44-57
oaire.citation.volume42
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ns-ar-yupa-2567.pdf
Size:
804.67 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections