Publication: คุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตรซึ่งมีความบกพร่องของทักษะในการเรียน
Issued Date
2555
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2555), 272-282
Suggested Citation
พรรณนภา กองทอง, มนัท สูงประสิทธิ์, Phannapa Kongthong, Manas Soongprasit คุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตรซึ่งมีความบกพร่องของทักษะในการเรียน. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2555), 272-282. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79797
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
คุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตรซึ่งมีความบกพร่องของทักษะในการเรียน
Alternative Title(s)
Quality of Life of Parents of Children with Newly Diagnosed Learning Disorders (LD)
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตรที่มีความบกพร่องของทักษะในการเรียน (Learning disorders, LD) เปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นโรคจิตเวชอื่นที่มารับการตรวจบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชและเพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น LD
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง ทำที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่นโรงพยาบาลรามาธิบดี ระยะเวลาที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยเป็นผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น LD จำนวน 30 คน และผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นโรคจิตเวชอื่น จำนวน 30 คน แบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินคุณภาพชีวิตไทย แบบรูปภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Pearson Chi-square และ Fisher exact test
ผลการศึกษา: ข้อมูลประชากรปัจจัยพื้นฐานทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยด้านเกรดเฉลี่ยสะสมผู้ปกครอง 2 กลุ่ม มีคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย ความนึกคิด อารมณ์ การปรับตัวทางสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความรู้สึกความภาคภูมิใจในตนเองอยู่ในระดับไม่ดี และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 2 กลุ่มในเรื่องคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ 6 ด้าน พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หากพิจารณาในกลุ่มของผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น LD พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับคุณภาพชีวิตในแต่ด้าน และโดยรวมส่วนใหญ่ไม่พบความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นปัจจัยด้านสถานภาพกับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย
สรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ปกครองที่มีบุตร LD ไม่แตกต่างจากผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นโรคจิตเวชอื่น ผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น LD ที่สมรสและอยู่ด้วยกัน มีคุณภาพชีวิตด้านร่างกายดีกว่ากลุ่มอื่น ควรให้ความสำคัญการดูแลผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น LD ซึ่งพบคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างจากผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นโรคจิตเวชอื่น
Objectives: 1 To compare the quality of life (QOL) of parents who were children with newly diagnosed learning disorder (LD) parents who were children with newly diagnosed other psychiatric disorders 2 to evaluate the socio-demographic characteristics on their QOL. Method: This was a cross-sectional study. From September to December 2011, 30 parents of children consecutively diagnosed as having LD and 30 other psychiatric disorders were enrolled. Parent’s QOL were measured by a selected factors questionnaire and the Pictorial Thai Quality of Life. Statistical Analysis Used: descriptive statistics include frequency, percentage, and analyzed statistics in clude Pearson Chi-Square and Fisher’s Exact Test. Results: The study found that no significant different on socio-demographic characteristics on both group except grade. The physical, cognitive, affective, social, economic aspects and overall of their quality of life were mid-range but self esteem was low. Both groups not significant different in QOL. Only parent’s status was related to the physical aspect or their quality of life. Conclusions: The present study provide quality of life of parenting children with newly diagnosed LD and compared to parenting children with newly diagnosed other psychiatric disorders. Parenting children with newly diagnosed LD need to be addressed by physicians for improving QOL. The study identified marital status that need to be addressed and further to evaluate this domain.
Objectives: 1 To compare the quality of life (QOL) of parents who were children with newly diagnosed learning disorder (LD) parents who were children with newly diagnosed other psychiatric disorders 2 to evaluate the socio-demographic characteristics on their QOL. Method: This was a cross-sectional study. From September to December 2011, 30 parents of children consecutively diagnosed as having LD and 30 other psychiatric disorders were enrolled. Parent’s QOL were measured by a selected factors questionnaire and the Pictorial Thai Quality of Life. Statistical Analysis Used: descriptive statistics include frequency, percentage, and analyzed statistics in clude Pearson Chi-Square and Fisher’s Exact Test. Results: The study found that no significant different on socio-demographic characteristics on both group except grade. The physical, cognitive, affective, social, economic aspects and overall of their quality of life were mid-range but self esteem was low. Both groups not significant different in QOL. Only parent’s status was related to the physical aspect or their quality of life. Conclusions: The present study provide quality of life of parenting children with newly diagnosed LD and compared to parenting children with newly diagnosed other psychiatric disorders. Parenting children with newly diagnosed LD need to be addressed by physicians for improving QOL. The study identified marital status that need to be addressed and further to evaluate this domain.