Publication: ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2564), 60-73
Suggested Citation
ทัศเนตร พุทธรักษา, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, อรพรรณ โตสิงห์, อาศิส อุนนะนันทน์, Thassanate Phuttaraksa, Suporn Danaidutsadeekul, Orapan Thosingha, Aasis Unnanuntana ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2564), 60-73. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62990
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน
Alternative Title(s)
Factors Predicting the Physical Function in Patients with Osteoporotic Fracture
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของค่าดัชนีมวลกาย ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน ความปวด และตำแหน่งกระดูกหัก กับความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนจำนวน 103 ราย ที่มาตรวจติดตามหลังผ่าตัด 6-18 เดือน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกดัชนีมวลกาย แบบทดสอบความรู้ของโรคกระดูกพรุน แบบประเมินความปวดให้คะแนนเป็นตัวเลข แบบสอบถามการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกพรุน วิเคราะห์อำนาจการทำนายโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเดียว
ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.6 อายุเฉลี่ย 73.99 ปี (SD = 9.28) คะแนนความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายเฉลี่ย 62.98 (SD = 27.45) ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 22.82 กก/ม2 (SD = 3.74) คะแนนความรู้เฉลี่ย 10.05 คะแนน (SD = 3.88) คะแนนความปวดเฉลี่ย 2.5 (SD = 2.57) และตำแหน่งกระดูกหักที่บริเวณหลัง ร้อยละ 55.3 บริเวณสะโพกร้อยละ 44.7 ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression) พบว่าค่าดัชนีมวลกาย ความปวด ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน และตำแหน่งกระดูกหักสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้ร้อยละ 18.5 โดยปัจจัยที่มีอำนาจทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความปวด รองลงมา คือ ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน และตำแหน่งกระดูกหักตามลำดับ ส่วนตัวแปร ดัชนีมวลกายไม่สามารถทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความปวดและความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน และมีความสำคัญกับความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน จากผลการศึกษาที่ได้บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนควรได้รับการจัดการความปวด และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน เพื่อช่วยฟื้นฟูความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Purpose: To study the predictive power of body mass index, knowledge of osteoporosis, pain and location of the fracture on the physical function in patients with osteoporotic fracture patients. Design: Predictive correlational research design. Methods: The sample group consisted of 103 patients with osteoporotic fracture receiving follow-up for 6-18 months at the King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected using Personal Information Questionnaire, Body Mass Index Record Form, the Facts on Osteoporosis Quiz (FOOQ), Numerical Pain Scores, and Osteoporosis Assessment Questionnaire-Physical Function (OPAQ-PF). The predictive power was analyzed using a simultaneous multiple regression analysis. Main findings: The patients were mostly females 80.6% with an age average of 73.99 years (SD = 9.28). The average score of physical function was 62.98 (SD = 27.45), body mass index 22.82 kg/m2 (SD = 3.74), knowledge of osteoporosis 10.05 (SD = 3.88), pain 2.5 (SD = 2.57). The location of fracture were found at spine 55.3% and hip 44.7%. The analysis revealed that body mass index, pain, knowledge of osteoporosis, and location of fracture could together account for 18.5% of the variance explained in the physical function in patients with osteoporotic fracture. The factor having most predictive power was pain, followed by knowledge of osteoporosis and location of fracture, respectively, whereas the body mass index could not predict the physical function in osteoporotic fractures patients. Conclusion and recommendations: The results of the study revealed that pain and knowledge of osteoporosis is important for physical function in patients with osteoporosis fractures. Therefore, the patients should well receive pain management and knowledge about osteoporosis to help them in recuperation for effective physical function.
Purpose: To study the predictive power of body mass index, knowledge of osteoporosis, pain and location of the fracture on the physical function in patients with osteoporotic fracture patients. Design: Predictive correlational research design. Methods: The sample group consisted of 103 patients with osteoporotic fracture receiving follow-up for 6-18 months at the King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected using Personal Information Questionnaire, Body Mass Index Record Form, the Facts on Osteoporosis Quiz (FOOQ), Numerical Pain Scores, and Osteoporosis Assessment Questionnaire-Physical Function (OPAQ-PF). The predictive power was analyzed using a simultaneous multiple regression analysis. Main findings: The patients were mostly females 80.6% with an age average of 73.99 years (SD = 9.28). The average score of physical function was 62.98 (SD = 27.45), body mass index 22.82 kg/m2 (SD = 3.74), knowledge of osteoporosis 10.05 (SD = 3.88), pain 2.5 (SD = 2.57). The location of fracture were found at spine 55.3% and hip 44.7%. The analysis revealed that body mass index, pain, knowledge of osteoporosis, and location of fracture could together account for 18.5% of the variance explained in the physical function in patients with osteoporotic fracture. The factor having most predictive power was pain, followed by knowledge of osteoporosis and location of fracture, respectively, whereas the body mass index could not predict the physical function in osteoporotic fractures patients. Conclusion and recommendations: The results of the study revealed that pain and knowledge of osteoporosis is important for physical function in patients with osteoporosis fractures. Therefore, the patients should well receive pain management and knowledge about osteoporosis to help them in recuperation for effective physical function.