Publication: เปรียบเทียบผลการประเมินภาระงานที่สัมผัสความร้อนระหว่าง วิธีการประเมินด้วยตารางการใช้พลังงานและวิธีการคำนวณการใช้ออกซิเจน
Issued Date
2552
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
159287 bytes
Rights
Mahidol University
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (2552), 184-198
Suggested Citation
ประมุข โอศิริ, ปรีชา ลอเสรีวานิช, ดุสิต สุจิรารัตน์, สุภาพร เมฆสวี, ยุทธชัย บันเทิงจิตร เปรียบเทียบผลการประเมินภาระงานที่สัมผัสความร้อนระหว่าง วิธีการประเมินด้วยตารางการใช้พลังงานและวิธีการคำนวณการใช้ออกซิเจน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (2552), 184-198. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2534
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
เปรียบเทียบผลการประเมินภาระงานที่สัมผัสความร้อนระหว่าง วิธีการประเมินด้วยตารางการใช้พลังงานและวิธีการคำนวณการใช้ออกซิเจน
Alternative Title(s)
A comparison of work load determination between oxygen consumption method and energy expenditure table
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการทดสอบความถูกต้องของการประเมินภาระงานของพนักงานโดยผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วยการใช้ ตารางการใช้พลังงาน ของสถาบันสุขภาพและความปลอดภัยแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา มาเปรียบเทียบกับระดับภาระงานที่ได้จากการวัดปริมาณการใช้ออกซิเจนของพนักงานในขณะที่ทำงานที่ภาระงานระดับต่างๆ โดยใช้เครื่องวัดปริมาณการใช้ออกซิเจน Cortex model ; Metamax XR 3B ที่ติดไว้กับพนักงานในสถานประกอบการที่มีความร้อนสูงคืแรงหล่อหลอมโลหะจำนวน 8 คน พร้อมบันทึกวีดีทัศน์การทำงานของพนักงานทั้ง 8 คน เมื่อประเมินภาระงานจากการใช้ปริมาณออกซิเจนแล้วพบว่าพนักงาน 8 คนนี้มีภาระงานหนัก 2 คน (มากกว่า 350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) งานปานกลาง 3 คน (200 - 350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) งานเบา 3 คน (น้อยกว่า 200 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) ต่อจากนนั้นนำวีดีทัศน์ของพนักงานทั้ง 8 คน ให้นักอาชีวอนามัยจำนวน 119 คน ประเมินภาระงานของพนักงานด้วยตารางการใช้พลังงาน แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับภาระงานที่ประเมินจากการวัดออกซิเจนนั้น พบว่านัก อาชีวอนามัยประเมินได้ถูกต้องอยู่ในช่วงร้อยละ 13.4 - 71.4 ของภาระงานทั้งหมด คิดเป็นจำนวนสถานการณ์ที่ประเมินได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 สถานการณ์จาก 8 สถานการณ์ คิดเป็นร้อยละ 43 ผลการทดสอบสมมุติฐานของปัจจัยด้านระดับการศึกษาและด้านประสบการณ์ในงานอาชีวอนามัยของผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยพบว่าไม่แตกต่างกัน ดังนั้นในการประเมินภาระงานของพนักงานควรกำหนดวิธีการประเมินที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้ค่าที่ถูกต้องในการบังคับใช้กฎหมายซึ่งจะเป็นความยุติธรรมทั้งของลูกจ้างและนายจ้าง ในการประเมินภาระงานอาจใช้วิธีการคำนวณปริมาณการใช้ออกซิเจนของพนักงานที่มีความถูกต้องมากกว่า
The objective of this study was to compare the work load determination between energy expenditure table of the National Institute of Occupational Safety and Health and oxygen consumption method. Work load of eight tasks were determined using the oxygen consumption instrument, Cortex model; Metamax XR 3B and these tasks were also recorded with video camera. It showed two heavy works, three moderate works and three light works. The video records of eight workers were shown to 119 safety professionals to do the determination of work load using the energy expenditure table. The results revealed that the accuracy was between 13.4% and 71.4% and the average number of correct work load determination was 3.44 out of eight tasks (43%). The educational background and experiences in occupational health of safety professional showed no significant in work load determination. Thus, work load determination should be specified to get the accurate value, to be fair to employee and employer as required by the regulation. The oxygen consumption method should be applied according to its accuracy.
The objective of this study was to compare the work load determination between energy expenditure table of the National Institute of Occupational Safety and Health and oxygen consumption method. Work load of eight tasks were determined using the oxygen consumption instrument, Cortex model; Metamax XR 3B and these tasks were also recorded with video camera. It showed two heavy works, three moderate works and three light works. The video records of eight workers were shown to 119 safety professionals to do the determination of work load using the energy expenditure table. The results revealed that the accuracy was between 13.4% and 71.4% and the average number of correct work load determination was 3.44 out of eight tasks (43%). The educational background and experiences in occupational health of safety professional showed no significant in work load determination. Thus, work load determination should be specified to get the accurate value, to be fair to employee and employer as required by the regulation. The oxygen consumption method should be applied according to its accuracy.