Publication:
การปรับตัวของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

dc.contributor.authorณัฐสุดา แสงบุญen_US
dc.contributor.authorมุกดา เดชประพนธen_US
dc.contributor.authorสุปรีดา มั่นคงen_US
dc.contributor.authorNutsuda Sangboonen_US
dc.contributor.authorMukda Detpraponen_US
dc.contributor.authorSupreeda Monkongen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2019-07-08T04:06:42Z
dc.date.available2019-07-08T04:06:42Z
dc.date.created2562-06-28
dc.date.issued2562
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้สูงอายุ ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โดยใช้แนวคิดการปรับตัวของรอย (Roy’s Adaptation Model) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบด้วย การปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ด้านบทบาท หน้าที่ และด้านพึ่งพาระหว่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป จำนวน 50 ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์ การปรับตัวในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัยปลายที่มี ความบกพร่องทางการมองเห็นซึ่งกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีสายตาเลือนรางกลุ่มตัวอย่างมีการปรับ ตัวทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) การปรับตัวด้านร่างกาย สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เอง แต่ยังคงมีความยาก ลำบากในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและที่ซับซ้อน 2) ด้านอัตมโนทัศน์ใช้การปรับวิธีคิด ในการตอบสนองต่อความบกพร่องทางการมองเห็นโดยการยอมรับความจริงและทำใจยอมรับกับสิ่ง ที่เป็นอยู่ และคิดว่าเป็นผลของเวรกรรมที่เคยทำมา 3) ด้านบทบาทหน้าที่สามารถดูแลตนเองและ บุคคลในครอบครัวได้แต่ยังคงต้องพึ่งพาผู้ดูแลในบางกิจกรรมและมีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และ 4) ด้านพึ่งพาระหว่างกัน มีสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวโดยได้รับความรัก ความห่วงใย ความเคารพนับถือ กำลังใจ รวมถึงได้รับการดูแล ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม การปรับตัวให้กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเพื่อช่วยส่งเสริมให้มีการปรับตัวในชีวิต ประจำวันและสังคมได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเพื่อ พัฒนาการบริการแก่ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในชุมชนต่อไปen_US
dc.description.abstractThis descriptive research aimed at investigating adaptation in older persons with visual impairment. Roy’s adaptation model was used as a conceptual framework in physiological mode, self-concept mode, role function mode and interdependence mode. The subjects of the study were 50 people aged 80 years and above and were purposivelysampledbyinclusioncriteria.Datacollectionwasdoneusingtwoinstruments including an individual information questionnaire and semi -structure interview about adaptation in older persons with visual impairment,and were analysed using descriptive statistics and content analysis. The study results revealed that 48 participants with visual impairment had low vision. The target population had 4 adaptation modes, the physiological mode; they could provide self-care themselves but found difficulties in activities of daily living (ADLs) and in instrumental activities of daily living (IADLs). In the self - concept mode; which included, changing the way of thinking, stimuli, accepting the truth, and their perception of the Karma. Considering the role function mode, the results indicated that the participants could take care of themselves and their family, however they also depended on the care giver for some activities. Finding on the interdependence mode, showed that older persons had good relationships with their family, love, respect, values and care. This study provided important information for promoting adaptation in visual impaired participant depending on their individual ability to promote adaptation in the society appropriately and according to the potential of each older persons. This could also be used in planning and policy making for development and promotion services for visually impaired people in community.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 25, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 29-42en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44266
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรีียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectรามาธิบดีพยาบาลสารen_US
dc.subjectRamathibodi Nursing Journalen_US
dc.subjectการปรับตัวen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectความบกพร่องทางการมองเห็นen_US
dc.subjectAdaptationen_US
dc.subjectOlder personsen_US
dc.subjectVisual impairmenten_US
dc.titleการปรับตัวของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นen_US
dc.title.alternativeAdaptation in Older Persons with Visual Impairmenten_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/141437/129505

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-mukda-2562.pdf
Size:
705.92 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections