Publication: การวิเคราะห์จำนวนวันนอน ค่าเสียโอกาส และคุณภาพการดูแล ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 2, (ส.ค. 2558), 16-24
Suggested Citation
วรณัน ประสารอธิคม, ธันย์ สุภัทรพันธ์, หทัยกร กิตติมานนท์ การวิเคราะห์จำนวนวันนอน ค่าเสียโอกาส และคุณภาพการดูแล ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 2, (ส.ค. 2558), 16-24. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2829
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การวิเคราะห์จำนวนวันนอน ค่าเสียโอกาส และคุณภาพการดูแล ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Alternative Title(s)
Analysis of Length of Stay in Hospital, Opportunity Costs and Quality of Care in Patients with Total Knee Arthroplasty at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Other Contributor(s)
Abstract
จำนวนวันนอนเป็นตัวชี้วัดการบริหารโรงพยาบาล เพราะมีความสำคัญต่ออัตราการหมุนเวียนเตียงที่มีอยู่จำกัด
ถ้าลดจำนวนวันนอนที่ไม่จำเป็นลงได้จะสามารถรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้ วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จำนวนวันนอน
และคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการศึกษาย้อนหลังและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล
ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงคือ ข้อมูลผู้ป่วยภาควิชาออร์โธปิดิกส์ที่ได้รับ
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 จานวน 260 ราย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 68 ปี จำนวนวันนอนอยู่ระหว่าง 4-15 วัน ผู้ป่วยที่ภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรงร้อยละ 65
มีค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอน 6 วันเท่ากับที่กำหนดไว้ในแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คำนวณค่าเสียโอกาสได้ 1,536,059 บาท
จากจำนวนเตียงว่างที่เพิ่มขึ้น 90 วัน (Extra bed days) ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเมื่อจำหน่ายและไม่มีการกลับมานอนโรงพยาบาลโดยไม่ได้วางแผนภายใน
28 วันด้วยโรคเดิม ประเภทของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อนมีความสัมพันธ์กับจำนวนวันนอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สรุปในกระบวนการ
ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมยังมีการผันแปรของจำนวนวันนอน ผู้ป่วยพิเศษและผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมีจำนวนวันนอน
มากกว่าผู้ป่วยสามัญและไม่มีภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นควรใช้แนวปฏิบัติฯ เป็นมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยทุกราย
ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และควรมีการศึกษาติดตามการผันแปรของจำนวนวันนอนในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงแนวปฏิบัติให้มี
ประสิทธิผลมากขึ้น
This study analyzes the length of stay (LOS) in a hospital, opportunity costs and quality of care of patients with Total Knee Arthroplasty (TKA), and investigates the relationships between age, gender, types of patient (general/private), number of comorbidity and complications, severity of comorbidity and complications, and LOS. The design was a retrospective study. The data of 260 patients with total knee arthroplasty from the Department of Orthopedics from October 1, 2007 to September 30, 2008 were extracted from the database of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Thailand. The analyses were executed using SPSS program version 18 (Licensed Mahidol University). The results showed that approximately 93% were female and the average age was 68 years. The mean LOS was 6 ± 1.54 days and only 65% of the patients with no effect of complications achieved the determined LOS of 6 days in the clinical pathway. The extra-bed days were 90 days, and the estimated opportunity costs was 1,536,059 Bahts. All the subjects had improved discharge status and no readmission within 28 days with the same disease. The relationships between types of patient, the number of secondary diagnoses and LOS were statistically significant (p<.05 and .001.)
This study analyzes the length of stay (LOS) in a hospital, opportunity costs and quality of care of patients with Total Knee Arthroplasty (TKA), and investigates the relationships between age, gender, types of patient (general/private), number of comorbidity and complications, severity of comorbidity and complications, and LOS. The design was a retrospective study. The data of 260 patients with total knee arthroplasty from the Department of Orthopedics from October 1, 2007 to September 30, 2008 were extracted from the database of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Thailand. The analyses were executed using SPSS program version 18 (Licensed Mahidol University). The results showed that approximately 93% were female and the average age was 68 years. The mean LOS was 6 ± 1.54 days and only 65% of the patients with no effect of complications achieved the determined LOS of 6 days in the clinical pathway. The extra-bed days were 90 days, and the estimated opportunity costs was 1,536,059 Bahts. All the subjects had improved discharge status and no readmission within 28 days with the same disease. The relationships between types of patient, the number of secondary diagnoses and LOS were statistically significant (p<.05 and .001.)