Publication: ปัจจัยการทำนายการยอมรับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับภายหลังเข้าร่วมโครงการปรับความรู้และพฤติกรรม
dc.contributor.author | เจนจิรา เพ็งแจ่ม | en_US |
dc.contributor.author | วิสาข์สิริ ตันตระกูล | en_US |
dc.contributor.author | วรกต สุวรรณสถิตย์ | en_US |
dc.contributor.author | Janejira Pengjam | en_US |
dc.contributor.author | Visasiri Tantrakul | en_US |
dc.contributor.author | Worakot Suwansathit | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ศูนย์โรคการนอนหลับ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาอายุรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-27T08:41:45Z | |
dc.date.available | 2022-07-27T08:41:45Z | |
dc.date.created | 2565-07-27 | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.description.abstract | บทนำ: โรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันรักษาโดยใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง แต่พบว่าผู้ป่วยมีอัตราการยอมรับและใช้เครื่องอย่างต่อเนื่องต่ำ หากมีการปรับความรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วยเมื่อเริ่มต้นใช้เครื่อง จะสามารถเพิ่มอัตราการใช้เครื่องได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการยอมรับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง และปัจจัยการทำนายของผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ ภายหลังได้รับการปรับความรู้และพฤติกรรมในรูปแบบกลุ่มในสถานการณ์การรักษาในเวชปฏิบัติ วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบดำเนินการไปข้างหน้าในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ ณ ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 247 คน ที่มีข้อบ่งชี้ในการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องและร่วมโครงการปรับความรู้และพฤติกรรมซึ่งประกอบไปด้วย การให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ สาธิตวิธี ทดลองเครื่อง ประเมินผล ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย จำนวน 247 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 62 ดัชนีการหยุดหายใจโดยมีค่ามัธยฐาน (ค่าพิสัยควอไทล์) เท่ากับ 41.5 (46.4) ครั้งต่อชั่วโมง และมีอัตราการยอมรับการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 85 ปัจจัยส่งเสริมการตัดสินใจใช้เครื่องคือ มีระดับของโรครุนแรงมาก (OR, 4.1; 95% CI, 1.2 - 13.9) จำนวนการทดลองเครื่อง 3 ครั้ง (OR, 8.6; 95% CI, 2.1 - 35.4) และสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาล (OR, 8.1; 95% CI, 2.9 - 22.4) สรุป: ภายหลังการปรับความรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับพบว่ามีการยอมรับในการใช้เครื่องสูงในบริบทของผู้ป่วยคนไทย จึงควรส่งเสริมโครงการนี้ให้แพร่หลายมากขึ้น | en_US |
dc.description.abstract | Background: Continuous positive airway pressure (CPAP) device therapy is the standard treatment for obstructive sleep apnea (OSA) to date. However, acceptance and adherence rate remained low. Recent study showed that educational and behavioral modification program can improve the efficacy of CPAP use. Objectives: To study rate of acceptance and its predictor factors of in patients with obstructive sleep apnea after participant in group modification behavior program. Methods: This prospective cohort study was conducted in 247 obstructive sleep apnea patients at Ramathibodi Sleep Disorders Center, Ramathibodi Hospital from February to July 2015. There were indicated for CPAP. Participating states spanning included awareness, motivating, demonstration, and trials of CPAP evaluated every week for 3 weeks. Results: Of 247 obstructive sleep apnea patients (62% male) were included with apnea-hypopnea index (AIH) (median [interquartile range], 41.5 [46.4]), and acceptance CPAP (85%). Factors influencing decision to use CPAP were severity of diseases (OR, 4.1; 95% CI, 1.2 - 13.9), triple trials (OR, 8.6; 95% CI, 2.1 - 35.4), and government reimbursement (OR, 8.1; 95% CI, 2.9 - 22.4). Conclusions: After educational and behavioral intervention, the CPAP acceptance rate were high among Thai patients with obstructive sleep apnea. This program should be encouraged for more widespread clinical practice. | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2562), 35-47 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-3611 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2651-0561 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72263 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ศูนย์โรคการนอนหลับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | โรคหยุดหายใจขณะหลับ | en_US |
dc.subject | เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง | en_US |
dc.subject | การปรับพฤติกรรม | en_US |
dc.subject | Obstructive sleep apnea | en_US |
dc.subject | Continuous positive airway pressure | en_US |
dc.subject | Behavior modification | en_US |
dc.title | ปัจจัยการทำนายการยอมรับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับภายหลังเข้าร่วมโครงการปรับความรู้และพฤติกรรม | en_US |
dc.title.alternative | Predictors of Initial Acceptance of Continuous Positive Airway Pressure in Obstructive Sleep Apnea Patients After Intensive Educational-Behavioral Program | en_US |
dc.type | Original Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/175165/152082 |