Publication:
ความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ

dc.contributor.authorนฤมล กิจจานนท์en_US
dc.contributor.authorอัจฉรา จงเจริญกำโชคen_US
dc.contributor.authorพรพิมล มาศนรากรณ์en_US
dc.contributor.authorNarumol Kijjanonen_US
dc.contributor.authorAchara Jongjareonkumchoken_US
dc.contributor.authorPornpimol Masnaragornen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2020-02-18T07:42:44Z
dc.date.available2020-02-18T07:42:44Z
dc.date.created2563-02-18
dc.date.issued2552
dc.description.abstractการวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเหนื่อยหน่ายและปัจจัย คัดสรร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความสัมพันธ์กับ ความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำการ และผู้ช่วยพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมทั่วไปและระบบประสาท และหอผู้ป่วยวิกฤติ ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 53 ราย ประเมิน ความเหนื่อยหน่าย โดยใช้แบบวัดความเหนื่อยหน่ายของแมสแลซและแจคสัน ประกอบด้วย ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและด้านความรู้สึกไม่ประสบ ความสำเร็จ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและ nonparametric tests ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลประจำการและผู้ช่วยพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม มีความเหนื่อยหน่ายด้าน ความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และด้านความ รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับต่ำ อายุและประสบการณ์ทำงาน มีความสัมพันธ์ทางลบ กับความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ความคิดในการลาออกเนื่องจากเงินเดือนน้อยมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้า ทางอารมณ์ และด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ส่วนปัจจัยด้านตำแหน่ง ความสัมพันธ์กับ หัวหน้า การรับรู้สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานเรื่องกำลังคนและความรู้ในการทำงาน ความคิดที่ จะลาออกเนื่องจากงานหนัก เงินเดือนน้อยและเบื่องานมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายด้าน ความอ่อนล้าทางอารมณ์ การรับรู้ด้านค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อย หน่ายด้านความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สถานภาพสมรส หน้าที่หัวหน้าเวร เงินเดือน การรับรู้สัมพันธภาพกับครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน ความคิดที่จะลาออกเนื่องจาก เวรดึก ไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายทั้ง 3 ด้าน ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็น ข้อมูลเบื้องต้นในการป้องกันและจัดการเกี่ยวกับความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลen_US
dc.description.abstractThis descriptive research was designed to examine the relationship between selected factors (demographics and perceived work environment) and burnout among staff nurses in intensive care units. The cross-sectional study was conducted at a university hospital, Bangkok. The survey was carried out to collect the response of 53 staff nurses working in the general-neurology surgical and the cardio-thoracic surgical intensive care unit. The Maslach Burnout Inventory (MBI) developed by Maslach and Jackson was used to assess the burnout. The MBI has three dimensions including emotional exhaustion, depersonalization, and reduced sense of personal accomplishment. Descriptive statistics and nonparametric tests were employed. Results indicated that the surgical intensive care nurses and practical nurses perceived emotional exhaustion in a moderate level, and perceived depersonalization and reduced sense of personal accomplishment in a low level. Age and work experiences were negatively correlated with emotional exhaustion and depersonalization of nursing staffs. The idea to quit the job due to low salary was significantly correlated with emotional exhaustion and perceived depersonalization. The other factors (position, relationship with the head nurse, perceived worked environment, the idea to quit the job due to work overload, low salary, and boredom) were significantly correlated with emotional exhaustion. The perception toward inadequate income was significantly correlated with decrease sense of personal accomplishment. However, marital status, charge nurse duty, salary, relationship with family, relationship with coworker, and the idea to quit the job due to night shift were not significantly correlated with three dimensions of burnout. In conclusion, findings from the study can be used as basic information for nurse managers who are responsible to prevent and manage burnout among staff nurses.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2552), 86-97en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52445
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความเหนื่อยหน่ายen_US
dc.subjectหอผู้ป่วยวิกฤติen_US
dc.subjectพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติen_US
dc.subjectBurnouten_US
dc.subjectIntensive care uniten_US
dc.subjectCritical care nurseen_US
dc.titleความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติen_US
dc.title.alternativeBurnout among Staff Nurses Working in Intensive Care Unitsen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-narumol-2552.pdf
Size:
210.7 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections